คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 2
6.1 ปฏิกิริยาเคมี 6.2 สมการเคมี จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เขียนและดุลสมการเคมีของปฏิกิริยาเคมีบางชนิดเมื่อทราบสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์ 2. แปลความหมายสัญลักษณ์ในสมการเคมี 3. ระบุอัตราส่วนโดยโมลจากสมการเคมี ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้ 1. รูปภาพการเปลี่ยนแปลงที่พบในชีวิตประจำ�วัน เช่น การเกิดสนิมของเหล็ก การจุดดอกไม้ไฟ 2. สื่อเกี่ยวกับการดุลสมการเคมีจากเว็ปไซต์ 3. วีดิทัศน์การเกิดโซเดียมคลอไรด์จากโลหะโซเดียมและแก๊สคลอรีน แนวการจัดการเรียนรู้ 1. ครูทบทวนความหมายของปฏิกิริยาเคมีว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีสารใหม่เกิดขึ้น โดยชนิด และจำ�นวนอะตอมของธาตุไม่เปลี่ยนแปลง แล้วยกตัวอย่างปฏิกิริยาเคมีที่พบในชีวิตประจำ�วัน เช่น ปฏิกิริยาของกรดซิทริกและโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตในยาลดกรดเมื่อละลายน้ำ� ปฏิกิริยาการ เผาไหม้ของแก๊สโพรเพนในแก๊สหุงต้ม ดังรูป 6.1 และแสดงสมการเคมีของปฏิกิริยาดังกล่าว เพื่อชี้ให้ เห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงของสูตรเคมีของสารตั้งต้นไปเป็นสูตรเคมีของผลิตภัณฑ์ โดยอะตอมของธาตุ ทุกชนิดมีจำ�นวนเท่าเดิม แต่มีการจัดเรียงตัวใหม่ ความเข้าใจคลาดเคลื่อน ความเข้าใจที่ถูกต้อง การเปลี่ยนแปลงที่อุณหภูมิมีการเพิ่มขึ้นหรือ ลดลงอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพหรือ ปฏิกิริยาเคมี เช่น โซเดียมไฮดรอกไซด์ละลายน้ำ� แล้วอุณหภูมิของสารละลายสูงขึ้น เป็นการ เปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ส่วนการเผาไหม้ ของเชื้อเพลิงที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นเป็นปฏิกิริยาเคมี การเปลี่ยนแปลงที่อุณหภูมิมีการเพิ่มขึ้นหรือ ลดลงเป็นปฏิกิริยาเคมี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2 116
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4