ของไหล
ความดันและแรงดัน
แรงดัน (Force) คือ แรงหรือน้ำหนักทั้งหมดที่กดลงบนพื้นที่ทั้งหมด
ความดัน (Pressure) คือ แรงดันบนพื้นที่ 1 ตารางหน่วย
ความดันของของไหล คือ อัตราส่วนของแรงที่กระทำต่อวัตถุต่อหน่วยพื้นที่ที่สัมผัสกับของไหล
ภาพที่ 1 แรงดันของบรรยากาศที่กระทำต่อวัตถุทุกทิศทุกทาง
ที่มา: กัญญา เกื้อกูล
ภาพที่ 2 แสดงแรงดันของของเหลว
ที่มา : https://sites.google.com/site/physickwamronkhonglai/khwam-rxn/khxnghil
สมมติ บนพื้นที่ A ตร.ม. มีแรงดัน F นิวตัน
ดังนั้น บนพื้นที่ 1 ตร.ม. มีแรงดัน F/A นิวตัน
แต่แรงดันบน 1 หน่วยพื้นที่เรียกว่า ความดัน
สูตรความสัมพันธ์
P=F/A
เมื่อ P คือ ความดัน มีหน่วยเป็น N/m2 หรือพาสคัล (pascal:Pa)
F คือ แรงที่ของเหลวกระทำต่อวัตถุ (นิวตัน)
A คือ พื้นที่ (ตารางเมตร) และเป็นพื้นที่ราบ (Flat area)
ระบบ SI ปาสคาล (Pascal) = นิวตันต่อตารางเมตร
ทางอุตุนิยมวิทยา 1 บาร์ (Bar) = 105 ปาสคาล
1 บรรยากาศ (Atmosphere) = 1.01 บาร์
= 1.01 x 105 ปาสคาล
ความดันในของเหลวจะแปรผันตรงกับความลึกและความหนาแน่นของของเหลว
ภาพที่ 3 แสดงความดันของของเหลว
ที่มา : https://sites.google.com/site/physickwamronkhonglai/khwam-rxn/khxnghil
หากเราพิจารณาของเหลวที่มีความหนาแน่นอยู่นิ่งในภาชนะเปิดสู่บรรยากาศ
W เป็นน้ำหนักของของเหลวบนพื้นที่ A (หน้าตัดของทรงกระบอก) ดังนั้น
ให้ความดันบรรยากาศ คือ Po เนื่องจากของเหลวอยู่ในสมดุล ดังนั้นที่ก้นแก้ว
จะได้ สูตรความดันสัมบูรณ์
เมื่อ P คือ ผลรวมของความดันบรรยากาศกับความดันเกจ เรียกว่า "ความดันสัมบูรณ์" (Absolute pressure)
P0 คือ ความดันที่ผิวของเหลวเท่ากับความดันบรรยากาศ
เป็นความดันเนื่องจากน้ำหนักของของเหลวที่ระดับความลึก h เรียกว่า " ความดันเกจ "
จากสูตร สรุปได้ว่า ความดันในของเหลวชนิดเดียวกันที่ระดับความลึกเดียวกันมีค่าเท่ากันโดยรูปทรงของภาชนะไม่มีผลต่อความดัน
การจำแนกชนิดของความดัน
1. ความดันบรรยากาศ ( Atmospheric Pressure : Po ) คือ ความดันที่เกิดจากบรรยากาศที่ทับถมอยู่เหนือจุดที่พิจารณา มีค่าเท่ากับน้ำหนักของอากาศในชั้นบรรยากาศที่ทับถมอยู่เหนือพื้นที่ 1 ตารางหน่วยซึ่ง ความดันบรรยากาศปกติ ที่ระดับน้ำทะเล คือ 1 บรรยากาศ ( 1 atm)
Po = 1.01235 X 105 N/m2
2. ความดันเกจ ( Gauge Pressure : Pg ) คือ ความดันเนื่องจากน้ำหนักของของเหลวเพียงอย่างเดียว
3. ความดันสัมบูรณ์ (Absolute Pressure : P) คือ ผลรวมของความดันบรรยากาศกับความดันเกจรวม
ลักษณะของความดันของของเหลว
1. ทุกๆ จุดในของเหลวจะมีแรงดันจากทุกทิศทาง
2. ความดันของของเหลวขึ้นอยู่กับความลึกเเละความหนาเเน่นของของเหลว โดยไม่ขึ้นกับปริมาตรของของเหลว
3. ภาชนะที่มีของเหลวบรรจุอยู่จะได้รับแรงดันจากของเหลวกระทำต่อผนังภาชนะใน แนวตั้งฉากกับผนังภาชนะ เช่น สังเกตน้ำที่พุ่งออกมาจากรอยรั่วของถังน้ำ แสดงถึงว่าจะต้องมีแรงดันของน้ำกระทำต่อพื้นที่ด้านข้างถัง และแรงดันนี้จะดันให้น้ำพุ่งออกมาตามรอยรั่วได้
4. ภายใต้สภาพแรงดึงดูดของโลก ความดันของของเหลว ณ ตำแหน่งใด ๆ ขึ้นกับความลึกของตำแหน่งนั้น วัดจากผิวของของเหลวและความหนาแน่นของของเหลว ตามสมการ
แรงดันที่กระทำต่อก้นภาชนะ
ภาชนะที่บรรจุของเหลว จะมีแรงดันเนื่องจากของเหลวกระทำในทิศตั้งฉากกับพื้นที่ผิวภาชนะที่ของเหลวสัมผัส โดยขนาดของแรงดันหาได้จากผลคูณของความดันของของเหลวกับพื้นที่ที่ของเหลวสัมผัส ( F = PA ) แต่เนื่องจากความดันของของเหลวขึ้นอยู่กับความลึก ดังนั้นความดันที่กระทำกับก้นภาชนะจะเป็นความดันสัมบูรณ์
ภาพที่ 4 แสดงภาชนะบรรจุน้ำ 3 ขนาดที่มีความสูงเท่ากัน
ที่มา : http://drvandgrengchemicalliquid.tripod.com/pressure2.htm
จากรูปความดันที่ของเหลวกดก้นภาชนะทั้ง 3 รูปมีค่าเท่ากัน (h เท่ากัน) และแรงดันที่ของเหลวกดก้นภาชนะทั้ง 3 รูปมีค่าเท่ากัน F = PA = (A เท่ากัน)
แรงดันที่กระทำต่อผนังภาชนะ
เนื่องจากความดันของของเหลวขึ้นอยู่กับความลึก ดังนั้นความดันที่กระทำกับผนังภาชนะจะเป็นความดันเฉลี่ยระหว่างจุดสูงสุดและจุดต่ำสุดของของเหลว
ในกรณีการหาแรงดันน้ำที่กระทำต่อผนังภาชนะ จะหมายถึงแรงดันเนื่องจากความดันเกจ ไม่คิดผลของแรงดันบรรยากาศ แต่ถ้าหาแรงดันที่กระทำต่อผนังภาชนะ จะหมายถึงแรงดันเนื่องจากความดันสัมบูรณ์ ต้องคิดรวมความดันบรรยากาศด้วย
เครื่องมือวัดความดันของของเหลว
1. มานอมิเตอร์ ( Manometer ) เป็นเครื่องมือวัดความดันของของไหล ประกอบด้วยหลอดแก้วรูปตัวยู ( U tube ) มีของเหลวบรรจุอยู่ภายใน ปลายข้างหนึ่งปิด ส่วนปลายอีกข้างหนึ่งจะต่อกับภาชนะบรรจุของไหลที่ต้องการวัดความดันและการรู้ความแตกต่างของระดับของเหลวในหลดแก้วรูปตัวยูทั้งสองข้างจะทำให้สามารถหาความดันของของไหลได้
หลักการคำนวณ
ให้เปรียบเทียบระดับความสูงของของเหลวในหลอดทั้งสองข้าง
“ที่ระดับความสูงเดียวกันความดันจะมีค่าเท่ากัน”
PA = PB
ภาพที่ 6 มานอมิเตอร์ ( Manometer )
ที่มา : http://www.rmutphysics.com/teaching-glossary/index.php?option=com_content&task=view&id=9968&Itemid=11
2. บารอมิเตอร์ปรอท ( Mercury Barometer ) สร้างตามหลักของ เทอร์รีเชลลี (Toricelli) โดยนำหลอดแก้วปลายเปิดข้างหนึ่ง ปลายปิดข้างหนึ่ง ทำให้เป็นสุญญากาศแล้วคว่ำด้านปลายเปิดของหลอดแก้วลงไปในอ่างปรอท เมื่อหลอดแก้วอยู่ในแนวดิ่งอากาศภายนอกจะดันปรอทให้เข้าสู่หลอดแก้ว พบว่าเมื่อความดันปกติ ความสูง h ของปรอทเท่ากับ 760มิลลิเมตร แสดงว่า Po = 760 mmHg = 76 cmHg = 1 atm
ภาพที่ 7 บารอมิเตอร์ปรอท
ที่มา : http://www.rmutphysics.com/teaching-glossary/index.php?option=com_content&task=view&id=9968&Itemid=11
แหล่งที่มา
ช่วง ทมทิตชงค์ และคณะ. (2537). ฟิสิกส์ 3 ม.5. กรุงเทพฯ:ไฮเอ็ดพับลิชชิ่ง.
