logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Book
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Book
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • ระบบการเรียนรู้ร่วมกัน
  • ระบบสำนักพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
Login
Login / Register
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
ค้นหา
    

ค้นหาบทเรียน

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทเรียนทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทเรียน
  • เคมี
  • สารและการจำแนก

สารและการจำแนก

โดย :
อนุสิษฐ์ เกื้อกูล
เมื่อ :
วันจันทร์, 26 กุมภาพันธ์ 2561
Hits
661
  • 1. Introduction
  • 2. ระบบและการเปลี่ยนแปลงของสาร
  • 3. พลังงานกับการละลายในการละลายและการเกิดปฏิกิริยาเคมี
  • - All pages -

ความหมายของสสารและสารและการเปลี่ยนแปลง

 ความหมายของสสารและสาร

          - สสาร (matter ) คือ สิ่งที่มีมวล ต้องการที่อยู่และสามารถสัมผัสได้ หรืออาจหมายถึงสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเรา มีตัวตน ต้องการที่อยู่ สัมผัสได้ อาจมองเห็นหรือมองไม่เห็นก็ได้ เช่น อากาศ หิน เป็นต้น นักวิทยาศาสตร์เรียกสสารที่รู้จักว่า สาร

          - สาร (substance ) คือ สสารที่ศึกษาค้นคว้าจนทราบสมบัติและองค์ประกอบที่แน่นอน

 

          - สมบัติของสาร หมายถึง ลักษณะเฉพาะตัวของสาร เช่น เนื้อสาร สี กลิ่น รส การนำไฟฟ้า การละลายน้ำ จุดเดือด จุดหลอมเหลว ความเป็นกรด–เบส เป็นต้น แบ่งสมบัติของสารออกเป็น 2 ประเภท คือ

          1) สมบัติทางกายภาพ หรือสมบัติทางฟิสิกส์ ( physical properties ) หมายถึง สมบัติของสารที่สามารถสังเกตได้จากลักษณะภายนอก หรือจากการทดลองที่ไม่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาเคมี เข่น สถานะ เนื้อสาร สี กลิ่น รส ความหนาแน่น จุดเดือด จุดหลอมเหลว การนำไฟฟ้า การละลายน้ำ ความแข็ง ความเหนียว เป็นต้น

          2) สมบัติทางเคมี ( chemical properties ) หมายถึง สมบัติที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมีและองค์ประกอบทางเคมีของสาร เช่น การติดไฟ การผุกร่อน การทำปฏิกิริยากับน้ำ การทำปฏิกิริยากับกรด – เบส เป็นต้น

          - การเปลี่ยนแปลงของสสาร สามารถแบ่งการเปลี่ยนแปลงออกได้เป็นสอง ประเภท คือ การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ (Physical Change) และการเปลี่ยนแปลงทางเคมี (Chemical Change)

          1) การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่สามารถสังเกตได้โดย ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบภายในของสสาร แต่เกิดการจัดเรียงตัวของอนุภาคใหม่เท่านั้น ดังรูปที่ 1 การเปลี่ยนสถานะของน้ำ โดยเมื่อน้ำแข็งได้รับความร้อนจะหลอมเหลวกลายเป็นน้ำในรูปของเหลว และเมื่อได้รับความร้อนต่อไปอีกสามารถเปลี่ยนเป็นไอน้ำได้ โดย ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบภายในของน้ำแต่อย่างใด

          2) การเปลี่ยนแปลงทางเคมี เป็นการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบภายในของสสาร เกิดเป็นสารใหม่ขึ้นมา ทั้งนี้เพราะมีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นนั่นเอง การเปลี่ยนแปลงทางเคมี ได้แก่ การเผาไหม้ การย่อยอาหาร การเกิดสนิม การรวมตัวของโมเลกุลของสารต่างๆ เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงทางเคมี ทำให้ได้สารใหม่เกิดขึ้นเสมอ ซึ่งสามารถเขียนเป็นสมการเคมีขึ้นแทนปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นได้ ตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงทางเคมี เช่น การเกิดนมเปรี้ยว การปิ้งขนมปัง การเกิดสนิมของตะปู การจุดประกายของน้ำมันในเครื่องยนต์ การเกิดฟองของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2) ในบาดแผล การจุดไม้ขีดไฟ การกินยาลดกรด เป็นต้น

