คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ วิชาเคมี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
เป้าหมายของการจัดทำ�คู่มือการใช้หลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ วิชาเคมี 1 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และให้สถานศึกษา นำ�ไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียน ในการนี้สถาบัน ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จึงได้พัฒนาคู่มือการใช้หลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้หลักสูตร อาทิ บุคลากรทางการศึกษา ผู้ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ทุกระดับของประเทศ ผู้เขียนตำ�ราและสื่อการเรียนรู้ประกอบหลักสูตร และสำ�นักพิมพ์ต่างๆ ได้ใช้ประโยชน์ ในการจัดทำ�หรือจัดหาตำ�ราเรียน สื่อการเรียนรู้ประกอบหลักสูตร การจัดทำ� แบบทดสอบและข้อสอบการประเมินคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูและ สถานศึกษา และอื่นๆ ให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของหลักสูตร หลีกเลี่ยงการเกิด ความสับสนหรือความเข้าใจคลาดเคลื่อนในการวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่ระบุไว้ในหลักสูตรเช่นที่ผ่านมา คู่มือการใช้หลักสูตร ฯ ฉบับนี้จำ�แนกเนื้อหาสาระสำ�คัญออกเป็น ๒ ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ ๑ ความรู้และแนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตร ประกอบด้วย ที่มาของการปรับหลักสูตร เป้าหมายของหลักสูตร เป้าหมาย ของการเรียนวิทยาศาสตร์และคุณภาพของผู้เรียน แนวการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์และทักษะกระบวนการต่าง ๆ ได้แก่ ทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ ทักษะการคิดระดับสูง ทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ทักษะกระบวนการ สำ�หรับการออกแบบและเทคโนโลยี ทักษะการเรียนรู้ร่วมกันและการทำ�งานเป็น ทีม และอื่นๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำ�คัญที่พลเมืองแห่งศตวรรษที่ ๒๑ จำ�เป็นต้องเรียนรู้ และฝึกฝน ตลอดจนความรู้ด้านการประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน เป้าหมายของ การจัดทำ�ส่วนนี้ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำ�หรับบุคลากรทางการศึกษา และผู้ใช้ หลักสูตรในการทำ�ความเข้าใจเกี่ยวกับความจำ�เป็นของการปรับหลักสูตร ตลอดจน สามารถจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตรและศตวรรษที่ ๒๑ ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ อย่างมีความสุข ผ่านการลงมือปฏิบัติ สืบเสาะหาความรู้เพื่อทำ�ความเข้าใจแนวคิด ทางวิทยาศาสตร์ ฝึกฝนทักษะกระบวนการต่าง ๆ และสามารถเชื่อมโยงและนำ�มา ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำ�วันและอาชีพได้ ส่วนที่ ๒ การวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ เป็นการวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ ของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีการนำ�เสนอผลการวิเคราะห์ในรูปแบบของตาราง ประกอบด้วย - การวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) และด้านเจตคติ (Affective Domain) ซึ่งเป็นเป้าหมายปลายทางของผลการเรียนรู้ที่คาดหวังให้ ผู้เรียนได้แสดงออกมาหลังจากเรียนรู้ตามผลการเรียนรู้เหล่านั้น - แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่นำ�ไปสู่การเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมการเรียนรู้ทั้งสามด้านของผู้เรียน เปิดกว้างให้ผู้สอน และผู้ใช้หลักสูตรสามารถออกแบบและสร้างสรรค์แผนการจัดการ
RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4