กลับไปที่เนื้อหา
กฎของปาสคาลและเครื่องอัดไฮโดรลิก
กฎของปาสคาลใช้อธิบายเกี่ยวกับการส่งต่อความดันในของไหล มีหลักการว่า “ถ้าเพิ่มความดันให้กับของไหล ที่บรรจุในภาชนะปิด ณ จุดใด ความดัน นั้นจะส่งกระจายกันต่อไปทำให้ทุก ๆ ส่วนของของไหลได้รับความดันที่เพิ่มขึ้น (Increased Pressure) เท่ากันหมด”
รูปที่ 1 เครื่องอัดไฮโดรลิก
ที่มา: https://indyteacher.wordpress.com/หน่วยการเรียนรู้/unit2/กฎของพาสคาล/
รูปที่ 2 ภาชนะใบหนึ่งใส่ของเหลวเต็มแล้วออกแรงกระทำ
ที่มา: กัญญา เกื้อกูล
จากรูปเป็นภาชนะใบหนึ่งใส่ของเหลว เช่นน้ำไว้เต็ม , มีแรงดัน F1 , F2 , F3 และ F4 ที่ลูกสูบ A, B, C, D ตามลำดับ
เมื่อเราออกแรงดันเพิ่มขึ้น F1 ให้กับลูกสูบที่มีพื้นที่หน้าตัด A จะเกิดความที่เพิ่มขึ้นเป็น F1/A มีผลทำให้เกิด ความดันเพิ่มขึ้นที่ลูกสูบ B,C และ D เป็น F2/B, F3/C และ F4/D ซึ่งจะมีค่าเท่ากันหมดถ้าภาชนะนี้ตั้งในแนวดิ่ง ลูกสูบต่าง ๆ อาจไม่อยู่ในระดับเดียวกัน ดังนั้น
- ของเหลวที่ดันลูกสูบในระดับเดียวกัน ย่อมมีความดันเท่ากัน
- ความดันที่เพิ่มขึ้น แก่ลูกสูบทุกตัวเท่ากัน ตามกฎ Pascal แม้ว่าจะไม่เป็นระดับเดียวกัน
รูปที่ 3 หลอดรูปตัวยูขาโตไม่เท่ากันภายในบรรจุของไหล
ที่มา: กัญญา เกื้อกูล
จากรูปที่ 3 เป็นหลอดรูปตัวยูขาโตไม่เท่ากัน ภายในบรรจุของไหลที่ขาทั้งสองมีลูกสูบปิดสนิท ขาข้างเล็กมีพื้นที่หน้าตัด a ส่วนขาข้างใหญ่มีพื้นที่หน้าตัด A เมื่อออกแรงกด F ที่ลูกสูบเล็ก (ลูกสูบกด, ลูกสูบอัด) ทำให้ลูกสูบใหญ่ (ลูกสูบยก, ลูกสูบขยาย) สามารถยกน้ำหนัก W ได้ ซึ่งเป็นหลักการทำงานของเครื่องกลผ่อนแรงที่รู้จักกันทั่วไป คือ เครื่องอัดไฮดรอลิก (hydraulic press) จากกฎของพาสคาล
ความดันที่ใส่เพิ่มเข้าไป = ความดันที่ได้รับ
P ที่ a = P ที่ A
F/a = W/A
หรือ W/F = A/a …..(1)
จากสมการที่ (1) เมื่อ A > a ดังนั้น W > F แสดงว่าออกแรงกดน้อยได้แรงยกมาก ซึ่งเป็นหลักการเครื่องกลผ่อนแรง
จาก (1) W/F เรียกว่า การได้เปรียบเชิงกลทางปฏิบัติ
A/a เรียกว่า การได้เปรียบเชิงกลทางทฤษฎี (theoretical mechanical advantage)
จาก (1) W/F = A/a เมื่อไม่มีแรงเสียดทานภายนอกมากระทำ
ถ้ามีแรงเสียดทานภายนอกมากระทำ ค่าของ W จะได้น้อยกว่าที่ควรจะได้ดังนั้น W/F < A/a
ประสิทธิภาพของเครื่องกล (Eff)
Eff = (งานที่ได้ /งานที่ให้) x100
หรือ Eff = (M.A. ทางปฏิบัติ /M.A. ทางทฤษฎี) x 100
หรือ Eff = (แรงที่ได้จริง/ แรงที่ควรได้) x 100
ตัวอย่างที่ 1 ของเหลวชนิดหนึ่งอยู่ในภาชนะที่มิดชิด เมื่อเพิ่มความดันแก่ของเหลว จะได้ผลตามข้อใด
1. ทุกจุดในของเหลวมีความดันเพิ่มขึ้นเท่ากัน
2. ปริมาตรของเหลวเท่าเดิม
3. แรงกระทำต่อภาชนะเพิ่มขึ้น
4. ถูกทุกข้อ
เฉลยข้อที่ถูกต้อง คือข้อ 4 เพราะจากกฎของ Pascal เมื่อให้ความดันเพิ่มขึ้น,แก่ผิวของของไหล ความดันจะกระจายออกไป จนทำให้ผิวของเหลวมีความดันที่เพิ่มขึ้นเท่ากันหมด
ตัวอย่างที่ 2 จากกฎของปาสคาลนำมาสร้างเครื่องอัดไฮดรอลิก จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
A. เมื่อออกแรงกดลูกสูบข้างหนึ่ง, ลูกสูบอีกข้างหนึ่งจะเคลื่อนที่ขึ้นแสดงว่าเราสามารถส่งแรงดันผ่านของเหลวได้
B. ขณะลูกสูบสมดุลวัตถุพอดียกขึ้น ความดันของของเหลวที่กระทำต่อลูกสูบทั้งสองมีค่าเท่ากัน
C. แรงที่กดลงบนลูกสูบอัด และลูกสูบยกเท่ากัน
เราอาจสรุปหลักการได้ตามข้อใด
1. ข้อ A, B, C ถูกต้อง 2. ข้อ A, B ถูกต้อง
3. ข้อ B, C ถูกต้อง 4. ข้อ A, C ถูกต้อง
เฉลยข้อ 4 ถูกต้อง เพราะจากกฎของปาสคาล ถ้าเพิ่มความดันให้กับของไหล ที่บรรจุในภาชนะปิด ณ จุดใด ความดัน นั้นจะส่งกระจายกันต่อไปทำให้ทุก ๆ ส่วนของของไหลได้รับความดันที่เพิ่มขึ้น (Increased Pressure) เท่ากันหมด
ตัวอย่างที่ 3 เครื่องอัดไฮดรอลิกที่มีคานโยกจะผ่อนแรงมากเมื่อใด
1. ระยะก้านสูบอัดถึงจุดหมุนยาวกว่าระยะจุดหมุนถึงปลายคานโยก
2. ระยะก้านสูบอัดถึงจุดหมุนเท่ากับระยะจุดหมุนถึงปลายคานโยก
3. ระยะก้านสูบอัดถึงจุดหมุนสั้นกว่า ระยะจุดหมุนถึงปลายคานโยกมาก ๆ
4. ใช้ก้านสูบอัดเป็นจุดหมุนออกแรงกดปลายคาน
เฉลยข้อที่ถูกต้องคือ ข้อ 3 เพราะ แขนของแรงพยายามยาวจะผ่อนแรงมาก
ตัวอย่างที่ 4 เครื่องอัดบรามาห์เครื่องหนึ่งมีพื้นที่หน้าตัดของลูกสูบใหญ่เป็น 5 เท่าของลูกสูบเล็ก ในการใช้ยกของหนัก 1000 นิวตัน ต้องออกแรงที่ลูกสูบเล็กกี่นิวตัน
