คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 2

- สารละลายที่มีตัวทำ�ละลายชนิดเดียวกัน แต่มีความเข้มข้นเป็นโมลต่อกิโลกรัมต่างกัน สารละลายที่มีความเข้มข้นมากกว่าจะมีจุดเดือดสูงกว่า 8. ครูอาจซักถามและให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายต่อไปถึงสมบัติประการอื่น ๆ ของสารละลาย เช่น สมบัติเกี่ยวกับจุดหลอมเหลวหรือจุดเยือกแข็งว่าจะมีแนวโน้มเช่นเดียวกับจุดเดือดหรือไม่ อย่างไร เพื่อนำ�ไปสู่กิจกรรม 5.3 โดยครูอธิบายเพิ่มเติมว่าอุณหภูมิของจุดหลอมเหลวหรือจุดเยือกแข็งเป็น อุณหภูมิเดียวกัน แต่พิจารณาการเปลี่ยนแปลงสถานะในทิศทางตรงกันข้ามจึงใช้แทนกันได้ 9. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาขั้นตอนการทดลอง และเขียนแผนการทดลอง เพื่อทำ�กิจกรรม 5.3 แล้วอภิปรายร่วมกันโดยใช้คำ�ถามท้ายการทดลอง กิจกรรม 5. 3 การทดลองหาจุดหลอมเหลวของสารบริสุทธิ์และสารละลาย จุดประสงค์การทดลอง 1. ทดลองหาจุดหลอมเหลวของสารบริสุทธิ์และสารละลาย 2. บอกความแตกต่างระหว่างจุดหลอมเหลวของสารบริสุทธิ์กับสารละลายที่มีสารบริสุทธิ์ นั้นเป็นตัวทำ�ละลาย เวลาที่ใช้ อภิปรายก่อนทำ�การทดลอง 10 นาที ทำ�การทดลอง 30 นาที อภิปรายหลังทำ�การทดลอง 20 นาที รวม 60 นาที วัสดุ อุปกรณ์ และสารเคมี รายการ ปริมาณต่อกลุ่ม สารเคมี 1. แนฟทาลีน 2. สารละลายกรดเบนโซอิกในแนฟทาลีนเข้มข้น 0.5 mol/kg 0.5 g 0.5 g สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 5 | สารละลาย เคมี เล่ม 2 95

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4