คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 2

การเตรียมล่วงหน้า 1. เตรียม HNO 3 6.0 mol/L ปริมาตร 20.0 mL โดยละลาย HNO 3 15 mol/L ปริมาตร 8.0 mL ลงในน้ำ�กลั่นประมาณ 10.0 mL และทำ�ให้ได้ปริมาตร 20.0 mL 2. เลือกหลอดทดลองขนาดกลางที่มีขนาดเท่ากันสำ�หรับเก็บแก๊ส เพื่อให้ไ ด้แก๊สออกซิเจน (O 2 ) แล ะแก๊สไนโตรเจนมอนอกไซด์ (NO) ในแต่ละหลอดมีปริมาตรเท่ากัน ข้อเสนอแนะสำ�หรับครู 1. HNO 3 มีสมบัติกัดกร่อน ควรใช้อย่างระมัดระวัง 2. อธิบายวิธีเตรียม O 2 และ NO แล้วเตรียมแก๊สทีละชนิดโดยจัดเครื่องมือตามรูปใน บทเรียน หรืออาจเตรียมแก๊สทั้งสองชนิดในหลอดทดลองขนาดกลางอย่างละ 4 หลอด ไว้ล่วงหน้า โดยเมื่อเตรียมแก๊สทั้งสองชนิดเสร็จแล้ว ต้องคว่ำ�หลอดเก็บแก๊สที่เตรียมได้ ไว้ในอ่างน้ำ�ตลอดเวลาจนกว่าจะนำ�มาทำ�ปฏิกิริยาเคมี 3. การเตรียม NO ต้องทำ�ในบริเวณที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก และล้างอุปกรณ์การทดลอง ทันทีหลังจากทดลองเสร็จเรียบร้อย 4. O 2 และ NO ที่เก็บไว้ในหลอดทดลองที่มีขนาดเดียวกันถือว่ามีปริมาตรเท่ากัน 5. แนะนำ�วิธีทดสอบแก๊สที่เหลือ ซึ่งอาจทำ�ได้ดังนี้ - ใช้ธูปหรือก้านไม้ขีดที่ติดไฟเหลือเป็นถ่านแดง ๆ หย่อนลงไป ถ้าปลายธูปสว่าง ขึ้นหรือมีเปลวไฟเกิดขึ้น แสดงว่าแก๊สที่เหลือคือ O 2 เพราะ O 2 ช่วยให้ไฟติด แต่ ถ้าแก๊สที่เหลือเป็น NO จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง - ผ่านNO เข้าไปในกระบอกตวง ถ้าแก๊สที่เหลือเป็นO 2 จะเกิดแก๊ส ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO 2 ) ซึ่งมีสีน้ำ�ตาลแดงแล้วจางหายไป เนื่องจาก NO 2 ละลายน้ำ�ได้แต่ถ้าแก๊ส ที่เหลือเป็น NO ปริมาตรของแก๊สในกระบอกตวงจะเพิ่มขึ้น และแก๊สยังคงไม่มีสี รายการ ปริมาณต่อกลุ่ม 7. ขาตั้งพร้อมที่จับหลอดทดลอง 8. แผ่นกระจก สำ�หรับปิดปากกระบอกตวง 9. ธูปหรือก้านไม้ขีด สำ�หรับทดสอบแก๊ส 1 ชุด 1 อัน 1 อัน สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2 136

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4