เฉลย จาก F/a = W/A
F/W = a/A
F/1000 = 1/5
F = 200 นิวตัน
ตอบ แรงที่ลูกสูบเล็ก = 200 นิวตัน
ตัวอย่างที่ 5 จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับกฎของปาสคาล
1. ความดันที่กระทำที่จุดใด ๆ ในของเหลว ณ ระดับความลึกเดียวกันจะมีค่าเท่ากันหมด
2. ความดันของของเหลวที่กระทำเมื่ออยู่ในภาชนะที่ปิด จะมีทิศทางตั้งฉากกับผนังด้านในของวัตถุเสมอ
3. ความดันที่กระทำต่อส่วนใดส่วนหนึ่งของของเหลวในภาชนะปิด จะส่งผ่านไปยังทุกทิศทุกทางโดยมีการเปลี่ยนแปลงตามความหนาแน่นของของเหลว
4. เมื่อมีความดันที่เพิ่มขึ้นกระทำต่อส่วนหนึ่งส่วนใดของของเหลวหรือของไหลในภาชนะปิด, ความดันที่เพิ่มขึ้นจะส่งผ่านไปยังทุก ๆ ส่วนของของเหลวหรือของไหลรวมทั้งผนังของภาชนะที่บรรจุโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง
เฉลยข้อที่ถูกต้องคือ ข้อ 4
ตัวอย่างที่ 6 พื้นที่หน้าตัดขวางของลูกสูบเล็กในเครื่องอัดบรามาห์ เท่ากับ 6 ตารางเซนติเมตร และลูกสูบใหญ่เท่ากับ 600 ตารางเซนติเมตร การได้เปรียบเชิงกลของคานคือที่สำหรับโยกขึ้นลงเท่ากับ 4 ถ้าออกแรงโยกที่คานถือ 500 นิวตัน ลูกสูบใหญ่จะยกน้ำหนักเท่าใด
เฉลย สิ่งที่โจทย์กำหนดให้ คานโยกผ่อน 4 เท่า
Fรูปเล็ก = 4 x 500 = 2000 นิวตัน
จากสมการ F/a = W/a
2000/6 = W/600
W = 2x 105 นิวตัน
ตอบ ลูกสูบใหญ่จะยกน้ำหนัก = 2x 105 นิวตัน
แหล่งที่มา
นิรันดร์ สุวรัตน์. (2551). ฟิสิกส์ ม.5 เล่ม 1-2. กรุงเทพฯ:พัฒนาศึกษา.
ช่วง ทมทิตชงค์ และคณะ. (2537). ฟิสิกส์ 3 ม.5. กรุงเทพฯ:ไฮเอ็ดพับลิชชิ่ง.
Fluid Mechanics for Students. (มมป.) กฎของปาสคาล. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2562, https://indyteacher.wordpress.com/หน่วยการเรียนรู้/unit2/กฎของพาสคาล/
กลับไปที่เนื้อหา
รูปที่ 1 การวัดปริมาตรของวัตถุจากปริมาตรของเหลวที่ล้นออกมา
ที่มา : https://www.blockdit.com/articles/5d90d88ed9718d0cbf9214cb
หลักการของอาร์คิมิดีส (Archimedes' principle) ตั้งชื่อตามอาร์คิมิดีสแห่งซีราคิวส์ ผู้ค้นพบกฎนี้เป็นคนแรก ซึ่งเป็นกฎเกี่ยวกับแรงลอยตัวและการแทนที่ โดยกล่าวว่า เมื่อนำวัตถุลงไปแทนที่ของเหลวจะมีแรงต้านเท่ากับน้ำหนักของของเหลวปริมาตรเท่าส่วนจม จากหลักการนี้ทำให้เข้าใจในหลักการหลายอย่าง เช่น เรือเหล็กทำไมจึงลอยน้ำ ของเหลวต่างชนิดกันมีความหนาแน่นต่างกัน อาร์คีมีดีสชี้ให้เห็นถึงเรื่องความหนาแน่นและนำมาเทียบกับน้ำเรียกว่าความถ่วงจำเพาะ จากหลักการนี้ทำให้อาร์ดีมีดีสสามารถพิสูจน์มงกุฎทองคำ ที่ช่างทำมงกุฎหลอมสิ่งเจือปนลงไปในเนื้อทอง อาร์คีมีดีสหาวิธีวัดปริมาตรมงกุฎทองคำได้ด้วยการเอาไปแทนที่น้ำ และปล่อยให้น้ำล้นออกมา สาระสำคัญของหลักการของอาร์คีมีดิส
- ปริมาตรของเหลวที่ถูกแทนที่ จะเท่ากับปริมาตรของวัตถุส่วนที่จมลงในของเหลว
- น้ำหนักของวัตถุที่่ชั่งในของเหลว จะมีค่าน้อยกว่าน้ำหนักของวัตถุที่ชั่งในอากาศ เนื่องจากแรงพยุงของของเหลวมีมากกว่าแรงพยุงของอากาศ
- น้ำหนักของวัตถุที่หายไปในของเหลว จะเท่ากับน้ำหนักของของเหลวที่ถูกวัตถุแทนที่ ซึ่งคำนวณได้จากผลต่างของน้ำหนักของวัตถุที่ชั่งในอากาศกับน้ำหนักของวัตถุที่ชั่งในของเหลว
- น้ำหนักของของเหลวที่ถูกแทนที่ จะเท่ากับน้ำหนักของของเหลวที่มีปริมาตรเท่ากับวัตถุส่วนที่จม
แรงลอยตัว (Buoyancy)
แรงลอยตัว คือ แรงพยุงของของเหลวและแก๊สที่กระทำต่อวัตถุที่อยู่ในของเหลวและแก๊สนั้น ทำให้วัตถุลอยอยู่ได้ โดยในชีวิตประจำวันเราจะพบว่าวัตถุบางชนิดลอยอยู่ในน้ำได้ เพราะแรงลอยตัวที่กระทำต่อวัตถุนั้นมีค่าเพียงพอที่จะต้านน้ำหนักของวัตถุ ที่เกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลกได้ แต่สำหรับวัตถุบางชนิดที่จมลงในน้ำ แสดงว่าแรงลอยตัวที่กระทำต่อวัตถุนั้นมีค่าน้อยกว่าน้ำหนักของวัตถุ
สมการที่ใช้ในการคำนวณหาขนาดของแรงลอยตัวเป็นดังนี้
เมื่อ คือ ความหนาแน่นของของเหลว มีหน่วยเป็น กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร (kg/m3 )
V คือ ปริมาตรของของเหลวที่ถูกแทนที่ มีหน่วยเป็น ลูกบาศก์เมตร (m 3 )
G คือ ขนาดความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก มีหน่วยเป็น เมตร/วินาที2 (m/s2 )
