อาณาจักรสัตว์ (Animal Kingdom) - บทนำ
Animal are multicellular, heterotrophic eukaryote with tissues that develop from embryonic layers. (Campbell, 2011)
Multicellular--> สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรสัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์
Heterotrophic eukaryote--> ร่างกายของสัตว์ประกอบด้วยเซลล์แบบยูคาริโอต และ ส่วนใหญ่ดำรงชีวิตเป็นผู้บริโภค ซึ่งทำให้สัตว์มีความแตกต่างจากพืช ซึ่งเป็น Autotrophic eukaryote
ทฤษฎีEndosymbiosis
(อ่านเพิ่มเติมที่ http://www.scimath.org/index.php/socialnetwork/groups/viewbulletin/202-%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%A1+2+%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99?groupid=31)
Tissues developed from embryonic layers
--> เซลล์สัตว์มีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากเซลล์พืช และเชื้อรา คือ เซลล์สัตว์ไม่มีผนังเซลล์ (Cell wall) แต่เซลล์สัตว์มีโปรตีนเป็นตัวเชีอมระหว่างเซลล์ ส่วนใหญ่คือ โปรตีนคอลลาเจน (Collagen)
--> สัตว์มีเซลล์ 2 ชนิดที่ไม่พบในสิ่งมีชีวิตอื่น คือ เซลล์กล้ามเนื้อ และเซลล์ประสาท
--> เนื้อเยื่อ คือ กลุ่มเซลล์ที่มีโครงสร้าง และ/หรือ หน้าที่ เหมือนกัน กลุ่มที่ไม่มีเนื้อเยื่อแท้จริง เรียกว่า Parazoa และกลุ่มที่มีเนื้อเยื่อแท้จริง เรียกว่า Eumetazoa
--> เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อประสาท ทำให้สัตว์มีการตอบสนองที่ชัดเจน มีการเคลื่อนที่
--> เมื่อเสปิร์มปฏิสนธิกับไข่ ได้ไซโกต (Zygote) ซึ่งจะมีการพัฒนาต่อไปเป็นเอมบริโอ (Embryo) ผ่านระยะต่างๆ ดังนี้ Clevage, Blastulation, Gastrulation ตามลำดับ
--> การเปลี่ยนแปลงของ Blastoporeแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ Protostomia (Blastopore เปลี่ยนเป็นช่องปาก) และ Deuterostomia (Blastopore เปลี่ยนเป็นทวารหนัก)
--> หลังจากการพัฒนาของเอมบริโอ จนเนื้อเยื่อถูกแบ่งเป็นชั้น Ectoderm, mesoderm และ Endodermโดยจะเกิดช่องว่างระหว่างลำตัวกับอวัยวะภายใน โดยสามารถแบ่งสัตว์ได้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ไม่มีช่องว่างลำตัว (Acoelomate), กลุ่มช่องว่างลำตัวเทียม (Pseudocoelomate) และกลุ่มที่มีช่องว่างลำตัวแท้จริง (Coelomate)
--> สมมาตรร่างกายของสัตว์ (Symmetry)แบ่งเป็น กลุ่มที่ไม่มีสมมาตร (Asymmetry) กลุ่มที่มีสมมาตรร่างกายแบบรัศมี (Radial symmetry) และกลุ่มที่มีสมมาตรด้านข้าง (Bilateral symmetry)
--> รูปแบบการเจริญในระยะตัวอ่อน ของสัตว์ในกลุ่ม Protostomiaจำแนกเป็น ระยะตัวอ่อนแบบโทรโคฟอร์ (Trochophore larva) และกลุ่มที่มีการลอกคราบในขณะเจริญเติบโต
สรุปการวิวัฒนาการของสัตว์
กลับไปที่เนื้อหา
