คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 2

8. ครูให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 4.3 เพื่อทบทวนความรู้ 9. ครูอธิบายเกี่ยวกับการวัดปริมาณสารที่มีสถานะแก๊สซึ่งนิยมวัดในหน่วยปริมาตร ซึ่งต้องระบุ อุณหภูมิและความดัน รวมทั้งอุณหภูมิและความดันที่ภาวะมาตรฐานของแก๊ส หรือที่ STP จากนั้นครู ให้นักเรียนพิจารณาตาราง 4.4 ที่แสดงมวลของแก๊สบางชนิดปริมาตร 1 ลิตร ที่ STP แล้วใช้คำ�ถาม ว่า แก๊ส 1 โมลมีปริมาตรเท่าใดที่ STP ซึ่งควรตอบได้ว่า แก๊สใด ๆ 1 โมลมีปริมาตร 22.4 ลูกบาศก์ เดซิเมตรหรือ 22.4 ลิตร ที่ STP โดยครูแสดงการคำ�นวณปริมาตรของแก๊สฮีเลียม 1 โมล ซึ่งมีมวล 0.179 กรัมประกอบการอธิบาย 10. ครูให้นักเรียนสรุปความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างโมล จำ�นวนอนุภาค มวล และปริมาตร ของแก๊สที่ STP ซึ่งควรสรุปได้ว่าสาร 1 โมลมี 6.02 × 10 23 อนุภาค และมีมวลเป็นกรัมเท่ากับมวลต่อโมล ของสารนั้น และถ้าสารเป็นแก๊สจะมีปริมาตรเท่ากับ 22.4 ลิตร ที่ STP ตามรูป 4.2 จากนั้นครูอธิบาย การคำ�นวณปริมาณสารในหน่วยต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับโมลโดยยกตัวอย่าง 6 ประกอบ 11. ครูให้นักเรียนจับคู่กันและทำ�กิจกรรม 4.1 เพื่อสร้างโจทย์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง โมล จำ�นวนอนุภาค มวล ความหนาแน่น และปริมาตรของแก๊สที่ STP ของสารที่เป็นแก๊ส 1 โมล โดย เริ่มที่กำ�หนดและเขียนสูตรเคมีและจำ�นวนโมลของแก๊สก่อน แล้วคำ�นวณมวล จำ�นวนอนุภาค และ ปริมาตรที่ STP และใส่ตัวเลขที่ได้ลงไปในแต่ละหน้าของลูกบาศก์ จากนั้นให้นักเรียนแลกลูกบาศก์กับ เพื่อนเพื่อเติมความหนาแน่นที่ STP ทั้งนี้สามารถให้นักเรียนเว้นข้อมูลเพิ่มเติมหรือกำ�หนดข้อมูลอื่นที่ ยากขึ้น แล้วให้นักเรียนทำ�กิจกรรมเหมือนเดิม ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู สารต่างชนิดกันที่มีสูตรเคมีเหมือนกัน เรียกว่า ไอโซเมอร์ จะมีมวลสูตรและมวลต่อโมล เท่ากัน 3. สารต่างชนิดกันมีมวลเท่ากันจะมีจำ�นวนอนุภาคเท่ากันหรือไม่ เพราะเหตุใด ส่วนใหญ่ไม่เท่ากัน เพราะสารต่างชนิดกันส่วนใหญ่มีมวลต่อโมลไม่เท่ากัน ดังนั้นถ้ามวลเท่ากัน จะมีจำ�นวนโมลไม่เท่ากัน จึงมีจำ�นวนอนุภาคไม่เท่ากัน สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี เคมี เล่ม 2 15

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4