FB คือ ขนาดของแรงพยุง มีหน่วยเป็น นิวตัน (N)
ตัวอย่างที่ 1 วัตถุหนึ่งเมื่อแขวนบนเครื่องชั่งสปริงในอากาศอ่านค่าน้ำหนักได้ 28.6 นิวตัน แต่เมื่อนำวัตถุ นี้ที่แขวนบนเครื่องชั่งสปริงไปจุ่มลงในน้ำจนจมทั้งก้อนอ่านค่าน้ำหนักได้ 25.8 นิวตัน วัตถุนี้มีปริมาตรเท่าใด (กำหนดให้ ความหนาแน่นของน้ำ = 1x103 kg/m3 และ ค่าความเร่งโน้มถ่วงของโลก(g) = 10 m/s2 )
วิธีทำ โจทย์กำหนดให้ น้ำหนักของวัตถุเมื่อชั่งในอากาศ = 28.6 N
น้ำหนักของวัตถุเมื่อชั่งในน้ำ = 26.7 N
จาก แรงพยุง (FB ) = น้ำหนักของวัตถุที่ชั่งในอากาศ – น้ำหนักของวัตถุเมื่อชั่งในน้ำ
แทนค่า แรงพยุง (FB ) = 28.6 – 25.8 = 2.8 N
จาก
แทนค่า
2.8 = (1x103) V(10)
V = 2.8 x 10-4 m3
ตอบ วัตถุนี้มีปริมาตรเท่ากับ 2.8 x 10-4 ลูกบาศก์เมตร
ดังนั้น แรงพยุงหรือแรงลอยตัวที่ของเหลวกระทำต่อวัตถุมีขนาดเท่ากับน้ำหนักของของเหลวที่มีปริมาตร เท่ากับปริมาตรของวัตถุส่วนที่จมอยู่ในของเหลว จึงสามารถสรุปได้ว่า
1. วัตถุที่มีความหนาแน่นมากกว่าความหนาแน่นของเหลว วัตถุจะจมในของเหลวนั้น
2. วัตถุที่มีความหนาแน่นเท่ากับความหนาแน่นของเหลว วัตถุจะลอยในของเหลวปริ่มเสมอกับ ผิวของเหลวนั้น
3. วัตถุที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าความหนาแน่นของเหลว วัตถุจะลอยในของเหลวโดยมี บางส่วนจมอยู่ในของเหลวและมีบางส่วนลอยอยู่เหนือของเหลวนั้น
รูปที่ 2 แสดงการลอยของวัตถุในของเหลวแต่ละชนิด
ความหนาแน่นของวัตถุ (Density) คือ อัตราส่วนระหว่างมวลของวัตถุต่อปริมาตรของวัตถุ เขียนแทน ด้วยสัญลักษณ์ “ ” เรียกว่า Rho โดยความหนาแน่นจะมีหน่วยเป็น กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร (g/cm3 ) หรือ กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (kg/m3 ) สำหรับหน่วยในระบบ S.I. เราจึงสามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้
ความหนาแน่นของวัตถุ = มวลของวัตถุ/ปริมาตรของวัตถุ
เมื่อ = ความหนาแน่นของวัตถุ มีหน่วยเป็น g/cm3 หรือ kg/m3
m = มวลของวัตถุ มีหน่วยเป็น g หรือ kg
V = ปริมาตรของวัตถุ มีหน่วยเป็น cm 3 หรือ m 3
ความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) หรือความหนาแน่นสัมพัทธ์ (Relative Density) ของสารใด ๆ หมายถึง อัตราส่วนระหว่างความหนาแน่นของสารนั้นกับความหนาแน่นของสารอ้างอิง ซึ่งโดยทั่วไปนิยมใช้ความหนาแน่นของสารอ้างอิงเป็นน้ำบริสุทธิ์ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส ที่มีค่าความหนาแน่นเท่ากับ 1x103 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร เช่น การหาความถ่วงจำเพาะหรือความหนาแน่นสัมพัทธ์ของตะกั่ว
ตัวอย่างที่ 1 บอลลูนสำหรับนำนักท่องเที่ยวขึ้นชมทิวทัศน์โดยรอบวนอุทยานแห่งหนึ่ง ซึ่งภายในบอลลูน บรรจุแก๊สฮีเลียมที่มีปริมาตร 600 ลูกบาศก์เมตร และมีมวล 108 กิโลกรัม ค่าความหนาแน่นของแก๊สฮีเลียมที่ บรรจุอยู่ในบอลลูนมีค่าเท่าใด
วิธีทำ
โจทย์กำหนด ปริมาตรของแก๊สฮีเลียม (V) = 600 m2 ; มวลของแก๊สฮีเลียม (m) = 108 kg
จากสมการแทนค่า
ตอบ ความหนาแน่นของแก๊สฮีเลียมมีค่าเท่ากับ 0.18 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร
เมื่อพิจารณาการจมและการลอยของวัตถุใด ๆ ที่อยู่ในของเหลว ขึ้นอยู่กับค่าความหนาแน่นของวัตถุกับ ค่าความหนาแน่นของของเหลวนั้น ถ้าวัตถุใดจมน้ำ แสดงว่า วัตถุนั้นมีความหนาแน่นมากกว่าความหนาแน่นของน้ำ แต่ถ้าวัตถุนั้นลอยน้ำได้ แสดงว่า วัตถุนั้นมีความหนาแน่นน้อยกว่าความหนาแน่นของน้ำ หากต้องการให้วัตถุที่ มีค่าความหนาแน่นมากกว่าค่าความหนาแน่นของน้ำสามารถลอยอยู่บนผิวน้ำได้ เราต้องเปลี่ยนแปลงรูปร่างของ วัตถุเพื่อให้วัตถุมีปริมาตรเพิ่มมากขึ้น จนมีค่าความหนาแน่นน้อยกว่าค่าความหนาแน่นของน้ำ เช่น เหล็กที่มีความ หนาแน่น 7.8 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งมากกว่าความหนาแน่นของน้ำเหล็กจึงจมน้ำ แต่เมื่อนำเหล็กมาทำ เป็นเรือเหล็กจะสามารถลอยน้ำได้ ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากเราทำให้เรือเหล็กมีปริมาตรเพิ่มขึ้นขณะที่มวลของเหล็ก ยังคงเท่าเดิม จึงส่งผลให้ความหนาแน่นของเรือเหล็กน้อยกว่าความหนาแน่นของน้ำ
แหล่งที่มา
ช่วง ทมทิตชงค์ และคณะ. (2537). ฟิสิกส์ 3 ม.5. กรุงเทพฯ:ไฮเอ็ดพับลิชชิ่ง.