หลักเกณฑ์ที่ใช้จัดจำแนกสัตว์ออกเป็นกลุ่ม คือ
1. การมีหรือไม่มีเนื้อเยื่อที่แท้จริง (Parazoa / Eumetazoa)
2. สมมาตรของร่างกาย (Bilateral symmetry / Redial symmetry)
3. ช่องว่างลำตัว (Acoemate / Pseudocoelomate / Coelomate)
4. การเปลี่ยนแปลงของ Blastopore (Protostome / Deuterostome)
5. การเจริญในระยะตัวอ่อน (Lophotrochozoa / Ecdysozoa)
สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง (Invertebrate)
สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง (Invertebrate) หมายถึงสัตว์ที่ไม่มีแท่งกระดูกสันหลังและเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูก (bone) หรือกระดูกอ่อน (Cartilage) มีการปรับตัวและรูปร่างที่หลากหลาย พบในสภาพแวดล้อมทุกรูปแบบ (ทะเล, น้ำจืด, บนบก, ปล่องภูเขาไฟใต้ทะเลลึก, โขดหิน, พื้นที่หนาวจัด)(บพิธ, 2545)
กลับไปที่เนื้อหา
ลักษณะสำคัญ
- เป็นสัตว์ที่โบราณที่สุด ไม่มีเนื้อเยื่อที่แท้จริง ไม่มีอวัยวะ การประสานงานระหว่างเซลล์มีน้อยมาก มีวิวัฒนาการสูงกว่า Protozoa ที่เป็นโคโลนี แต่ยังไม่เป็น Metazoa ที่แท้จริง
- ลักษณะรูปร่างเป็นก้อน ท่อ คล้ายโอ่ง หรือรูปร่างแบบแจกัน มีรูพรุนขนาดเล็กทั่วลำตัวสำหรับเป็นช่องให้น้ำเข้า (Ostia) และช่องขนาดใหญ่สำหรับน้ำออก (Osculum)
- รูปร่างของฟองน้ำคล้ายจะมีสมมาตรแบบรัศมี (Radial symmetry) แต่ตำแหน่งของรูและทางผ่านของน้ำทำให้ไม่เป็นสมมาตรแบบรัศมีอย่างสมบูรณ์ ฟองน้ำส่วนใหญ่เจริญแผ่คลุมวัตถุที่เกาะ หรือแตกแขนง จึงไม่มีสมมาตร (Asymmetry)
- ฟองน้ำมีโครงร่าง (Spicules) แทรกอยู่ในลำตัว มีทั้งหินปูน ซิลลิกา แต่บางชนิดมีเส้นใยโปรตีน (Sponging fiber) เป็นโครงร่าง
- ดำรงชีวิตอิสระ โดยกรองกินอาหารจากน้ำ (Suspension feeder) ที่ผ่านเข้าสู่ช่องว่างกลางลำตัว (Spongocoel) โดยมีเซลล์ปลอกคอ (Colla cell) หรือ Choanocyte และ Amoebocyte ทำหน้าที่จับและย่อยอาหาร
- ฟองน้ำมีการสืบพันธุ์ทั้งแบบอาศัยเพศ ส่วนใหญ่มีสองเพศในตัวเดียว (Hermaphrodite) ไซโกตจะพัฒนาเป็นตัวอ่อนล่องลอยในน้ำ เมื่อมีพื้นที่ลงเกาะที่เหมาะสมก็จะพัฒนาเป็นฟองน้ำตัวเต็มวัย ส่วนการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยการแตกหน่อ (Budding), หักเป็นท่อน (Fragmentation), การสร้างเจมมูล (Gemmule) ซึ่งทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม
ฟองน้ำ จำแนกได้เป็น 4 class ดังนี้
1.Class Calcarea -ฟองน้ำหินปูน
2.Class Hexactinellida -ฟองน้ำแก้ว โครงร่างเป็นซิลิกา
3.Class Demospongiae -ฟองน้ำถูตัว ฟองน้ำน้ำจืด โครงร่างเป็นซิลิกา โปรตีน หรือโปรตีนรวมกับซิลิกา
4.Class Sclerospongiae -พบเกาะตามแนวปะการังทั่วไป
กลับไปที่เนื้อหา
ลักษณะสำคัญ
- รูปแบบพื้นฐานของรูปร่างมี 2 แบบ คือ โพลิป (Polyp) และ เมดูซา (Medusa)
