คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 1
80 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมีเล่ม 1 27. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามชวนคิดโดยอาจให้นักเรียนสืบค้น จากนั้นร่วมกันอภิปรายเพื่อ เฉลยคำ�ตอบโดยครูคอยชี้แนะ 28. ครูให้นักเรียนสังเกตวัตถุที่เคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว เช่น ปลายปากกาที่กวัดแกว่ง จุดสีบน ลูกข่างที่กำ�ลังหมุน แล้วให้เสนอแบบจำ�ลองของตำ�แหน่งวัตถุ จากนั้นอธิบายความหมายของแบบ จำ�ลอง ซึ่งควรสรุปได้ว่าแบบจำ�ลองการเคลื่อนที่ของวัตถุไม่สามารถบอกตำ�แหน่งที่แน่นอนของวัตถุ ณ เวลาหนึ่ง ๆ ได้ แต่เป็นการแสดงตำ�แหน่งโดยเฉลี่ยหรือขอบเขตของโอกาสที่จะพบวัตถุเท่านั้น ครู เชื่อมโยงกับการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนรอบนิวเคลียสซึ่งเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วตลอดเวลาในทิศทาง ที่ไม่แน่นอน 29. ให้นักเรียนพิจารณาแบบจำ�ลองอะตอมแบบกลุ่มหมอกในรูป 2.11 แล้วอภิปรายร่วมกัน ว่า ความเข้มของกลุ่มหมอกที่แสดงในแบบจำ�ลองมีความหมายอย่างไร ซึ่งควรได้ข้อสรุปว่า บริเวณที่ เป็นกลุ่มหมอกทึบแสดงว่ามีโอกาสที่จะพบอิเล็กตรอนได้มากกว่าบริเวณที่เป็นกลุ่มหมอกจาง 30. ครูให้ความรู้เพิ่มเติมว่า แบบจำ�ลองแบบกลุ่มหมอกคำ�นวณได้โดยใช้สมการทางคณิตศาสตร์ 31. ครูให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 2.1 แล้วนำ�มาเฉลยร่วมกัน 1. จากรูป 2.7 การมองเห็นเส้นสีสเปกตรัมของปรอทมากกว่าไฮโดรเจนแปลความ หมายได้อย่างไร การสังเกตเห็นจำ�นวนเส้นสเปกตรัมของปรอทมากกว่าของไฮโดรเจน แปล ความหมายได้ว่า จำ�นวนระดับพลังงานและจำ�นวนอิเล็กตรอนในอะตอมปรอทมี มากกว่าของอะตอมไฮโดรเจน 2. พราะเหตุใดแสงของดวงอาทิตย์และหลอดฟลูออเรสเซนต์เมื่อผ่านแผ่นเกรตติงจึง สังเกตเห็นเป็นแถบสเปกตรัม เนื่องจากเป็นสเปกตรัมของสารหลายชนิดไม่ใช่ของธาตุเพียงชนิดเดียว และ ระดับพลังงานของอิเล็กตรอนที่ทำ�ให้เกิดแถบสเปกตรัมมีจำ�นวนมากจนต่อเนื่องกัน เป็นแถบ ชวนคิด
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4