คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 2

17. ครูให้นักเรียนสรุปความรู้เกี่ยวกับกฎของเกย์–ลูสแซกและสมมติฐานของอาโวกาโดร ซึ่งควรสรุปได้ดังนี้ - เมื่อวัดปริมาตรของแก๊สภายใต้อุณหภูมิและความดันคงที่ แก๊สจะทำ�ปฏิกิริยากันพอดีด้วย อัตราส่วนโดยปริมาตรคงที่ - อัตราส่วนโดยปริมาตรของแก๊สที่ทำ�ปฏิกิริยากันพอดี และที่ได้จากปฏิกิริยา ณ อุณหภูมิ และความดันเดียวกันจะเป็นเลขจำ�นวนเต็มลงตัวน้อย ๆ - แก๊สที่มีปริมาตรเท่ากันเมื่อวัดที่อุณหภูมิและความดันเดียวกัน จะมีจำ�นวนอนุภาคเท่ากัน 18. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามชวนคิด จากนั้นครูอธิบายการคำ�นวณปริมาตรของแก๊สที่เกี่ยวข้องในปฏิกิริยาเคมี และสูตรโมเลกุล ของแก๊ส โดยยกตัวอย่าง 13 - 14 ประกอบการอธิบาย 19. ครูยกตัวอย่างปฏิกิริยาเคมีระหว่างแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์และแก๊สออกซิเจนเกิด เป็นแก๊สซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ แล้วอภิปรายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเลขสัมประสิทธิ์ในสมการเคมี กับปริมาณต่าง ๆ ของสารว่า เลขสัมประสิทธิ์ในสมการเคมีมีความสัมพันธ์กับจำ�นวนโมเลกุล ปริมาตรของแก๊ส และจำ�นวนโมล จึงสามารถนำ�มาใช้ในการคำ�นวณปริมาณสารในหน่วยต่าง ๆ ได้ เช่น มวล ความเข้มข้น ปริมาตรของแก๊สที่ STP ดังนั้นเมื่อทราบปริมาณของสารชนิดใดชนิดหนึ่ง จะ สามารถคำ�นวณปริมาณของสารอื่น ๆ ที่ต้องการทราบในปฏิกิริยานั้นได้ 20. ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ จากรูป 6.3 และ 6.4 ปริมาตรรวมของแก๊สที่ทำ�ปฏิกิริยากันพอดีกับปริมาตรรวมของ แก๊สที่เกิดขึ้นมีค่าเท่ากันเหมือนมวลของสารตามกฎทรงมวลหรือไม่ ปริมาตรรวมของแก๊สก่อนเกิดปฏิกิริยาและหลังปฏิกิริยาอาจเท่ากันหรือแตกต่างกัน ก็ได้ ซึ่งแตกต่างจากกฎทรงมวล ชวนคิด สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 6 | ปริมาณสัมพันธ์ เคมี เล่ม 2 141

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4