คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 2

3. ครูอธิบายว่า เนื่องจากสารมีจำ�นวนโปรตอนและนิวตรอนไม่เท่ากัน ดังนั้นสารแต่ละชนิด ปริมาณ 1 โมล อาจมีมวลและปริมาตรไม่เท่ากัน โดยใช้รูป 4.1 ประกอบการอธิบาย จากนั้นครูอธิบาย เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเขียนแฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วย จากความสัมพันธ์ระหว่างจำ�นวนโมลและจำ�นวน อนุภาค 4. ให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 4.2 เพื่อทบทวนความรู้ 5. ครูตั้งคำ�ถามว่าคาร์บอน–12 1 โมล มีมวลเท่าใด จากนั้นร่วมกันคำ�นวณมวลของคาร์บอน-12 ซึ่งควรตอบได้ว่า 12 กรัม แล้วเชื่อมโยงเข้าสู่การอธิบายความหมายของมวลต่อโมล จากนั้นครูให้ นักเรียนพิจารณาตัวอย่างการหามวลต่อโมลของธาตุบางชนิดในตาราง 4.3 เพื่อให้อภิปรายร่วมกันว่า ธาตุ 1 โมล มีมวลเท่าใดในหน่วยกรัม ซึ่งควรได้ข้อสรุปว่า มวลของธาตุ 1 โมล ในหน่วยกรัม (หรือ มวลต่อโมล) มีค่าเป็นตัวเลขเท่ากับมวลอะตอมของธาตุนั้น จากนั้นครูอธิบายการคำ�นวณเกี่ยวกับมวล และโมลโดยยกตัวอย่าง 3 ประกอบการอธิบาย 6. ครูอธิบายเกี่ยวกับวิธีคำ�นวณมวลโมเลกุลและมวลสูตรของสาร ซึ่งหาได้จากผลรวมของ มวลอะตอมของธาตุองค์ประกอบตามสูตรเคมี จากนั้นครูอธิบายการคำ�นวณโดยยกตัวอย่าง 4 และ 5 ประกอบ 7. ครูในนักเรียนตอบคำ�ถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ 1. สารต่างชนิดกันที่มีจำ�นวนโมลเท่ากันจะมีมวลเท่ากันหรือไม่ เพราะเหตุใด ส่วนใหญ่ไม่เท่ากัน เพราะสารต่างชนิดกันส่วนใหญ่มีสูตรเคมีต่างกันทำ�ให้มีมวลสูตรต่างกัน 2. สารต่างชนิดกันมีจำ�นวนโมลเท่ากันจะมีจำ�นวนอนุภาคเท่ากันหรือไม่ สารที่มีอนุภาคอยู่ในรูปของอะตอมและโมเลกุลที่มีจำ�นวนโมลเท่ากันมีจำ�นวนอนุภาค เท่ากัน เช่น โลหะโซเดียมและแก๊สออกซิเจนจำ�นวน 1 โมล มีจำ�นวน 6.02 × 10 23 อนุภาค เท่ากัน ส่วนสารที่อนุภาคอยู่ในรูปของไอออนที่มีจำ�นวนโมลเท่ากัน อาจมีจำ�นวนอนุภาคไม่เท่ากับ สารอื่น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของสารนั้น เช่น โซเดียมคลอไรด์ 1 โมล มีโซเดียมไอออน 6.02 × 10 23 ไอออน และคลอไรด์ไอออน 6.02 × 10 23 ไอออน จึงมีจำ�นวนไอออนทั้งหมด 2 × 6.02 × 10 23 ไอออน ตรวจสอบความเข้าใจ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี เคมี เล่ม 2 14

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4