คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 2
2. ครูยกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงที่พบในชีวิตประจำ�วัน เช่น การเกิดสนิมของเหล็ก การจุด ดอกไม้ไฟ โดยอาจใช้ภาพประกอบ แล้วตั้งคำ�ถามว่า การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นปฏิกิริยาเคมีหรือ ไม่ สังเกตได้อย่างไร ซึ่งควรได้คำ�ตอบว่า การเกิดสนิมของเหล็กเป็นปฏิกิริยาเคมี สังเกตได้จากเหล็ก เกิดการเปลี่ยนสี การจุดดอกไม้ไฟเป็นปฏิกิริยาเคมี สังเกตได้จากมีแสงสีต่าง ๆ เกิดขึ้น จากนั้นครูให้ ความรู้เพิ่มเติมว่า การเกิดปฏิกิริยาเคมีอาจสังเกตได้จากการเกิดฟองแก๊ส การเกิดตะกอน การเกิดกลิ่น การเปลี่ยนสี การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ 3. ครูตั้งคำ�ถามว่า การต้มน้ำ�จนเดือดกลายเป็นไอเป็นปฏิกิริยาเคมีหรือไม่ เพราะเหตุใด ซึ่ง ควรได้คำ�ตอบว่า ไม่เป็นปฏิกิริยาเคมี แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เนื่องจากน้ำ�และไอน้ำ�เป็น สารเคมีชนิดเดียวกัน แต่สถานะต่างกัน จากนั้นครูอาจสาธิตหรือยกตัวอย่างปฏิกิริยาเคมีระหว่าง สารละลายกรดและสารละลายเบส ซึ่งไม่สามารถสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลง แล้วตั้งคำ�ถามว่า นักเรียนจะทราบได้อย่างไรว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ซึ่งควรตอบได้ว่า ต้องใช้เครื่องมือตรวจสอบ เช่น ใช้กระดาษ pH วัดค่า pH ดังนั้นการจะระบุว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นปฏิกิริยาเคมีหรือไม่ อาจไม่ สามารถบอกได้ด้วยการสังเกต แต่ต้องทราบว่ามีสารใหม่เกิดขึ้นหรือไม่ 4. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ ในแต่ละการทดลองมีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นหรือไม่ ทราบได้อย่างไร ตารางผลการทดลอง 1 2 A กับ B C กับ D สาร A เป็นโลหะสีเงิน สาร B เป็นของเหลวใส ไม่มีสี สาร C เป็นของแข็ง สีขาว สาร D เป็นของเหลวใส ไม่มีสี สารทั้งสองมีอุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิห้อง ได้ของเหลวใส ไม่มีสี โลหะ A ผุกร่อนและมีฟองแก๊ส เกิดขึ้นที่ผิวของโลหะ ได้ของเหลวใส ไม่มีสี ที่มีอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิ ห้อง การ ทดลองที่ สารที่นำ�มา ผสมกัน สมบัติของสาร ผลที่สังเกตได้หลังผสม ตรวจสอบความเข้าใจ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2 117
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4