คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 2

การทดลองครั้งที่ 1 ปริมาตรของ O 2 1 หลอด = 20.00 mL ปริมาตรของ NO 1 หลอด = 20.00 mL มี O 2 เหลือ = 10.00 mL ดังนั้นปริมาตรของ O 2 ที่ใช้ไป 20.00 mL – 10.00 mL = 10.00 mL อัตราส่วนโดยปริมาตรของแก๊ส O 2 : NO ที่ทำ�ปฏิกิริยาพอดีกัน = 10.00 : 20.00 = 1 : 2 คำ�นวณอัตราส่วนโดยปริมาตรของแก๊สที่ทำ�ปฏิกิริยาพอดีกันในแต่ละการทดลอง ได้ผลดังนี้ การทดลองทุกครั้งได้ผลใกล้เคียงกัน แสดงว่า O 2 ทำ�ปฏิกิริยากับ NO ด้วยอัตราส่วนคงที่ เท่ากับ 1 : 2 โดยปริมาตร 4. ความคลาดเคลื่อนในการทดลองอาจเกิดจากขนาดของหลอดทดลองไม่เท่ากัน การเก็บ แก๊สไม่เต็มหลอดเนื่องจาก O 2 ละลายน้ำ�ได้เล็กน้อย หรือขณะถ่ายแก๊สเข้ากระบอกตวง อาจมีแก๊สบางส่วนออกไปนอกกระบอกตวง สรุปผลการทดลอง อัตราส่วนโดยปริมาตรของ O 2 และ NO ที่ทำ�ปฏิกิริยาพอดีกัน เท่ากับ 1 : 2 ข้อแนะนำ�เพิ่มเติม ครูอาจนำ�อภิปรายเกี่ยวกับการวัดปริมาตรของ NO 2 ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งควร สรุปได้ว่า ไม่สามารถวัดปริมาตรของ NO 2 ได้ เนื่องจากเป็นแก๊สที่ละลายน้ำ� จึงไม่ทราบ ปริมาตรของแก๊สหลังเกิดปฏิกิริยา ทำ�ให้สรุปไม่ได้ว่าปริมาตรของแก๊สก่อนเข้าทำ�ปฏิกิริยา กับปริมาตรของแก๊สหลังเกิดปฏิกิริยามีอัตราส่วนเป็นเท่าใด การทดลองที่ ปริมาตร O 2 (mL) ปริมาตร NO (mL) อัตราส่วนของ O 2 : NO โดยปริมาตร 1 10.00 20.00 1.000 : 2.000 2 10.20 20.00 1.000 : 1.961 3 9.40 20.00 1.000 : 2.31 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2 138

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4