คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 2
สารละลายกรดกับเบส สารที่ทำ�ปฏิกิริยาเคมีกันคือตัวละลาย โดยปริมาณของตัวละลายในสารละลาย แสดงในรูปของความเข้มข้นของสารละลาย สำ�หรับในวิชาเคมีนิยมแสดงความเข้มข้นของสารละลาย ในหน่วยโมลาร์หรือโมลต่อลิตร เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับโมล จากนั้นครูทบทวนความรู้เกี่ยวกับการ คำ�นวณจำ�นวนโมล จากความเข้มข้นและปริมาตรของสารละลาย 10. ครูยกตัวอย่าง 10 - 11 ประกอบการอธิบายการคำ�นวณปริมาณสารในปฏิกิริยาเคมีที่ เกี่ยวข้องกับความเข้มข้นของสารละลาย 11. ครูให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 6.3 เพื่อทบทวนความรู้ 12. ครูตั้งคำ�ถามว่า สำ�หรับสารที่มีสถานะแก๊ส ซึ่งวัดมวลได้ยาก ในทางปฏิบัติจะใช้ปริมาณใด ในการวัดแก๊ส ซึ่งควรตอบได้ว่า ส่วนใหญ่วัดปริมาตรของแก๊ส จากนั้นครูทบทวนความรู้เกี่ยวกับการ เปลี่ยนจำ�นวนโมลเป็นปริมาตรของแก๊สที่ STP โดยใช้ความสัมพันธ์ แก๊ส 1 โมล มีปริมาตร 22.4 ลิตร ที่ STP เพื่อเชื่อมโยงสู่การคำ�นวณปริมาณสารในปฏิกิริยาเคมีที่เกี่ยวข้องกับแก๊สที่ STP พร้อมทั้ง ยกตัวอย่าง 12 ประกอบการอธิบาย 13. ครูทบทวนเกี่ยวกับกฎสัดส่วนคงที่ซึ่งมีอัตราส่วนโดยมวลของธาตุที่เป็นองค์ประกอบคงที่ เสมอ แล้วใช้คำ�ถามนำ�ว่า ถ้านำ�แก๊สสองชนิดมาทำ�ปฏิกิริยากัน อัตราส่วนโดยปริมาตรระหว่างแก๊สทั้ง สองที่ทำ�ปฏิกิริยาพอดีกันจะเป็นอย่างไร เพื่อนำ�เข้าสู่การสาธิตกิจกรรม 6.2 เนื่องจากการทดลองนี้ ใช้แก๊สไนโตรเจนมอนอกไซด์ที่เป็นอันตรายจึงเป็นการสาธิต แต่สามารถให้นักเรียนทำ�การทดลองได้ถ้า มีตู้ควันหรือทำ�การทดลองในบริเวณที่อากาศถ่ายเทสะดวก จากนั้นให้นักเรียนอภิปรายผลการทดลอง ตามคำ�ถามท้ายการทดลอง และสรุปผลการทดลอง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2 134
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4