โลกต้องจารึก. (มมป.). หลักการของอาร์คิมิดีส. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2562, https://www.blockdit.com/articles/5d90d88ed9718d0cbf9214cb
กลับไปที่เนื้อหา
ความตึงผิว
จากการที่เราศึกษาเรื่องแรงดันของของเหลว พบว่าของเหลวจะมีแรงดันกระทำในทิศตั้งฉากกับผิวสัมผัสของภาชนะ ส่วนที่ผิวหน้าของของเหลวเมื่อสัมผัสกับวัตถุอื่น ก็จะเกิดแรงกระทำเหมือนกัน สังเกตได้จากการนำวัตถุที่เป็นของแข็ง เช่น เข็มเย็บผ้า ใบมีดโกน ซึ่งมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำหลายเท่าไปวางบนผิวน้ำ ปรากฏว่าเข็มและใบมีดโกนสามารถลอยอยู่บนผิวน้ำได้ แต่เมื่อกดเข็มหรือใบมีดโกนให้จมลงใต้ผิวน้ำ ก็จะจมลงทันทีหรือการที่แมลงตัวเล็ก ๆ สามารถยืนหรือวิ่งไปมาบนผิวน้ำได้ ดังนั้นเราสามารถสรุปได้ว่า ที่ผิวน้ำหรือของเหลวใด ๆ จะต้องมีแรงชนิดหนึ่งที่พยายามยึดผิวของเหลวไว้ ซึ่งเรียกแรงนี้ว่า แรงตึงผิว
ภาพที่ 1 แมลงเดินอยู่บนผิวน้ำ
ที่มา: https://pixabay.com / Free-Photos
ถ้าเราจะศึกษาลักษณะของแรงตึงผิว ทำได้โดยนำเส้นลวดเส้นเล็ก ๆ มาดัดให้เป็นรูปห่วงวงกลมมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร แล้วจุ่มโครงลวดนี้ลงในน้ำสบู่ เมื่อดึงลวดขึ้นจากน้ำสบู่จะเห็นฟิล์มของน้ำสบู่ติดอยู่กับโครงลวด นำด้ายเส้นเล็ก ๆ มาผูกเป็นห่วงแล้วค่อย ๆ วางห่วงด้ายลงบนฟิล์มน้ำสบู่ จากนั้นใช้วัสดุปลายแหลมจิ้ม ฟิล์มน้ำสบู่ที่อยู่ภายในห่วงด้ายให้ทะลุ ผลปรากฏว่า ห่วงด้ายมีรูปร่างเป็นวงกลม การที่เป็นเช่นนี้ แสดงว่าแรงตึงผิวของฟิล์มน้ำสบู่ มีทิศขนานกับระนาบของฟิล์มและตั้งฉากกับห่วงเส้นด้าย ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า แรงตึงผิวของของเหลวมีทิศขนานกับผิวของของเหลว และตั้งฉากกับเส้นขอบที่ของเหลวสัมผัส
เราสามารถศึกษา วัดแรงตึงผิวของของเหลวจะใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า ชุดการทดลองวัดแรงตึงผิวของของเหลว โดยจัดอุปกรณ์การทดลองดังนี้
1. จัดคานของชุดทดลองให้สมดุลอยู่ในแนวระดับแล้วค่อย ๆ เติมน้ำให้แตะด้านล่างของห่วงกลมพอดี
2. เพิ่มแหวนโลหะลงที่แขวนน้ำหนักจนกระทั่งห่วงวงกลมหลุดจากผิวน้ำพอดี
3. คำนวณหาแรงซึ่งเป็นแรงที่ใช้ดึงห่วงวงกลมให้หลุดจากผิวน้ำพอดี ซึ่งแรงนี้มีขนาดเท่ากับแรงตึงผิวของน้ำนั่นเองโดยให้หลักของโมเมนต์ เมื่อรู้ mg, x, y
4. วัดความยาวของเส้นรอบวงของห่วงวงกลมเป็น l คำนวณหาอัตราส่วนระหว่างแรงที่ใช้ดึงกับสองเท่าของความยาวของเส้นรอบวงของห่วงวงกลมหรือ F/2l
5. เปลี่ยนขนาดห่วงวงกลมอีก 2-3 ขนาด แล้วทำการทดลองซ้ำ แล้วหาค่า F/2l
6. เปลี่ยนน้ำเป็นของเหลวอื่น ๆ แล้วทำการทดลองซ้ำ ข้อ 1-5
จากการทดลองจะเห็นว่า เมื่อดึงห่วงวงกลมให้หลุดจากผิวของของเหลวจะพบว่าแรงที่ต้านไม่ให้ห่วงวงกลมหลุดจากผิวของเหลว จะอยู่บริเวณของของเหลว ก่อนที่ห่วงวงกลมจะหลุดจากผิว ห่วงวงกลมจะดึงผิวของของเหลวขึ้นมาสองผิวคือ ผิวด้านใน และผิวด้านนอกของห่วง ดังนั้น ผิวของของเหลวที่ขาดออกจากกัน จึงมีสองผิว
จากการศึกษา พบว่า อัตราส่วนระหว่างแรงที่ใช้ดึงห่วงวงกลมกับสองเท่าของความยาวของเส้นรอบวงของห่วงวงกลมสำหรับของเหลวชนิดเดียวกัน อัตราส่วนดังกล่าวจะมีค่าเท่ากัน และจะมีค่าต่างกัน เมื่อเป็นของเหลวต่างชนิดกัน ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า สำหรับของเหลวหนึ่ง ๆ อัตราส่วนระหว่างแรงตึงผิวของของเหลวกับความยาวของเส้นผิวของของเหลวที่ขาดมีค่าคงตัว เรียกค่าคงตัวนี้ว่า ความตึงผิว (Surface tension) ของของเหลว
ความสัมพันธ์ระหว่างงานกับความตึงผิว
เมื่อนำเส้นลวดเล็ก ๆ มาดัดให้เป็นโครงลวดรูปตัวยูและมีเส้นลวดเล็ก ๆ อีกเส้นหนึ่งวางพาด จากนั้นนำโครงลวดจุ่มลงในน้ำสบู่ เมื่อยกโครงลวดขึ้นจะมีฟิล์มน้ำสบู่ติดขึ้นมาจากนั้นดึงเส้นลวดตรงให้เคลื่อนที่ออกไปตามโครงลวดอย่างช้า ๆ พบว่า ฟิล์มน้ำสบู่จะยืดขยายออก
ถ้าออกแรงดึงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในที่สุด เส้นลวดตรงจะหลุดจากฟิล์มน้ำสบู่ เมื่อพิจารณาขณะที่เส้นลวดพอดีหลุดจากฟิล์มน้ำสบู่ เมื่อเส้นลวดตรงเลื่อนไปเป็นระยะทำให้ผิวของฟิล์มน้ำสบู่มีพื้นที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น ความตึงผิวของของเหลวเท่ากับอัตราส่วนระหว่างงานต่อพื้นที่ผิวของเหลวที่เพิ่มขึ้น
หน่วยของความตึงผิวจึงอาจเป็น จูลต่อตารางเมตร
ค่าความตึงผิวของของเหลวแต่ละชนิดจะมีค่าไม่เท่ากัน สำหรับของเหลวชนิดหนึ่ง ค่าความตึงผิวจะเปลี่ยนไปเมื่อมีสารมาเจือปน เช่น น้ำเกลือ น้ำสบู่ จะมีความตึงผิวน้อยกว่าน้ำ และเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นความตึงผิวของของเหลวจะลดลง