          - สถานะของสาร สารแบ่งออกเป็น 3 สถานะ คือ

          1) ของแข็ง ( solid ) หมายถึง สารที่มีลักษณะรูปร่างไม่เปลี่ยนแปลง และมีรูปร่างเฉพาะตัว เนื่องจากอนุภาคในของแข็งจัดเรียงชิดติดกันและอัดแน่นอย่างมีระเบียบไม่มีการเคลื่อนที่หรือเคลื่อนที่ได้น้อยมาก ไม่สามารถทะลุผ่านได้และไม่สามารถบีบหรือทำให้เล็กลงได้ เช่น ไม้ หิน เหล็ก ทองคำ ดิน ทราย พลาสติก กระดาษ เป็นต้น

          2) ของเหลว ( liquid ) หมายถึง สารที่มีลักษณะไหลได้ มีรูปร่างตามภาชนะที่บรรจุ เนื่องจากอนุภาคในของเหลวอยู่ห่างกันมากกว่าของแข็ง อนุภาคไม่ยึดติดกันจึงสามารถเคลื่อนที่ได้ในระยะใกล้ และมีแรงดึงดูดซึ่งกันและกัน มีปริมาตรคงที่ สามารถทะลุผ่านได้ เช่น น้ำ แอลกอฮอล์ น้ำมันพืช น้ำมันเบนซิน เป็นต้น

          3) แก๊ส ( gas ) หมายถึง สารที่ลักษณะฟุ้งกระจายเต็มภาชนะที่บรรจุ เนื่องจากอนุภาคของแก๊สอยู่ห่างกันมาก มีพลังงานในการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วไปได้ในทุกทิศทางตลอดเวลา จึงมีแรงดึงดูดระหว่างอนุภาคน้อยมาก สามารถทะลุผ่านได้ง่าย และบีบอัดให้เล็กลงได้ง่าย เช่น อากาศ แก๊สออกซิเจน แก๊สหุงต้ม เป็นต้น

ตารางที่ 1 แสดงความแตกต่างของสารในสถานะต่างๆ

ของแข็ง

ของเหลว

แก๊ส

 7872 4

  • ความหนาแน่นมาก
  • ไม่อาจถูกบีบอัดและขยายได้
  • ปริมาตรและรูปร่างคงที่

 7874 5

  • ความหนาแน่นสูง
  • ถูกบีบอัดและขยายได้ยาก
  • รูปร่างตามภาชนะที่บรรจุ

 7872 6

  •   ความหนาแน่นต่ำ
  •   ถูกบีบอัดและขยายได้ง่าย
  •   ปริมาตรและรูปร่างตาม ภาชนะที่บรรจุ

 แหล่งที่มา 

สถาส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 .   กรุงเทพฯ :
       โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว , 2545


Return to contents

 

ระบบและการเปลี่ยนแปลงของสาร

          ระบบ (system) หมายถึง สิ่งที่อยู่ภายในขอบเขตที่ต้องการศึกษา การกำหนดองค์ประกอบของระบบ ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการศึกษา ซึ่งต้องกำหนดหรือระบุให้ชัดเจน

          สิ่งแวดล้อม (environment) หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่อยู่นอกขอบเขตที่ต้องการศึกษา ตัวอย่างการกำหนดองค์ประกอบของระบบ เช่น การศึกษาการละลายของน้ำตาลทรายในน้ำ โดยสารละลายน้ำตาลทรายจะเป็นระบบ ส่วนบีกเกอร์ ภาชนะ และแท่งแก้วจัดเป็นสิ่งแวดล้อม

