คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 2
5.3 สมบัติบางประการของสารละลาย จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. อธิบายความแตกต่างระหว่างจุดเดือดและจุดเยือกแข็งของสารละลายกับสารบริสุทธิ์ 2. บอกความหมายของค่าคงที่ของการเพิ่มขึ้นของจุดเดือด ( K b ) และค่าคงที่ของการลดลงของ จุดเยือกแข็ง ( K f ) 3. คำ�นวณจุดเดือดและจุดเยือกแข็งของสารละลาย แนวการจัดการเรียนรู้ 1. ครูให้นักเรียนยกตัวอย่างสารละลาย เช่น น้ำ�เกลือ น้ำ�เชื่อม จากนั้นครูตั้งคำ�ถามว่า สารละลายดังกล่าวมีสารชนิดใดเป็นตัวทำ�ละลายและตัวละลาย ซึ่งควรตอบได้ว่า น้ำ�เกลือมีน้ำ� เป็นตัวทำ�ละลายและเกลือเป็นตัวละลาย น้ำ�เชื่อมมีน้ำ�เป็นตัวทำ�ละลายและน้ำ�ตาลเป็นตัวละลาย 2. ครูตั้งคำ�ถามว่าแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคของสารละลายและสารบริสุทธิ์ซึ่งเป็น ตัวทำ�ละลายของสารละลายนั้น เหมือนหรือต่างกันหรือไม่ อย่างไร ซึ่งควรตอบได้ว่า ต่างกัน โดยสารบริสุทธิ์ มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคของสารบริสุทธิ์ชนิดเดียวเท่านั้น ส่วนสารละลาย มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคของตัวละลายกับตัวทำ�ละลายด้วย 3. ครูตั้งคำ�ถามว่าแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคของสารมีผลต่อจุดเดือดและจุดหลอมเหลว ของสารหรือไม่ อย่างไร ซึ่งควรได้คำ�ตอบว่า ถ้าแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคสูงจะส่งผลให้สารมี จุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูง เพื่อนำ�เข้าสู่กิจกรรม 5.2 4. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาขั้นตอนการทดลอง และเขียนแผนการทดลอง เพื่อทำ� กิจกรรม 5.2 แล้วอภิปรายร่วมกันโดยใช้คำ�ถามท้ายการทดลอง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 5 | สารละลาย เคมี เล่ม 2 90
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4