คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 2
- ผ่าน O 2 เข้าไปในกระบอกตวง ถ้าแก๊สที่เหลือเป็น O 2 ปริมาตรของแก๊สใน กระบอกตวงจะเพิ่มขึ้น และแก๊สยังคงไม่มีสี ตัวอย่างผลการทดลอง 1. O 2 และ NO เป็นแก๊สไม่มีสี 2. เมื่อผ่าน NO เข้าไปรวมกับ O 2 ในกระบอกตวงพบว่าระดับน้ำ�ในกระบอกตวงลดลงมี แก๊สสีน้ำ�ตาลแดงเกิดขึ้น แล้วระดับน้ำ�จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วพร้อมกับแก๊สสีน้ำ�ตาลแดง จางหายไป เมื่อระดับน้ำ�ในกระบอกตวงไม่เปลี่ยนแปลงอีกแล้ว อ่านปริมาตรของแก๊สที่ เหลือในกระบอกตวงได้ผลดังตาราง 3. การทดสอบแก๊สที่เหลือพบว่าธูปที่ติดไฟเหลือเป็นถ่านแดงมีเปลวไฟเกิดขึ้น อภิปรายผลการทดลอง 1. เมื่อผสม O 2 กับ NO จะมีแก๊สสีน้ำ�ตาลแดงของ NO 2 เกิดขึ้น จากนั้นระดับน้ำ�ในกระบอกตวง สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่แก๊สสีน้ำ�ตาลแดงค่อย ๆ จางหายไป เนื่องจาก NO 2 ละลายในน้ำ�จึงทำ�ให้ความดันของแก๊สในกระบอกตวงลดลง น้ำ�จากภายนอกจะเข้าไป แทนที่ทำ�ให้ระดับน้ำ�ในกระบอกตวงสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและในที่สุดระดับน้ำ�ในกระบอกตวง จะคงที่แต่ไม่เต็มกระบอก แสดงว่ายังมีแก๊สเหลืออยู่ 2. เมื่อทดสอบแก๊สที่เหลือด้วยธูปที่ติดไฟเหลือเป็นถ่านแดงพบว่ามีเปลวไฟเกิดขึ้นแสดงว่า คือ O 2 เนื่องจากเป็นแก๊สที่ช่วยให้ไฟติด 3. อัตราส่วนโดยปริมาตรของแก๊สที่ทำ�ปฏิกิริยาพอดีกันคำ�นวณได้ดังนี้ การทดลองครั้งที่ ปริมาตรของ O 2 (mL) ปริมาตรของแก๊สที่เหลือ (mL) 1 2 3 20.00 20.00 20.00 10.00 9.80 10.60 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2 137
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4