คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ วิชาฟิสิกส์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ วิชาฟิสิกส์ 17 ๔. ผลการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม สาระฟิสิกส์ ๑. เข้าใจความสัมพันธ์ของความร้อนกับการเปลี่ยนอุณหภูมิและสถานะของสสาร สภาพยืดหยุ่นของวัสดุ และมอดุลัสของยัง ความดันในของไหล แรงพยุง และ หลักของอาร์คิมีดีส ความตึงผิวและแรงหนืดของของเหลว ของไหลอุดมคติ และสมการแบร์นูลลี กฎของแก๊ส ทฤษฎีจลน์ของแก๊สอุดมคติและพลังงานในระบบ ทฤษฎีอะตอมของโบร์ ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก ทวิภาวะของคลื่นและอนุภาค กัมมันตภาพรังสี แรงนิวเคลียร์ ปฏิกิริยานิวเคลียร์ พลังงานนิวเคลียร์ ฟิสิกส์ อนุภาค รวมทั้งนำ�ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ผลการเรียนรู้ ชั้น สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม ม.๔ ๑. สืบค้นและอธิบายการค้นหาความรู้ทางฟิสิกส์ ประวัติความเป็นมา รวมทั้งพัฒนาการของ หลักการและแนวคิดทางฟิสิกส์ที่มีผลต่อการแสวงหาความรู้ใหม่และการพัฒนาเทคโนโลยี ๒. วัดและรายงานผลการวัดปริมาณทางฟิสิกส์ได้ถูกต้องเหมาะสม โดยนำ�ความคลาดเคลื่อน ในการวัดมาพิจารณาในการนำ�เสนอผล รวมทั้งแสดงผลการทดลองในรูปของกราฟ วิเคราะห์ และแปลความหมายจากกราฟเส้นตรง - ฟิสิกส์เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับสสาร พลังงาน อันตรกิริยาระหว่างสสาร กับพลังงาน และแรงพื้นฐานในธรรมชาติ - การค้นคว้าหาความรู้ทางฟิสิกส์ได้มาจากการสังเกต การทดลอง และเก็บรวบรวมข้อมูล มาวิเคราะห์หรือจากการสร้างแบบจำ�ลองทางความคิด เพื่อสรุปเป็นทฤษฎี หลักการหรือกฎ ความรู้เหล่านี้สามารถนำ�ไปใช้อธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติหรือทำ�นายสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น ในอนาคต - ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของหลักการและแนวคิดทางฟิสิกส์เป็นพื้นฐาน ในการแสวงหาความรู้ใหม่เพิ่มเติม รวมถึงการพัฒนาและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ก็มีส่วนในการค้นหาความรู้ใหม่ทางวิทยาศาสตร์ด้วย - ความรู้ทางฟิสิกส์ส่วนหนึ่งได้จากการทดลองซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการวัดปริมาณ ทางฟิสิกส์ซึ่งประกอบด้วยตัวเลขและหน่วยวัด - ปริมาณทางฟิสิกส์สามารถวัดได้ด้วยเครื่องมือ ต่าง ๆ โดยตรงหรือทางอ้อมหน่วยที่ใช้ ในการวัดปริมาณทางวิทยาศาสตร์คือระบบหน่วยระหว่างชาติ เรียกย่อว่าระบบเอสไอ - ปริมาณทางฟิสิกส์ที่มีค่าน้อยกว่าหรือมากกว่า ๑ มาก ๆ นิยมเขียนในรูปของสัญกรณ์ วิทยาศาสตร์ หรือเขียนโดยใช้คำ�นำ�หน้าหน่วยของระบบเอสไอ การเขียนโดยใช้สัญกรณ์ วิทยาศาสตร์เป็นการเขียนเพื่อแสดงจำ�นวนเลขนัยสำ�คัญที่ถูกต้อง - การทดลองทางฟิสิกส์เกี่ยวกับการวัดปริมาณต่างๆ การบันทึกปริมาณที่ได้จากการวัด ด้วยจำ�นวนเลขนัยสำ�คัญที่เหมาะสมและค่าความคลาดเคลื่อน การวิเคราะห์และการแปล ความหมายจากกราฟ เช่น การหาความชันจากกราฟเส้นตรง จุดตัดแกน พื้นที่ใต้กราฟ เป็นต้น
RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4