          ภาวะของระบบ หมายถึง สมบัติต่าง ๆ ของสาร และปัจจัยที่มีผลต่อสมบัติของระบบ เช่น ความดันบรรยากาศ อุณหภูมิ ปริมาณของสาร  เมื่อระบบเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วจะมีการถ่ายเทพลังงานระหว่างระบบกับสิ่งแวดล้อม ดังนี้

          ก. ระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงประเภทคายความร้อน คือ ระบบที่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้ว ระบบจะถ่ายเทความร้อนให้แก่สิ่งแวดล้อม  ทำให้สิ่งแวดล้อมร้อนขึ้น

          ข. ระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงประเภทดูดความร้อน คือ ระบบที่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้ว ระบบจะดูดความร้อนจะสิ่งแวดล้อมทำให้สิ่งแวดล้อมนั้นเย็นลง

          -  ประเภทของระบบ

          การเปลี่ยนแปลงพลังงานระหว่างระบบและสิ่งแวดล้อม จะใช้การถ่ายเทมวลของสารเป็นเกณฑ์ในการแบ่งประเภทของระบบ ดังนี้

          -  ระบบเปิด (open system) หมายถึง ระบบที่มีการถ่ายเทมวลให้กับสิ่งแวดล้อม

          -  ระบบปิด (close system) หมายถึง ระบบที่ไม่มีการถ่ายเทมวลให้กับสิ่งแวดล้อม

          -  ระบบโดดเดี่ยว ( lone system) หมายถึง ระบบที่ไม่มีการถ่ายเทมวลและพลังงานให้กับสิ่งแวดล้อม

7872 7

      ที่มา : http://www.nakhamwit.ac.th/pingpong_web/State&Changing.htm

-  การเปลี่ยนแปลงพลังงานของระบบ  มี 2 ประเภท คือ

  1. การเปลี่ยนแปลงประเภทคายความร้อนหรือประเภทคายพลังงาน คือ การเปลี่ยนแปลงที่ระบบคายพลังงานให้แก่สิ่งแวดล้อม เนื่องจากระบบมีอุณหภูมิสูงกว่าสิ่งแวดล้อม จึงถ่ายเทพลังงานจากระบบไปสู่สิ่งแวดล้อม เช่น การละลายของโซดาไฟในน้ำ อุณหภูมิของสารละลายสูงขึ้น จึงถ่ายเทพลังงานให้กับสิ่งแวดล้อม เพื่อทำให้อุณหภูมิของระบบลดลงจนอุณหภูมิของระบบเท่ากับอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อม      
  2. การเปลี่ยนแปลงประเภทดูดความร้อนหรือประเภทดูดพลังงาน คือ การเปลี่ยนแปลงที่ระบบดูดพลังงานจากสิ่งแวดล้อม เนื่องจากระบบมีอุณหภูมิต่ำกว่าสิ่งแวดล้อม ระบบจะปรับตัวโดยดูดพลังงานความร้อนจากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่ระบบ เพื่อทำให้อุณหภูมิของระบบเท่ากับอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อม เช่น การละลายของเกลือแกงในน้ำ อุณหภูมิของสารละลายต่ำลง จึงดูดพลังงานเข้าสู่ระบบ เพื่อทำให้อุณหภูมิของระบบสูงขึ้นจนอุณหภูมิของระบบเท่ากับอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อม

7872 8

ภาพ การเปลี่ยนแปลงพลังงานของระบบ

          ที่มา : http://www.nakhamwit.ac.th/pingpong_web/State&Changing.htm

-  การเปลี่ยนสถานะของสาร

          สารต่างๆ อาจอยู่ในสถานะก๊าซ ของเหลว หรือของแข็งก็ได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของสาร สารแต่ละชนิดจะมีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวต่างกัน ซึ่งเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวของสาร การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร โดยที่พิจารณาตามหลักการ ดังภาพ