ดังนั้น สารทั้งหลายประกอบด้วยโมเลกุล เมื่อนำของเหลวบรรจุในภาชนะจะเกิด แรงระหว่างโมเลกุล ซึ่งประกอบด้วยกัน 2 แบบ คือแรงระหว่างโมเลกุลของของเหลวด้วยกัน ซึ่งเป็นโมเลกุลของสารชนิดเดียวกัน เรียกแรงนี้ว่า แรงเชื่อมแน่น (cohesive force) และแรงระหว่างโมเลกุลของของเหลวกับโมเลกุลของภาชนะซึ่งเป็นแรงระหว่างโมเลกุลของสารต่างชนิดกัน เรียกแรงนี้ว่า แรงยึดติด (adhesive force)
เมื่อเราเทน้ำและปรอทลงในหลอดทดลองแยกกัน เมื่อของเหลวทั้งสองหยุดนิ่ง แรงยึดติดระหว่างโมเลกุลของน้ำกับโมเลกุลของหลอดแก้วมากกว่าแรงเชื่อมแน่นระหว่างโมเลกุลของน้ำด้วยกันเอง จึงมีผลทำให้ผิวน้ำที่สัมผัสกับผนังหลอดโค้งขึ้น แต่แรงเชื่อมแน่นระหว่างโมเลกุลของปรอทมากกว่าแรงยึดติดระหว่างโมเลกุลของปรอทกับแก้ว จึงทำให้ผิวปรอทที่สัมผัสกับผนังหลอดโค้งลงและโมเลกุลของปรอทถูกดึงห่างออกจากผนัง ดังนั้นปรอทจึงไม่เปียกผนังของหลอด
ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความตึงผิวที่พบได้อีกเช่นการที่จุ่มหลอดแก้วรูเล็ก ๆ ที่เรียกว่า หลอดรูเล็ก (capillary tube) ซึ่งปลายเปิดทั้งสองข้างลงในของเหลว เช่น น้ำและปรอท พบว่า ระดับน้ำในหลอดแก้วสูงกว่าน้ำภายนอกหลอดแก้ว ส่วนระดับปรอทในหลอดแก้วจะต่ำกว่าระดับปรอทภายนอกหลอด
แหล่งที่มา
นิรันดร์ สุวรัตน์. (2551). ฟิสิกส์ ม.5 เล่ม 1-2. กรุงเทพฯ:พัฒนาศึกษา.
ช่วง ทมทิตชงค์ และคณะ. (2537). ฟิสิกส์ 3 ม.5. กรุงเทพฯ:ไฮเอ็ดพับลิชชิ่ง.
Kaitoon. (2560). ความตึงผิว. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2562, https://dog-vs-cat.com/7-animals-that-can-walk-on-water-8-2-2019
กลับไปที่เนื้อหา
จากการศึกษาสมบัติของของเหลวพบว่า เมื่อใช้ช้อนคนของเหลวชนิดต่าง ๆ เช่น น้ำ น้ำเชื่อม น้ำมัน หรือนมข้นหวาน ปรากฏว่าการคนในของเหลวแต่ละชนิดจะต้องใช้แรงคนไม่เท่ากันเป็นเพราะสมบัติอย่างหนึ่งของของเหลวที่เรียกว่า ความหนืด (viscosity) โดยของเหลวที่มีความหนืดมากจะมีแรงต้าน การเคลื่อนที่ของวัตถุในของเหลวนั้นมาก แรงต้านการเคลื่อนที่อันเนื่องมาจากความหนืดของของเหลวนี้ เรียกว่า แรงหนืด (viscous force)
ภาพที่ 1 ความหนืดของน้ำผึ้ง
ที่มา: https://pixabay.com , stevepb
วิธีการเปรียบเทียบความหนืดของของเหลว
1. ถ้าเรานำของเหลวใส่หลอดหยด แล้วลองหยดดู จะพบว่าของเหลวที่มีความหนืดน้อยจะหยดเร็ว ส่วนของเหลวที่มีความหนืดมากจะหยดช้า
2. พิจารณาจากการคนของเหลว ถ้าของเหลวมีความหนืดมากจะคนยาก หรือรู้สึกมีแรงต้านจากการคนของเหลวมากแต่ถ้าของเหลวมีความหนืดน้อยจะคนง่ายหรือรู้สึกมีแรงต้านจากของเหลวน้อย
3. บรรจุของเหลวในหลอดฉีด แล้วออกแรงบีบ จะพบว่าของเหลวที่มีความหนืดน้อยจะพุ่งไปได้ไกลกว่าของเหลวที่มีความหนืดมาก
4. พิจารณาการปล่อยวัตถุเล็ก ๆ ให้ตกในของเหลว ถ้าของเหลวมีความหนืดน้อยวัตถุจะตกเร็ว แต่ถ้าของเหลวมีความหนืดมาก วัตถุจะตกช้า
ขณะวัตถุเคลื่อนที่ในของเหลว จะมีแรงกระทำต่อวัตถุ 3 แรงด้วยกัน คือ
1. น้ำหนักของวัตถุ (mg) ซึ่งมีค่าคงที่เสมอ
2. แรงดันของของเหลวที่กระทำต่อวัตถุ บางครั้งเรียกแรงลอยตัว ซึ่งมีค่าคงที่
3. แรงหนืด เป็นแรงต้านการเคลื่อนที่ของของเหลวที่กระทำต่อวัตถุ
ในช่วง A ไป B วัตถุเคลื่อนลงด้วยความเร่ง (a)
จาก
mg – Fหนืด – Fดัน = ma ….. (1)
ในช่วง B ไป C วัตถุจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ ซึ่งเรียกว่าความเร็วปลาย (terminal velocity)
จาก
mg – Fหนืด – Fดัน = 0 ….. (2)
จาก (1) Fหนืด = mg – Fดัน – ma .…. (3)
จาก (2) Fหนืด = mg – Fดัน .…. (4)
ดังนั้น จาก (3), (4) Fหนืด จะมีค่าต่างกัน โดยในช่วง B ไป C วัตถุตกลงมาด้วยความเร็วสูงสุด Fหนืด มีค่ามากกว่าในช่วง A ไป B ซึ่งมีความเร็วไม่มากนัก จึงพอสรุปได้ว่า แรงหนืดของของเหลวที่กระทำต่อวัตถุที่เคลื่อนที่ในของเหลวจะขึ้นอยู่กับขนาดของความเร็วในการเคลื่อนที่ของวัตถุ
กฎของสโตกส์
เมื่อปล่อยวัตถุทรงกลมตันให้เคลื่อนที่ในของเหลวความหนืด (viscosity) ของของไหลจะทำให้เกิดแรงต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุ แรงนี้เรียกว่า แรงหนืด (viscous force) จากการศึกษาของสโตกส์ (Sir George Stokes) พบว่าแรงหนืดแปรผันตรงกับความเร็วของวัตถุทรงกลมและมีค่าตามสมการต่อไปนี้
เมื่อ F คือ แรงหนืด มีหน่วยเป็น นิวตัน (N)
r คือ รัศมีของวัตถุทรงกลมตัน มีหน่วยเป็น เมตร (m)
v คือ ความเร็วของวัตถุทรงกลมตัน มีหน่วยเป็น เมตรต่อวินาที (m/s)
คือ สัมประสิทธิ์ความหนืดของของไหล มีหน่วยเป็น นิวตัน.วินาที/เมตร2 (N.s/m2)
ค่าความหนืดของของไหลบางชนิด ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส
สารที่มีสถานะเป็นของเหลว เช่น
กลีเซอรอล มีความหนืดเท่ากับ 1412 x 10-3 N.s/m2
