คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 1
85 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ เคมีเล่ม 1 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น) ครูนำ�นักเรียนเข้าสู่การศึกษาการทดลองของโกลด์ชไตน์และการศึกษา ของรัทเทอร์ฟอร์ด โดยครูอาจใช้รูป 2.13 ประกอบการอภิปรายจนสรุปได้ว่าอนุภาคบวกนั้นคือ โปรตอน ซึ่งมีประจุเท่าอิเล็กตรอนคือ 1.6 × 10 -19 คูลอมบ์ และมีมวล 1.673 × 10 -24 กรัม ซึ่งมีค่า มากกว่ามวลอิเล็กตรอนประมาณ 1,840 เท่า 3. ครูตั้งคำ�ถามว่า นอกจากอิเล็กตรอนและโปรตอนแล้ว ยังมีอนุภาคชนิดอื่น ๆ ในอะตอม อีกหรือไม่ เพื่อนำ�นักเรียนเข้าสู่การศึกษาการทดลองของแซดวิก จากนั้นให้ความรู้ว่านอกจาก อิเล็กตรอนและโปรตอนแล้ว ในอะตอมยังมีอนุภาคนิวตรอน ซึ่งอยู่ในนิวเคลียสและเป็นกลางทาง ไฟฟ้า มีมวลใกล้เคียงกับโปรตอนคือ 1.675 × 10 -24 กรัม 4. ครูให้นักเรียนศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสัญลักษณ์ ประจุไฟฟ้าและมวลของอนุภาคโปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอนในตาราง 2.3 แล้วเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของอนุภาค ทั้ง 3 ชนิด ซึ่งควรเปรียบเทียบได้ว่าอิเล็กตรอนกับโปรตอนมีประจุไฟฟ้าเท่ากันแต่ชนิดของประจุ ตรงข้ามกัน โปรตอนและนิวตรอนมีมวลใกล้เคียงกัน จากนั้นถามคำ�ถามว่าอนุภาคชนิดใดที่มีผล ต่อมวลของอะตอม ซึ่งควรได้ข้อสรุปว่า มวลของอะตอมเกิดจากมวลของนิวตรอนและโปรตอน ส่วนอิเล็กตรอนมีมวลน้อยมากเมื่อเทียบกับมวลของโปรตอนและนิวตรอนจึงไม่จำ�เป็นต้องนำ�มา พิจารณา 5. ครูตั้งคำ�ถามว่า อนุภาคชนิดใดที่บ่งบอกชนิดของธาตุได้ จากนั้นจึงให้ความรู้ว่า ธาตุแต่ละ ชนิดมีจำ�นวนโปรตอนเฉพาะตัวและไม่ซ้ำ�กับธาตุอื่น ๆ จำ�นวนโปรตอนจึงใช้บ่งบอกชนิดของธาตุ ได้ ตัวเลขแสดงจำ�นวนโปรตอนในอะตอมเรียกว่าเลขอะตอม ส่วนผลรวมของจำ�นวนโปรตอนกับ นิวตรอนเรียกว่าเลขมวล 6. ครูตั้งคำ�ถามให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันว่า จำ�นวนอนุภาคในอะตอมของธาตุชนิดเดียวกัน แตกต่างกันได้หรือไม่ อย่างไร ซึ่งควรสรุปได้ว่ามีจำ�นวนนิวตรอนแตกต่างกันได้ 7. ครูถามคำ�ถามเพื่อให้นักเรียนอภิปรายว่า การที่ธาตุมีจำ�นวนนิวตรอนแตกต่างกัน มีผลต่อ เลขอะตอมและเลขมวลของธาตุหรือไม่ อย่างไร ซึ่งควรได้ข้อสรุปว่า จำ�นวนนิวตรอนมีผลต่อเลขมวล ของธาตุ 8. ให้นักเรียนตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ จากนั้นร่วมกันอภิปรายเพื่อเฉลยคำ�ตอบโดย ครูคอยชี้แนะ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4