7872 9ภาพ การเปลี่ยนแปลงสถานะ
ที่มา อนุสิษฐ์ เกื้อกูล

          - การเปลี่ยนแปลงของสารจากสถานะของแข็งเป็นของเหลว เรียกว่า การหลอมเหลว อุณหภูมิขณะนั้นจะคงที่เรียนกว่า จุดหลอมเหลว

          - การเปลี่ยนสถานนะของสารจากของเหลวกลายเป็นไอ เรียกว่า การเดือด อุณหภูมิขณะนั้นจะคงที่เรียกว่า จุดเดือด

          -  พลังงานกับการเปลี่ยนแปลงของระบบ  การเปลี่ยนแปลงของสารมี 3 ลักษณะ คือ การเปลี่ยนสถานะ , การละลาย และการเกิดปฏิกิริยาเคมี โดยการเปลี่ยนแปลงของสารจะ เกี่ยวข้องกับพลังงานดังต่อไปนี้

  1. พลังงานกับการเปลี่ยนสถานะ

          การเปลี่ยนสถานะของสารเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ การเปลี่ยนสถานะของสารอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงประเภทดูดพลังงานหรือคายพลังงาน ดังภาพ

7872 10

ภาพ การเปลี่ยนสถานะของสารเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ

          ที่มา : http://www.nakhamwit.ac.th/pingpong_web/State&Changing.htm

          เมื่อสารได้รับความร้อนขณะที่มีการเปลี่ยนสถานะ อุณหภูมิของสารจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยจะนำ ความร้อนที่ได้รับไปใช้เปลี่ยนสถานะ ซึ่งเรียกค่าพลังงานที่นำไปใช้ในการเปลี่ยนแปลงของสารว่า ความร้อนแฝงจำเพาะของสาร สารแต่ละชนิดจะมีค่าความร้อนแฝงจำเพาะ 2 ค่าด้วยกัน คือ

  1. ค่าความร้อนแฝงจำเพาะของการหลอมเหลวเป็นค่าพลังงานความร้อนที่นำมาใช้เปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว
  2. ค่าความร้อนแฝงจำเพาะของการกลายเป็นไอเป็นค่าพลังงานความร้อนที่นำไปใช้ในการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นไอ

          เราสามารถหาความร้อนที่ใช้ในการเปลี่ยนสถานะของสารได้จากสมการดังต่อไปนี้

                       ΔQ = mL

          เมื่อ     ΔQ คือ ความร้อนที่ใช้ในการเปลี่ยนสถานะ มีหน่วยเป็นจูล (J)

                    m คือ มวลของสารที่เปลี่ยนสถานะ มีหน่วยเป็นกิโลกรัม (kg)

                    L คือ ความร้อนแฝงจำเพาะของสาร มีหน่วยเป็น จูล/กิโลกรัม (J/kg)

          ความร้อนที่ทำสารมีอุณหภูมิเปลี่ยนไป โดยสถานะของสารไม่เปลี่ยน หาได้จากสมการดังต่อไปนี้

                       ΔQ = cmΔT

          เมื่อ     ΔQ     คือ ความร้อนที่ทำให้อุณหภูมิเปลี่ยน มีหน่วยเป็น จูล (J)

                    m       คือ มวลของสารที่มีอุณหภูมิเปลี่ยนไป มีหน่วยเป็นกิโลกรัม (kg)

                    c         คือ ความจุความร้อนจำเพาะของสาร มีหน่วยเป็น จูล/กิโลกรัมเคลวิน (J/kg K)

               ΔT     คือ อุณหภูมิที่เปลี่ยนไป มีหน่วยเป็น เคลวิน (K)

แหล่งที่มา

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน  วิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 .    กรุงเทพฯ : 
          โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว , 2545

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานและเพิ่มเติม  เคมี เล่ม 2 .    กรุงเทพฯ : 
          โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว , 2545


Return to contents

 

