คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 2
ครูอาจชี้ประเด็นในการเปรียบเทียบข้อมูลในตาราง 5.2 ดังต่อไปนี้ - เบนซีนบริสุทธิ์มีจุดหลอมเหลวสูงกว่าจุดหลอมเหลวของสารละลายที่มีเบนซีนเป็น ตัวทำ�ละลาย - สารละลายกรดเบนโซอิกในเบนซีนที่มีความเข้มข้น 2 โมลต่อกิโลกรัม มีจุดหลอมเหลว ต่ำ�กว่าสารละลายกรดเบนโซอิกในเบนซีนที่มีความเข้มข้น 1 โมลต่อกิโลกรัม - สารละลายเฮกเซนในเบนซีนที่มีความเข้มข้น 2 โมลต่อกิโลกรัม มีจุดหลอมเหลวต่ำ�กว่า สารละลายเฮกเซนในเบนซีนที่มีความเข้มข้น 1 โมลต่อกิโลกรัม - สารละลายกรดเบนโซอิกในเบนซีนและสารละลายเฮกเซนในเบนซีนที่มีความเข้มข้น เท่ากันมีจุดหลอมเหลวเท่ากัน - สารละลายกรดเบนโซอิกในเบนซีนและสารละลายเฮกเซนในเบนซีนที่มีความเข้มข้น แตกต่างกัน มีจุดหลอมเหลวแตกต่างกัน 11. ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับจุดหลอมเหลวของสารบริสุทธิ์และสารละลายที่ใช้ สารบริสุทธิ์นั้นเป็นตัวทำ�ละลาย เพื่อให้ได้ข้อสรุปดังนี้ - จุดหลอมเหลวของสารละลายต่ำ�กว่าจุดหลอมเหลวของสารบริสุทธิ์ที่เป็นตัวทำ�ละลาย ในสารละลายนั้น - สารละลายที่มีตัวทำ�ละลายชนิดเดียวกันถึงแม้ว่าตัวละลายจะเป็นสารต่างชนิดกัน ถ้ามีความเข้มข้นเป็นโมลต่อกิโลกรัมเท่ากันจะมีจุดหลอมเหลวเท่ากัน - สารละลายที่มีตัวทำ�ละลายชนิดเดียวกัน แต่มีความเข้มข้นเป็นโมลต่อกิโลกรัมต่างกัน สารละลายที่มีความเข้มข้นมากกว่าจะมีจุดหลอมเหลวต่ำ�กว่า 2. สารละลายเฮกเซนในเบนซีนที่มีความเข้มข้นต่างกัน มีจุดหลอมเหลวต่างกัน โดยสารละลายเฮกเซนในเบนซีนที่มีความเข้มข้น มากกว่าจะมีจุดหลอมเหลวต่ำ�กว่า 3. สารละลายกรดเบนโซอิกในเบนซีนกับสารละลายเฮกเซนในเบนซีนที่มีความ เข้มข้นเท่ากันและมีความเข้มข้นแตกต่างกัน สารละลายกรดเบนโซอิกในเบนซีนกับสารละลายเฮกเซนในเบนซีนที่มีความเข้มข้น เท่ากันจะมีจุดหลอมเหลวเท่ากัน ส่วนสารละลายกรดเบนโซอิกในเบนซีนกับ สารละลายเฮกเซนในเบนซีนที่มีความเข้มข้นต่างกันจะมีจุดหลอมเหลวต่างกัน โดยสารละลายที่มีความเข้มข้นมากกว่าจะมีจุดหลอมเหลวต่ำ�กว่า สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 5 | สารละลาย เคมี เล่ม 2 98
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4