คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 2

3. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายและลงข้อสรุปว่า มวลของทองแดงที่ทำ�ปฏิกิริยากับกำ�มะถัน เพิ่มขึ้นตามมวลของกำ�มะถัน โดยเมื่อคำ�นวณอัตราส่วนระหว่างมวลของทองแดงกับกำ�มะถันแต่ละครั้ง มีค่าประมาณ 2 : 1 จึงกล่าวได้ว่าทองแดงทำ�ปฎิกิริยากับกำ�มะถันได้สารประกอบคอปเปอร์(II)ซัลไฟด์ ด้วยอัตราส่วนโดยมวลเท่ากับ 2 : 1 4. ครูให้ความรู้ว่า ถ้าทำ�การสังเคราะห์สารประกอบคอปเปอร์(II)ซัลไฟด์ โดยใช้สารละลายที่มี คอปเปอร์(II)ไอออน ทำ�ปฏิกิริยากับสารละลายที่มีซัลไฟด์ไอออน จะได้อัตราส่วนโดยมวลของทองแดง กับกำ�มะถันที่ทำ�ปฏิกิริยาพอดีกันเท่ากับ 2 : 1 เช่นเดียวกัน จึงสรุปได้ว่าการเตรียมคอปเปอร์(II)ซัลไฟด์ ด้วยวิธีใดก็ตาม อัตราส่วนโดยมวลของทองแดงที่ทำ�ปฏิกิริยาพอดีกับกำ�มะถันจะเป็น 2 : 1 เสมอ ซึ่ง เป็นไปตามกฎสัดส่วนคงที่ 5. ครูตั้งคำ�ถามว่า อัตราส่วนโดยโมลของทองแดงกับกำ�มะถันมีค่าเท่าใด ซึ่งควรตอบว่า มีค่า เท่ากับ 1 : 1 โดยคำ�นวณได้จากการหารอัตราส่วนโดยมวลด้วยมวลอะตอมของธาตุแต่ละชนิด จากนั้น ครูอธิบายเพิ่มเติมว่า อัตราส่วนโดยโมลของสารประกอบหนึ่ง ๆ จะมีค่าคงที่เช่นเดียวกับอัตราส่วน โดยมวล ซึ่งการคำ�นวณอัตราส่วนโดยโมลนี้เป็นขั้นตอนสำ�คัญในการหาสูตรเคมีของสารประกอบ 6. ครูอธิบายการคำ�นวณอัตราส่วนโดยมวลของธาตุองค์ประกอบของสารประกอบตามกฎ สัดส่วนคงที่ โดยยกตัวอย่าง 7 ประกอบ แล้วครูให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 4.5 เพื่อทบทวนความรู้ 7. ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการคำ�นวณร้อยละโดยมวลของธาตุองค์ประกอบของสาร 1 โมเลกุล โดยแสดงตัวอย่าง 8 และ 9 ประกอบการอธิบาย 8. ครูให้นักเรียนทำ�แบบฝึกหัด 4.6 เพื่อทบทวนความรู้ 9. ครูนำ�อภิปรายเพื่อเชื่อมโยงกฏสัดส่วนคงที่กับสูตรเคมี โดยใช้คำ�ถามว่า อัตราส่วนโดยโมล ของทองแดงกับกำ�มะถันในสารประกอบคอปเปอร์(II)ซัลไฟด์ สัมพันธ์กับสูตรเคมี CuS อย่างไร ซึ่งควร ตอบได้ว่า จำ�นวนโมลของธาตุในอัตราส่วนโดยโมลเท่ากับจำ�นวนอะตอมของธาตุในสูตรเคมี จากนั้น ครูอธิบายความหมายของสูตรอย่างง่ายหรือสูตรเอมพิริคัลและสูตรโมเลกุลพร้อมยกตัวอย่างประกอบ การอธิบาย 10. ครูให้นักเรียนพิจารณาสูตรโมเลกุลและสูตรเอมพิริคัลของสารบางชนิดในตาราง 4.6 แล้ว อภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสูตรโมเลกุลและสูตรเอมพิริคัลของสารโคเวเลนต์และสารประกอบไอออนิก ซึ่ง ควรได้ข้อสรุปดังนี้ - สารโคเวเลนต์มีทั้งสูตรโมเลกุลและสูตรเอมพิริคัล ซึ่งอาจเหมือนกันหรือต่างกัน - สารประกอบไอออนิกมีแต่สูตรเอมพิริคัล - สารโคเวเลนต์บางชนิดมีสูตรโมเลกุลต่างกัน แต่มีสูตรเอมพิริคัลเหมือนกัน สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี เคมี เล่ม 2 34

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4