- มีเนื้อเยื่อ 2 ชั้น ประกอบด้วย เนื้อเยื่อบุผิว (Epithelia) หรือ Epidermis ปกคลุมด้านนอกของลำตัว และชั้นของเนื้อเยื่อที่บุภายในโพรงลำตัว คือ Gastrodermis ระหว่าง Epidermis กับ Gastrodermis เป็นชั้นที่มีลักษณะคล้ายวุ้นหรือเจล เรียกว่า Mesoglea ซึ่งเป็นสารพวก Mucopolysaccharide และ Collagen
- ไม่มีระบบอวัยวะที่ชัดเจน มีช่องว่างลำตัว เรียกว่า Gastrovascular cavity ทำหน้าที่เป็นทางเดินอาหาร โดยเป็นสัตว์กลุ่มที่มีทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์ มี Tentacle รอบปาก โดยบริเวณปลายจะมี Cnidrocyte ซึ่งภายในบรรจุเข็มพิษ (Nematocyst) ทำหน้าที่จับเหยื่อหรือป้องกันตัว มีการย่อยอาหารทั้งภายในและภายนอกเซลล์
- มีสมมาตรแบบรัศมี (Radial symmetry) หรือ รัศมีสองระนาบ (Biradial symmetry)
5. รับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าโดยการทำงานของระบบประสาทแบบร่างแห หรือ ตาข่ายประสาท (Nerve net)
6. สัตว์ในไฟลัมไนดาเรีย สืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ
7.ไฟลัมไนดาเรีย แบ่งเป็น 4 class ดังนี้
กลับไปที่เนื้อหา
ลักษณะสำคัญ
- มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น (Ectoderm, Mesoderm, Endoderm) ไม่มีช่องว่างระหว่างอวัยวะภายในกับลำตัว (Acoelomate) ลำตัวแบนตามแนวบนลงล่าง เรียกทั่วไปว่า หนอนตัวแบน (Flat worm)
- มีทางเดินอาหารแบบไม่สมบูรณ์ ขับถ่ายของเสียโดยใช้ Flame cell ระบบประสาทมีปมประสาทคล้ายสมอง และเส้นประสาทตามยาวออกจากสมอง
3. หนอนตัวแบนบางชนิดดำรงชีวิตอิสระ (Free living) เช่น พลานาเรีย (Planaria) สืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศโดยการผสมข้ามตัว และแบบไม่อาศัยเพศโดยการงอกใหม่ (Regeneration) ส่วนหนอนตัวแบนที่ดำรงชีวิตแบบปรสิต (Parasite) เช่น พยาธิตัวตืด พยาธิใบไม้ กลุ่มนี้จะมีคิวทิเคิล (Cuticle) บริเวณผิว สืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ
4. มีสมมาตรแบบซ้ายขวา (Bilateral symmetry)
5. ไฟลัมเพลททีเฮลมินทิส แบ่งออกเป็น 3 Class ดังนี้
-Class Tubellaria
-Class Trematoda
-Class Cestoda
กลับไปที่เนื้อหา
ไฟลัมมอลลัสคา (Phylum Mallusca)
ลักษณะสำคัญ
- เป็นสัตว์กลุ่มที่มีลำตัวอ่อนนุ่ม มีเนื้อเยื่อแมนเทิล (Mantle) ทำหน้าที่สร้างเปลือกแข็งจากแคลเซียมคาร์บอเน็ตหุ้มลำตัว
- มีทางเดินอาหารสมบูรณ์ ระบบหมุนเวียนเลือดแบบเปิด แลกเปลี่ยนแก๊สโดยใช้เหงือกหรือปอด มีระบบประสาท ขับถ่ายโดยใช้ Metanephridium
- มีเพศแยก (Dioecious) มีการปฏิสนธิภายนอกและภายใน
- ไฟลัมมอลลัสคา แบ่งได้เป็น 5 Class ดังนี้
Class Bivalvia --> หอยสองฝา เช่น หอยแครง หอยแมลงภู่ หอยหลอด หอยมือเสือ
Class Gastropoda --> หอยฝาเดียว เช่น หอยขม หอยทาก หอยเต้าปูน หอยเชอรี่
