คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 2

ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู การเตรียมแก๊สไนโตรเจนมอนอกไซด์ทำ�ได้โดยใช้ทองแดงทำ�ปฏิกิริยากับกรดไนทริก เจือจาง เขียนสมการเคมีได้ดังนี้ 3Cu(s) + 8HNO 3 (aq) 3Cu(NO 3 ) 2 (aq) + 4H 2 O(l) + 2NO(g) แต่ถ้าใช้ทองแดงทำ�ปฏิกิริยากับกรดไนทริกเข้มข้น จะได้แก๊สไนโตรเจนไดออกไซด์ เขียน สมการเคมีได้ดังนี้ Cu(s) + 4HNO 3 (aq) Cu(NO 3 ) 2 (aq) + 2H 2 O(l) + 2NO 2 (g) 14. ครูยกตัวอย่างปฏิกิริยาเคมีระหว่างแก๊สออกซิเจนกับแก๊สไนโตรเจนมอนอกไซด์ เกิด เป็นแก๊สไนโตรเจนไดออกไซด์ ซึ่งมีอัตราส่วนโดยปริมาตรของแก๊ส O 2 : NO : NO 2 เท่ากับ 1 : 2 : 2 ดังรูป 6.3 เพื่ออธิบายเกี่ยวกับกฎของเกย์–ลูสแซก ซึ่งกล่าวว่า ที่อุณหภูมิและความดันคงที่ ปริมาตร ของสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์ที่เป็นแก๊ส สามารถแสดงด้วยอัตราส่วนของตัวเลขจำ�นวนเต็มที่มีค่าน้อย 15. ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎของเกย์–ลูสแซกที่ใช้กับสารสถานะแก๊ส ที่อุณหภูมิและ ความดันเดียวกัน โดยไม่รวมปริมาตรของของแข็งหรือของเหลวในปฏิกิริยาเคมี เนื่องจากของแข็ง และของเหลวมีปริมาตรคงที่ พร้อมทั้งยกตัวอย่างปฏิกิริยาเคมีระหว่างผงกำ�มะถันกับแก๊สออกซิเจน ได้แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ประกอบการอธิบาย 16. ครูยกตัวอย่างปฏิกิริยาเคมีระหว่างแก๊สไฮโดรเจนและแก๊สคลอรีน เกิดเป็นแก๊ส ไฮโดรเจนคลอไรด์ ดังรูป 6.4 แล้วตั้งคำ�ถามว่า อัตราส่วนโดยปริมาตรของแก๊สในปฏิกิริยาเคมี มีความสัมพันธ์กับอัตราส่วนโดยโมลของสารในปฏิกิริยาเคมีหรือไม่ อย่างไร ซึ่งควรตอบได้ว่า อัตราส่วนโดยปริมาตรของแก๊สในปฏิกิริยาเคมีมีค่าเท่ากับอัตราส่วนโดยโมล จากนั้นครูอธิบายความ สัมพันธ์ระหว่างปริมาตรของแก๊สกับจำ�นวนโมเลกุลและโมล ดังรูป 6.5 รวมทั้งสมมติฐานของ อาโวกาโดร ซึ่งกล่าวว่า ที่อุณหภูมิและความดันคงที่ แก๊สใด ๆ ที่มีปริมาตรเท่ากัน จะมีจำ�นวน โมเลกุลเท่ากัน สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2 139

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4