คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 2
3. แก๊สแอมโมเนีย (NH 3 ) ประกอบด้วยไนโตรเจนร้อยละ 82 กับไฮโดรเจนร้อยละ 18 โดย มวล ถ้าใช้ไนโตรเจน 10.0 กรัม ทำ�ปฏิกิริยากับไฮโดรเจน 10.0 กรัม จะได้แก๊สแอมโมเนีย กี่กรัม และมีสารใดเหลืออยู่เป็นปริมาณกี่กรัม แก๊สแอมโมเนียมีอัตราส่วนโดยมวลของ N : H = 82 : 18 ซึ่งแสดงว่าไนโตรเจนเป็น องค์ประกอบส่วนใหญ่ของแก๊สแอมโมเนีย แต่โจทย์กำ�หนดให้ไฮโดรเจนและไนโตรเจนที่ ใช้ทำ�ปฏิกิริยามีมวลเท่ากัน ดังนั้นเมื่อปฏิกิริยาสิ้นสุดจึงควรมีแก๊สไฮโดรเจนเหลืออยู่ หาปริมาณไฮโดรเจนที่ทำ�ปฏิกิริยาพอดีกับไนโตรเจนได้ดังนี้ มวลของ H = 10.0 g N × = 2.2 g H นั่นคือ ไนโตรเจน 10.0 กรัม จะทำ�ปฏิกิริยาพอดีกับไฮโดรเจน 2.2 กรัม ดังนั้น มีแก๊สไฮโดรเจนเหลืออยู่ = 10.0 g – 2.2 g = 7.8 g จากกฎทรงมวล มวลของสารก่อนทำ�ปฏิกิริยา = มวลของสารหลังทำ�ปฏิกิริยา มวลของ N 2 + มวลของ H 2 = มวลของ NH 3 10.0 g + 2.2 g = มวลของ NH 3 มวลของ NH 3 = 12.2 g ดังนั้น มีแก๊สแอมโมเนียเกิดขึ้น 12.2 กรัม 18 g H 82 g N สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2 131
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4