คู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 2
1. คาร์บอน (C) 1.20 กรัม ทำ�ปฏิกิริยาพอดีกับแก๊สออกซิเจน (O 2 ) 3.20 กรัม ได้แก๊สไม่มีสี ชนิดหนึ่ง แก๊สชนิดเดียวกันนี้สามารถเตรียมได้จากปฏิกิริยาระหว่างกรดไฮโดรคลอริก (HCl) กับแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO 3 ) ซึ่งวิเคราะห์แล้วพบว่าแก๊สที่เกิดขึ้น 100 กรัม ประกอบด้วย คาร์บอน 27.25 กรัม ข้อมูลเหล่านี้เป็นไปตามกฎสัดส่วนคงที่หรือไม่ เพราะเหตุใด แก๊สไม่มีสีชนิดหนึ่งเกิดจาก C 1.20 g ทำ�ปฏิกิริยาพอดีกับ O 3.20 g นั่นคือ แก๊สนี้มีอัตราส่วนโดยมวลของ C : O = 1.20 : 3.20 = 1.00 : 2.67 แก๊สชนิดนี้เมื่อเตรียมจากปฏิกิริยาระหว่างกรดไฮโดรคลอริกกับแคลเซียมคาร์บอเนต พบว่า แก๊ส 100 g ประกอบด้วย C 27.25 g ดังนั้นจึงมี O 72.75 g นั่นคือ อัตราส่วนโดยมวลของ C : O ในแก๊สนี้ = 27.25 : 72.75 = 1.000 : 2.670 ดังนั้น อัตราส่วนโดยมวลของธาตุองค์ประกอบของสารประกอบชนิดนี้มีค่าเท่ากันแม้ จะเตรียมด้วยวิธีต่างกัน จึงเป็นไปตามกฎสัดส่วนคงที่ 2. ในการเผาเหล็ก (Fe) 11.17 กรัม กับกำ�มะถัน (S) 9.00 กรัม พบว่ามีกำ�มะถันเหลืออยู่ 2.59 กรัม จงคำ�นวณอัตราส่วนโดยมวล และอัตราส่วนโดยโมลของสารประกอบที่เกิดขึ้น เมื่อเผาเหล็ก 11.17 g กับกำ�มะถัน 9.00 g มีกำ�มะถันเหลืออยู่ 2.59 g กำ�มะถันที่ใช้เมื่อเกิดปฏิกิริยาเท่ากับ 9.00 g – 2.59 g = 6.41 g อัตราส่วนโดยมวลของ Fe : S = 11.17 : 6.41 = 1.74 : 1.00 อัตราส่วนโดยโมลของ Fe : S = 1.74 55.85 : 1.00 32.06 = 0.312 : 0.312 = 1.00 : 1.00 ดังนั้น สารประกอบที่เกิดขึ้นมีอัตราส่วนโดยมวลของ Fe : S เท่ากับ 1.74 : 1.00 และ อัตราส่วนโดยโมลของ Fe : S เท่ากับ 1 : 1 แบบฝึกหัด 4.5 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บทที่ 4 | โมลและสูตรเคมี เคมี เล่ม 2 36
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4