คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ วิชาฟิสิกส์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ วิชาฟิสิกส์ 9 การสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มีลักษณะเฉพาะที่ทำ�ให้ วิทยาศาสตร์แตกต่างจากศาสตร์อื่นๆ ดังนี้ วิทยาศาสตร์ต้องการหลักฐาน (Evidence) การสร้างคำ�อธิบายหรือแนวคิดทางวิทยาศาสตร์จำ�เป็นต้องมีหลักฐานเชิงประจักษ์ (Empirical Evidence) จากการสังเกต ทดลอง สร้างแบบจำ�ลอง หรือวิธีอื่นๆ เพื่อ ให้มั่นใจว่าสามารถทำ�ซ้ำ�ได้ และมีความถูกต้อง แนวคิดทางวิทยาศาสตร์ใดที่ได้รับ การยอมรับจากกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ในสังคม ก็จะได้รับการยอมรับและเผยแพร่ให้ คนทั่วไปในสังคมได้เรียนรู้ ซึ่งกระบวนการทั้งหมดตั้งแต่การค้นพบจนกระทั่งเป็น ที่ยอมรับของกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ในสังคมอาจต้องใช้เวลานาน เช่น แม้ว่าไอสไตน์ ค้นพบทฤษฎีสัมพัทธภาพตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๐๕ แต่กว่าทฤษฎีนี้จะได้รับการยอมรับ จากสังคมนักวิทยาศาสตร์ต้องใช้เวลาถึง ๑๔ ปี วิทยาศาสตร์มีการผสมผสานระหว่างตรรกศาสตร์ (Logic) จินตนาการ (Imagination) และการคิดสร้างสรรค์ (Creativity) การทำ�ความเข้าใจปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกจะต้องใช้ความเป็นเหตุ เป็นผล (Logic) เพื่อเชื่อมโยงหลักฐานเชิงประจักษ์เข้ากับข้อมูลอื่นๆ เช่น แนวคิด ทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลหลักฐานทุติยภูมิ (Secondary Data Source) ที่ได้จากการสืบค้นเพื่อสร้างคำ�อธิบาย และลงข้อสรุป หลายครั้งที่การสืบเสาะ หาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ยังต้องใช้จินตนาการและการคิดสร้างสรรค์ วิทยาศาสตร์ให้คำ�อธิบายและการพยากรณ์ นักวิทยาศาสตร์พยายามอธิบายปรากฏการณ์ที่สังเกตโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ที่เป็นที่ยอมรับ ความน่าเชื่อถือของคำ�อธิบายทางวิทยาศาสตร์มาจากความสามารถ ในการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างหลักฐานและปรากฏการณ์ที่ไม่เคยค้นพบมาก่อน นอกจากวิทยาศาสตร์จะให้คำ�อธิบายเกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่างๆ แล้ว วิทยาศาสตร์ ยังให้ความสำ�คัญกับการทำ�นายซึ่งอาจเป็นได้ทั้งการพยากรณ์ปรากฏการณ์ หรือ เหตุการณ์ในอนาคต หรือในอดีตที่ยังไม่มีการค้นพบหรือศึกษามาก่อน นักวิทยาศาสตร์พยายามที่จะระบุและหลีกเลี่ยงความลำ�เอียง ข้อมูลหลักฐานมีความสำ�คัญอย่างมากในการนำ�เสนอแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์จะถามตัวเองก่อนเสมอว่ามีหลักฐานอะไรบ้างที่สนับสนุนแนวคิดนี้ การรวบรวมหลักฐานทางวิทยาศาสตร์จึงจำ�เป็นต้องมีความถูกต้องแม่นยำ� ปราศจาก ความลำ�เอียงอันเกิดจากตัวผู้สังเกต กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือและวิธีการที่ใช้ การตีความหมาย หรือการรายงานข้อมูล วิทยาศาสตร์ไม่ยอมรับการมีอำ�นาจเหนือบุคคลอื่น วิทยาศาสตร์เชื่อว่าบุคคลใดหรือนักวิทยาศาสตร์คนใด มีชื่อเสียงหรือตำ�แหน่งหน้าที่ การงานสูงอย่างไร ก็ไม่มีอำ�นาจตัดสินว่า อะไรคือความจริง ไม่มีใครมีสิทธิพิเศษใน การเข้าถึงความจริงมากกว่าคนอื่น ๆ เพราะความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกค้นพบ ต้องมีหลักฐานเชิงประจักษ์ สามารถตรวจสอบได้ และหากแนวคิดใหม่นั้นถูกต้อง กว่าแนวคิดเดิม ก็ย่อมได้รับการยอมรับแม้ว่าจะถูกค้นพบโดยผู้ไม่มีชื่อเสียง ซึ่งต้อง มาแทนที่ความรู้เดิมที่ค้นพบโดยคนมีชื่อเสียงก็ได้
RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4