Class Polyplacophora --> ลิ่นทะเล มีพบอาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลบริเวณน้ำขึ้น น้ำลง
Class Scaphopoda --> รูปร่างเป็นหลอด ฝังอยู่ในโคลนหรือทราย เช่น หอยงาช้าง
Class Cephalopoda -->ลำตัวยาว เท้าพัฒนาเป็น Tentacle มีระบบประสาทเจริญดี เช่น หอยงวงช้าง หมึก
Phylum Mollosca
ลักษณะสำคัญ
- มีช่องว่างลำตัวแท้จริง (Coelomate) มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น ลำตัวแบ่งเป็นปล้องชัดเจน (Segmented worm) แต่ละปล้องมีเดือย (Setae) หรือ แผ่นขา (Parapodium)
- ผิวหนังมี Cuticle และต่อมสร้างเมือก ทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นเพื่อการแลกเปลี่ยนแก๊ส ระบบหมุนเวียนเลือดแบบปิด เลือดมีฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) อยู่ในน้ำเลือด
- มีกล้ามเนื้อและระบบประสาทเจริญดี
- ขับถ่ายโดยใช้ Nephridium (ปล้องละ 1 คู่)
- สืบพันธุ์แบบผสมข้ามตัว
- ไฟลัมแอนนิลิลา แบ่งได้เป็น 3 Class ดังนี้
Class Polychaeta หรือไส้เดือนทะเลลักษณะที่เด่น คือ การมีซีตี้ (setae) ในแต่ละปล้องเป็นจำนวนมาก
Class Oligochaeta คือ กลุ่มไส้เดือนดิน(Earthworm)มีลักษณะลำตัวเป็นข้อปล้องมี 2 เพศในตัวเดียวกัน สืบพันธุ์ทั้งอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ
Class Hirudinea คือ กลุ่มของปลิง(Aquatic Leech) และทากดูดเลือด(Land Leech)ลักษณะลำตัวเป็นข้อปล้องและยืดหยุ่น ชอบอยู่ในน้ำนิ่งตามหนอง และอยู่ตามพื้นที่ชื้นแฉะเช่นบริเวณป่าดงดิบเขตร้อน ดำรงชีพโดยการดูดเลือดสัตว์อื่นเป็นอาหาร
กลับไปที่เนื้อหา
ไฟลัมนีมาโทดา (Phylum Nematoda)
ลักษณะสำคัญ
- มีเฉพาะกล้ามเนื้อตามยาว ลักษณะลำตัวแหลมหัวแหลมท้าย ไม่มีข้อ ปล้อง ไม่มีรยางค์ เรียกว่าหนอนตัวกลม (Round worm) ผิวมีชั้น Cuticle ตัวอ่อนมีการลอกคราบระหว่างการเจริญเติบโต
- หนอนตัวกลมมีทางเดินอาหารสมบูรณ์ มีต่อเรเนตต์ (Renete gland) ทำหน้าที่นำของเสียออกจากร่างกาย ไม่มีอวัยวะหายใจ ไม่มีระบบหมุนเวียนเลือด
- มีช่องว่างลำตัวเทียม (Pseudopodium)
- เพศแยก เพศผู้ขนาดเล็กกว่าเพศเมีย ไข่มีขนาดใหญ่หุ้มด้วยสารไคทิน ปฏิสนธิภายในร่างกาย (Internal fertilization)
- พบอาศัยในแหล่งน้ำจืด น้ำเค็ม พื้นดินแฉะ มีทั้งดำรงชีวิตอิสระ และเป็นปรสิต เช่น หนอนน้ำส้ม พยาธิแส้ม้า พยาธิปากขอ พยาธิเส้นด้าย
กลับไปที่เนื้อหา
ไฟลัมอาร์โทรโพดา (Phylum Arthropoda)
ลักษณะสำคัญ
- มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น ลำตัวตัวแบ่งเป็นส่วนหัว (Head) อก (Thorax) และท้อง (Abdomen) มีรยางค์เป็นข้อ (สัตว์ขาข้อ) ลำตัวมีโครงร่างแข็งภายนอก (Exoskeleton) เป็นสารพวกไคทิน (Chitin) และโปรตีน
- ขณะเจริญเติบโตมีการลอกคราบ (Molting)