น้ำมันลินซีด มีความหนืดเท่ากับ 986 x 10-3 N.s/m2
น้ำมันมะกอก มีความหนืดเท่ากับ 84 x 10-3 N.s/m2
กรดซัลฟิวริก มีความหนืดเท่ากับ 22 x 10-3 N.s/m2
เอทิลแอลกอฮอล์ มีความหนืดเท่ากับ 1.192 x 10-3 N.s/m2
น้ำ มีความหนืดเท่ากับ 1.005 x 10-3 N.s/m2
เบนซิน มีความหนืดเท่ากับ 0.649 x 10-3 N.s/m2
น้ำมันละหุ่ง มีความหนืดเท่ากับ 0.234 x 10-3 N.s/m2
สารที่มีสถานะเป็นแก๊ส เช่น
ออกซิเจน มีความหนืดเท่ากับ 20.9 x 10-6 N.s/m2
ฮีเลียม มีความหนืดเท่ากับ 18.9 x 10-6 N.s/m2
อากาศ มีความหนืดเท่ากับ 18.08 x 10-6 N.s/m2
คาร์บอนมอนอกไซด์ มีความหนืดเท่ากับ 18.4 x 10-6 N.s/m2
คาร์บอนไดออกไซด์ มีความหนืดเท่ากับ 16.0 x 10-6 N.s/m2
คลอรีน มีความหนืดเท่ากับ 14.7 x 10-6 N.s/m2
มีเทน มีความหนืดเท่ากับ 12.0 x 10-6 N.s/m2
ไฮโดรเจน มีความหนืดเท่ากับ 9.5 x 10-6 N.s/m2
ตารางที่ 1 ความหนืดของของไหลกับอุณหภูมิต่าง ๆ
จากตารางจะพบว่าความหนืดของแก๊สเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นและความหนืดของของเหลวจะลดลงเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น
สรุปเกี่ยวกับความหนืด
1. แรงหนืดขึ้นกับความเร็วของวัตถุที่เคลื่อนที่ในของไหล และขึ้นกับสัมประสิทธิ์ความหนืด
2. ของเหลวความหนืดสูงจะเคลื่อนที่ได้ช้ากว่าความหนืดต่ำ
3. สำหรับของเหลว ความหนืดจะมากถ้าอุณหภูมิต่ำ และความหนืดจะน้อยถ้าอุณหภูมิสูง
4. สำหรับอากาศ ความหนืดจะมากถ้าอุณหภูมิต่ำ และความหนืดจะน้อยถ้าอุณหภูมิสูง
5. สำหรับอากาศ ความหนืดจะมากถ้าอุณหภูมิสูง และความหนืดจะน้อยถ้าอุณหภูมิต่ำ
6. ความหนืดของหล่อลื่นบอกได้ด้วยตัวเลข SAE (เอสเออี) ความหนืดมาก ตัวเลข SAE มาก, ความหนืดน้อย ตัวเลข SAE น้อย
ตัวอย่างที่ 1 เมื่อหยดน้ำหมึกลงในของเหลวชนิดหนึ่ง ข้อใดเป็นสาเหตุที่ทำให้หยดน้ำหมึกมีรูปร่างเป็นทรงกลม จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
A. ความดันของของเหลวมีค่าไม่มากนัก
B. อุณหภูมิสูง แรงดึงผิวจึงมีค่ามาก
C. แรงดึงผิวช่วยยึดผิวของของเหลวไว้
D. ของเหลวมีความหนาแน่นมาก
ข้อใดถูกต้อง
1. ข้อ A เท่านั้น 2. ข้อ A, C เท่านั้น
3. ข้อ B, C เท่านั้น 4. ข้อ C, D เท่านั้น
เฉลย ข้อที่ถูกต้อง คือข้อ 4
ตัวอย่างที่ 2 เมื่อทดลองหย่อนลูกกลมโลหะเล็ก ๆ ก้อนหนึ่งลงในของเหลวต่างชนิดกัน จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้ข้อใดถูกต้อง
1. ความเร็วสุดท้ายของลูกกลมโลหะในของเหลวทุกชนิดมีค่าเท่ากันหมด
2. ความเร็วสุดท้ายของลูกกลมโลหะในของเหลวที่มีความหนืดสูงมีค่าน้อย
3. ความเร็วสุดท้ายของลูกกลมโลหะแปรผันตรงกับความหนืดของของเหลว
4. ความเร็วสุดท้ายของลูกกลมโลหะในของเหลวที่มีความหนืดสูงมีค่ามาก
เฉลย ข้อที่ถูกต้องคือข้อ 2
แหล่งที่มา
คณาจารย์แม็ค. (2551). ฟิสิกส์ ม.5. กรุงเทพฯ:แม็ค.
นิรันดร์ สุวรัตน์. (2551). ฟิสิกส์ ม.5 เล่ม 1-2. กรุงเทพฯ:พัฒนาศึกษา.
A2B Food. (2560). ความหนืด. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2562, จาก http://a2bfood.com/author/admin/
กลับไปที่เนื้อหา
หลักของแบร์นูลลี กล่าวถึงของไหลในอุดมคติ มีข้อกำหนดดังนี้คือ
1. ของไหลมีการไหลอย่างสม่ำเสมอ ทุกอนุภาคเมื่อเคลื่อนที่ผ่านจุดเดียวกัน จะมีความเร็วเท่ากันเมื่อเคลื่อนที่ผ่านจุดต่างกันจะมีความเร็วเท่ากันหรือต่างกันก็ได้
2. อนุภาคของของไหลเคลื่อนที่โดยไม่หมุน
3. ของไหลเคลื่อนที่ไปโดยไม่มีแรงต้านเนื่องจากความหนืด
4. ของไหลไม่สามารถอัดได้ ไม่ว่าจะไหลผ่านบริเวณใดความหนาแน่นไม่เปลี่ยนแปลง
รูปที่ 1 เครื่องมือ เวนจูรี
ที่มา: http://www.rmutphysics.com/charud/oldnews/0/286/15/9/Fluid/fluiddynamic.htm
ของไหลอุดมคติ เป็นของไหลที่อัดตัวไม่ได้และไม่มีความหนืด มีการไหลสม่ำเสมอ อนุภาคของของไหลแต่ละอนุภาคจะมีเส้นทางการไหลที่แน่นอน ไม่ตัดกัน เรียกว่า สายกระแส (streamline)
ในของไหลที่ไหลอย่างสม่ำเสมอ อนุภาคหนึ่ง ๆ ของของไหลจะเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางเดินเส้นหนึ่งเรียกว่า เส้นกระแส (streamline) โดยความเร็วของอนุภาคที่ตำแหน่งต่าง ๆ มีทิศในแนวเส้นสัมผัส ณ ตำแหน่ง ดังรูป (a) และเส้นกระแสของอนุภาคแต่ละเส้นจะไม่ตัดกัน ถ้าเส้นกระแสจำนวนหนึ่งอยู่เรียงกันเป็นมัด ดังรูป (b) จะเรียกมัดของเส้นกระแสนี้ว่า หลอดการไหล (tube of flow) หลอดการไหลนี้จึงเปรียบเสมือนท่อที่มีของไหลไหลเข้าทางปลายข้างหนึ่งและไหลออกอีกข้างหนึ่ง
รูปที่ 2 แสดงการไหลในหลอดการไหล
ที่มา: http://theerachot.yolasite.com/
สมการความต่อเนื่อง (The equation of continuity)
