คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 2

6.3 การคำ�นวณปริมาณสารในปฏิกิริยาเคมี 6.3.1 การคำ�นวณปริมาณสารที่เกี่ยวข้องกับมวล 6.3.2 การคำ�นวณปริมาณสารที่เกี่ยวข้องกับความเข้มข้น 6.3.3 การคำ�นวณปริมาณสารที่เกี่ยวข้องกับปริมาตรของแก๊ส 6.3.4 การคำ�นวณปริมาณสารในปฏิกิริยาเคมีหลายขั้นตอน จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. คำ�นวณปริมาณของสารในปฏิกิริยาเคมีที่เกี่ยวข้องกับมวลสาร 2. คำ�นวณปริมาณของสารในปฏิกิริยาเคมีที่เกี่ยวข้องกับความเข้มข้นของสารละลาย 3. คำ�นวณปริมาณของสารในปฏิกิริยาเคมีที่เกี่ยวข้องกับปริมาตรแก๊ส 4. คำ�นวณปริมาณของสารในปฏิกิริยาเคมี โดยใช้ความสัมพันธ์ระหว่างโมล มวล ความเข้มข้น และปริมาตรของแก๊ส 5. คำ�นวณปริมาณของสารในปฏิกิริยาเคมีหลายขั้นตอน ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น แนวการจัดการเรียนรู้ 1. ครูอธิบายความหมายของปริมาณสัมพันธ์ว่าเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณ สารตั้งต้นที่ใช้ไปและปริมาณผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นในปฏิกิริยาเคมี ซึ่งพิจารณาได้จากเลขสัมประสิทธิ์ใน สมการเคมี 2. ครูยกตัวอย่างสมการเคมีของปฏิกิริยาระหว่างโลหะโซเดียมกับแก๊สคลอรีน แล้วให้นักเรียน หาอัตราส่วนโดยโมลของโลหะโซเดียมที่ทำ�ปฏิกิริยากับแก๊สคลอรีนและโซเดียมคลอไรด์ที่เกิดขึ้น ซึ่ง ความเข้าใจคลาดเคลื่อน ความเข้าใจที่ถูกต้อง เลขสัมประสิทธิ์ในสมการเคมีแสดงอัตราส่วน โดยโมลของสาร ปฏิกิริยาเคมีที่เป็นแก๊ส ปริมาตรรวมของแก๊สที่ เป็นสารตั้งต้นอาจมีค่าเท่ากับปริมาตรรวมของ แก๊สที่เป็นผลิตภัณฑ์หรือไม่ก็ได้ เลขสัมประสิทธิ์ในสมการเคมีแสดงอัตราส่วน โดยมวลของสาร จึงใช้มวลในการคำ�นวณได้โดย ไม่ต้องเปลี่ยนเป็นโมล ปฏิกิริยาเคมีที่เป็นแก๊ส ปริมาตรรวมของแก๊สที่ เป็นสารตั้งต้นเท่ากับปริมาตรรวมของแก๊สที่ เป็นผลิตภัณฑ์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2 132

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4