คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 2

ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู 1. ในปี พ.ศ. 2351 กฎของเกย์–ลูสแซก ยังไม่สามารถอธิบายได้ เนื่องจากในขณะนั้น นักวิทยาศาสตร์คิดว่าธาตุที่เป็นแก๊สประกอบด้วย 1 อะตอม ดังนั้นการที่แก๊สไฮโดรเจน และแก๊สออกซิเจนเกิดเป็นแก๊สไฮโดรเจนคลอไรด์ จะต้องแบ่งอะตอมของไฮโดรเจน และออกซิเจนเป็น 2 ส่วน ซึ่งไม่สอดคล้องกับทฤษฎีอะตอมของดอลตันที่กล่าวว่าอะตอม แบ่งแยกไม่ได้ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2354 อาโวกาโดรได้เสนอสมมติฐานของอาโวกาโดรว่า ที่อุณหภูมิและความดันคงที่ แก๊สใด ๆ ที่มีปริมาตรเท่ากัน จะมีจำ�นวนโมเลกุลเท่ากัน โดยคิดว่าอนุภาคที่เล็กที่สุดของธาตุที่เป็นแก๊สคือโมเลกุล ซึ่งประกอบด้วย 2 อะตอม และ ใช้ในการอธิบายปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นว่า โมเลกุลของแก๊สไฮโดรเจนและแก๊สออกซิเจนแตก ออกเป็นอะตอม แล้วรวมตัวกันเกิดเป็นโมเลกุลของแก๊สไฮโดรเจนคลอไรด์ 2 โมเลกุล H 2 ( g ) + Cl 2 ( g ) 2HCl( g ) H 2 1 โมเลกุล Cl 2 1 โมเลกุล HCl 2 โมเลกุล หรือ H 2 อะตอม Cl 2 อะตอม HCl 2 โมเลกุล หรือ H 1 อะตอม Cl 1 อะตอม HCl 1 โมเลกุล แต่ในสมัยนั้นสมมติฐานของอาโวกาโดรยังไม่ได้รับการยอมรับ จนกระทั่ง 50 ปีต่อมา จึง ได้รับการยอมรับเป็นกฎของอาโวกาโดร 2. สมมติฐานเป็นแนวคิดที่ตั้งหรือเสนอขึ้นเพื่อใช้อธิบายปรากฏการณ์หรือผลการทดลอง ต่าง ๆ ถ้าสมมติฐานใดมีผลการทดลองมาสนับสนุนเป็นจำ�นวนมากหรือใช้อธิบาย ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ได้กว้างขวางและพิสูจน์จนยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง จะได้รับการ ยอมรับเป็นกฎ เช่น สมมติฐานของอาโวกาโดร ได้รับการยอมรับเป็นกฎของอาโวกาโดร เมื่อสตานิสลาฟ คันนิซซาโร เสนอว่า โมเลกุลของธาตุที่เป็นแก๊สประกอบด้วย 2 อะตอม สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2 140

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4