สมการความต่อเนื่องเป็นสมการที่ใช้ศึกษาการไหลของของไหลภายในท่อ การไหลของของไหลในท่อที่มีขนาดสม่ำเสมอไหลจากปลาย [2] ซึ่งมีพื้นที่หน้าตัด A2 ไปยังปลาย [1] ซึ่งมีพื้นที่หน้าตัด A1 ดังรูป
รูปที่ 3 แสดงการไหลอย่างต่อเนื่องของของไหล
ที่มา: http://theerachot.yolasite.com/
m1=m2
จะได้ว่า A1V1 = A2V2
แต่ , t เท่ากัน Av คือ อัตราการไหล หน่วยเป็นลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
พลังงานรวมของของเหลว และทฤษฎีบทของเบอร์นูลลี
การเคลื่อนที่ของของไหลพิจารณาได้จากพลังงานต่าง ๆ ของของไหลนั้น การพิจารณาเกี่ยวกับพลังงานของวัตถุไม่ว่าวัตถุนั้นจะอยู่ในสภาวะเช่นใด อาจมีพลังงานหลายอย่างแต่ผลบวกของพลังงานเหล่านี้จะมีค่าคงตัวเสมอ
1. พลังงานศักย์ ถ้าของเหลวอยู่สูงจากระดับสมมติอันหนึ่ง
พลังงานศักย์ = mgh
พลังงานศักย์ต่อมวลสารของของเหลว = mgh/m = gh
2. พลังงานความดัน เราสามารถหาค่าพลังงานนี้โดยการพิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพของ พลังงานศักย์มาเป็นพลังงานชนิดนี้
ความดันของของเหลว = (ความหนาแน่น)(ค่าความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วง)(ความสูง)
3. พลังงานจลน์ ถ้าของเหลวเคลื่อนที่อยู่ด้วยความเร็ว พลังงานจลน์ของมวลสาร = 1/2 mv2
ดังนั้น พลังงานจลน์ต่อมวลสาร = (1/2mv2)/m = v2/2
ตัวอย่าง 1 เม็ดเลือดไหลด้วยอัตราเร็ว 8 เซนติเมตรต่อวินาที ในเส้นเลือดใหญ่มีรัศมี 0.6เซนติเมตร ไปสู่เส้นเลือดขนาดเล็กลง และมีรัศมี 0.3 เซนติเมตร อัตราเร็วของเม็ดเลือดในเส้นเลือดเล็กเป็นกี่เซนติเมตรต่อวินาที
วิธีทำ จาก Av = ค่าคงตัว
จะได้ A1v1 = A2v2
(22/7)(0.6 cm)(0.6 cm)(8 cm/s) = (22/7)(0.3 cm)(0.3 cm)v2
v2 = 32 cm/s
ตอบ อัตราเร็วของเม็ดเลือดในเส้นเลือดเล็กเป็น 32 เซนติเมตรต่อวินาที
สมการของแบร์นูลลี
พิจารณาหลอดการไหลที่มีระดับต่างกัน และมีพื้นที่หน้าตัดไม่เท่ากัน
รูปที่ 4 หลอดการไหลที่มีระดับต่างกัน
ที่มา : http://theerachot.yolasite.com/
แรงดันที่ท่อด้านล่าง แรงดันที่ท่อด้านบน และแรงโน้มถ่วง แรงทั้งหมดจะทำให้เกิดงานเนื่องจากของไหล จากทฤษฎีของงาน – พลังงานงานทั้งหมดที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของของไหลส่วนเล็ก ๆ ที่พิจารณา จะมีค่าเท่ากับการเปลี่ยนแปลงพลังงานจลน์ของมวลที่เคลื่อนที่
F1d1 – F2d2 –mg(h2 – h1) = 1/2mv22 -1/2mv12
จากนิยามของความดันและความหนาแน่น
เมื่อปริมาตรของไหลส่วนที่เคลื่อนที่ในท่อล่างกับท่อบนมีค่าเท่ากัน
สมการที่ได้เรียกว่าสมการแบร์นูลลี นั่นคือ
= ค่าคงที่
ตัวอย่างที่ 2 ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับหลักการของแบร์นูลลี
1. ของไหลเคลื่อนที่โดยไม่มีการหมุน
2. ของไหลมีการเคลื่อนที่โดยไม่มีแรงต้านในของไหล
3. ของไหลเคลื่อนที่โดยมีความหนาแน่นคงตัว
4. ของไหลมีความดันเพิ่มขึ้นเมื่อมีอัตราเร็วเพิ่มขึ้น
เฉลย ข้อที่ถูกต้อง คือ ข้อ 4
ตัวอย่างที่ 3 จากข้อมูลต่อไปนี้
A. อัตราการไหลของน้ำจะเพิ่มขึ้นเมื่อพื้นที่หน้าตัดของหลอดการไหลลดลง
B. เมื่อพื้นที่หน้าตัดของหลอดการไหลเพิ่มขึ้นความดันของของไหลจะลดลง
C. ความเร็วของน้ำที่ไหลผ่านท่อที่มีขนาดเล็กลงจะเร็วขึ้น
D. สมการความต่อเนื่องบอกให้ทราบถึงอัตราของมวลที่ไหล
ข้อใดที่ถูกต้อง
1. ข้อ A, B, C และ D 2. ข้อ A, B และ C
3. ข้อ A และ C 4. ข้อ C และ D
เฉลยข้อที่ถูกต้องคือข้อ 4
ตัวอย่างที่ 4 จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้ข้อใดถูกต้อง
1. พื้นที่หน้าตัดของท่อลดลง อัตราเร็วของไหลเพิ่มขึ้น ความดันในของไหลลดลง
2. พื้นที่หน้าตัดของท่อลดลง อัตราเร็วของไหลลดลง ความดันในของไหลลดลง
3. พื้นที่หน้าตัดของท่อเพิ่มขึ้น อัตราเร็วของไหลลดลง ความดันในของไหลลดลง
4. พื้นที่หน้าตัดของท่อเพิ่มขึ้น อัตราเร็วของไหลเพิ่มขึ้น ความดันในของไหลลดลง
เฉลยข้อที่ถูกต้อง คือ ข้อ 1
ตัวอย่างที่ 5 จากการไหลของของไหลในอุดมคติและหลักการของแบร์นูลลี พบว่าถ้าที่บริเวณใดมีอัตราเร็วของของไหลเพิ่มขึ้น แสดงว่า
A. พื้นที่บริเวณนั้นมีขนาดเล็กลง B. พื้นที่บริเวณนั้นมีขนาดเพิ่มขึ้น
C. ความดันของของไหลลดลง D. ความดันของของไหลเพิ่มขึ้น
คำกล่าวที่ถูกต้องคือข้อใด
1. ข้อ A และ C 2. ข้อ A และ D
3. ข้อ B และ C 4. ข้อ B และ D
เฉลยข้อที่ 1
แหล่งที่มา
ช่วง ทมทิตชงค์ และคณะ. (2537). ฟิสิกส์ 3 ม.5. กรุงเทพฯ:ไฮเอ็ดพับลิชชิ่ง.
ภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. (มมป.). พลศาสตร์ของไหล. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2562, http://www.rmutphysics.com/charud/oldnews/0/286/15/9/Fluid/fluiddynamic.htm
กลับไปที่เนื้อหา
-
11003 ของไหล /lesson-physics/item/11003-2019-10-29-01-46-52เพิ่มในรายการโปรด