- ระบบหมุนเวียนเลือดแบบเปิด ไม่มีหลอดเลือดฝอย (Capillary) มีแอ่งเลือด (Haemocoel)
- มีทางเดินอาหารสมบูรณ์
- อวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊สมีหลายรูปแบบ เช่น พวกที่อาศัยบนบกใช้ระบบท่อลม (Tracheae) หรือ ปอดแผง (Book lungs) พวกที่อาศัยในน้ำใช้เหงือก (Gill)
- ขับถ่ายของเสียโดยใช้ท่อมัลพิเกียล (Malpighian tube) และต่อมเขียว (Green gland)
- แยกเพศ ปฏิสนธิภายใน
- ระบบประสาทและอวัยวะภายในเจริญดี
- เป็นสัตว์กลุ่มที่มีความหลากหลายมากที่สุด พบทั้งบนบกและในน้ำ แบ่งได้เป็น 6 Class ดังนี้
Class Merostomata --> อาศัยอยู่ในทะเล ได้แก่ แมงดาทะเล ส่วนหัวและอกเชื่อมกัน (Cephalothorax) มีขาเดิน 5 คู่ รยางค์คู่แรกช่วยกินอาหาร แลกเปลี่ยนแก๊สใช้ Book gill
Class Arachnida --> ส่วนหัวและอกเชื่อมกัน (Cephalothorax) มีรยางค์ 6 คู่ มีขาเดิน 4 คู่ รยางค์คู่ที่ 1 และ 2 ใช้จับอาหารและรับความรู้สึก แลกเปลี่ยนแก๊สใช้ book lung ขับถ่ายโดย Malpighian tube เพศแยก ปล้องสุดท้ายของแมงมุมและแมงป่อง เปลี่ยนแปลงเพื่อทำหน้าที่เฉพาะ อาศัยอยู่บนบก
Class Diplopoda --> คือกลุ่มของ กิ้งกือ (Millipede) ส่วนหัวมีหนวด 1 คู่ ลำตัวมีรยางค์ปล้องละ 1 คู่ แลกเปลี่ยนแก๊สใช้ท่อลม ไม่มี Metamorphosis เพศแยก ปฏิสนธิภายใน
Class Chilopoda --> คือกลุ่มของตะขาบ (Centipede) มีหนวด 1 คู่ ลำตัวแบน มีรยางค์ปล้องละ 1 คู่ มีเขี้ยวพิษ 1 คู่ แลกเปลี่ยนแก๊สใช้ท่อลม เพศแยก ปฏิสนธิภายในร่างกาย ไม่มี Metamorphosis
Class Insecta --> กลุ่มของแมลง ส่วนหัว อก และท้อง แยกกันชัดเจน มีหนวด 1 คู่ ขาเดิน 3 คู่ (อยู่ที่ส่วนอก) แลกเปลี่ยนแก๊สใช้ท่อลม ส่วนใหญ่มี Metamorphosis
Class Crustacea --> กลุ่มของ กุ้ง กั้ง ปู เพรียงหิน พบทั้งในทะเล น้ำจืด น้ำกร่อย มีส่วนหัวเชื่อมกับส่วนอก หนวด 2 คู่ ขาเดิน 5 คู่ ส่วนท้องมีรยางค์ว่ายน้ำ หรือเป็นที่เกาะของไข่ แลกเปลี่ยนแก๊สโดยใช้เหงือก มี Metamorphosis
กลับไปที่เนื้อหา
ไฟลัมเอคไคโนเดอมาตา (Phylum Echinodermata)
ลักษณะสำคัญ
- มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น โครงร่างภายในประกอบด้วยแผ่นหินปูนขนาดเล็ก (Calcareous ossicles) ผิวหยาบ ขรุขระ มีหนาม (Spiny-skinned animals)
- ตัวอ่อนสมมาตรด้านข้าง ตัวเต็มวัยสมมาตรแบบรัศมี มี 5 แขน (Pentamerous) หรือทวีคูณของ 5
- ปากติดกับพื้น ทวารหนักอยู่ด้านตรงข้าม
- มี Tube feet ช่วยในการเคลื่อนที่และจับอาหาร
- ระบบหมุนเวียนเลือดแบบปิด ระบบประสาทเจริญไม่ดี
- สืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศ ปฏิสนธิภายนอกร่างกาย (External fertilization) และไม่อาศัยเพศ (Regeneration) มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างจากตัวอ่อนเป็นตัวเต็มวัย
- พบในทะเลเท่านั้น แบ่งเป็น 5 Class ดังนี้
กลับไปที่เนื้อหา