พลังงานกับการละลายในการละลายและการเกิดปฏิกิริยาเคมี

 พลังงานกับการละลายในการละลาย

          เมื่อสารเกิดการละลายจะเกี่ยวข้องกับพลังงานทุกขั้น การละลายมี 2 ขั้นตอน ดังนี้
          ก. อนุภาคของแข็งแยกตัวออกเป็นอนุภาคเล็ก ๆ ของแข็งมีจำนวนมากมายอยู่รวมกันโดยมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างกัน การแยกอนุภาคของแข็งออกจากเป็นอนุภาคเล็ก ๆ ต้องใช้พลังงาน (ดูดพลังงานจากสิ่งแวดล้อม) พลังงานนี้เรียกว่า " พลังงานแลตทิซ " (Lattice Energy) 

          ข. อนุภาคเล็ก ๆ ของของแข็งรวมตัวกับอนุภาคของเหลว เมื่อของแข็งแยกตัวออกเป็นอนุภาคเล็ก ๆ แล้ว อนุภาคเล็ก ๆ เหล่านี้จะกระจาย แทรกตัวอยู่ระหว่างอนุภาคของเหลว ทำให้อนุภาคเล็ก ๆ สร้างแรงยึดเหนี่ยวกับอนุภาคของเหลว การสร้างแรงยึดเหนี่ยวจะเกิดการคายพลังงานซึ่งพลังงานนี้เรียกว่า 

" พลังงานโซลเวชัน " Solvation Energ ) ถ้าของเหลวที่เป็นตัวทำละลายคือ น้ำ พลังงานนี้เรียกว่า      

" พลังงานไฮเดรชัน " (Hydration Energy)

          ผลการละลายน้ำของสารมีการเปลี่ยนแปลงพลังงานแบบใดจะต้องพิจารณาจากพลังงานแลตทิซ และพลังงานไฮเดรชัน ดังนี้

  1. การเปลี่ยนแปลงแบบดูดความร้อนเมื่อพลังงานแลตทิซมากกว่าพลังงานไฮเดรชัน เช่น การละลายน้ำของโพแทสเซียมไนเตรด
  2. การเปลี่ยนแปลงแบบคายความร้อน เมื่อพลังงานไฮเดรชันมากกว่าพลังงานแลตทิซ เช่น การละลายน้ำของโซเดียมไฮดรอกไซด์ 
  3. พลังงานกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี

          เมื่อสารเกิดปฏิกิริยาเคมีจะต้องมีสารใหม่เกิดขึ้นทุกครั้ง วิธีพิจารณาสารใหม่ให้สังเกตการเปลี่ยนสี  กลิ่น และสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้น เช่น ฟองก๊าซ , ตะกอน หรือควัน เป็นต้น การเกิดปฏิกิริยาเคมีจะต้องเกิด 2 ขั้นตอนเหมือนกับการละลายคือ
          ขั้นที่ 1 ต้องสลายแรงยึดเหนี่ยวของสารตั้งต้น ( สารเดิม ) ซึ่งจะต้องใช้พลังงาน ( ดูดพลังงาน ) แยกอนุภาคของสารออกจากกัน
          ขั้นที่ 2 อนุภาคที่แยกตัวออกมาจะสร้างแรงยึดเหนี่ยวใหม่กับอนุภาคอื่น ซึ่งต้องคายพลังงานออกมาด้วย
          ซึ่งปฏิกิริยาเคมีที่พลังงานขั้นที่ 1 มากกว่าขั้นที่ 2 จะเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบดูดความร้อน เช่น ปฏิกิริยาระหว่างแอมโมเนียมคลอไรด์  ( NH4Cl ) กับ แคลเซียมไฮดรอกไซด์ ( Ca ( OH )2 ) แต่ถ้าปฏิกิริยาเคมีที่พลังงานขั้นที่ 1 น้อยกว่าขั้นที่ 2 จะเป็นการเปลี่ยนแปลง แบบคายความร้อน เช่น ปฏิกิริยาระหว่างด่างทับทิม ( KMnO4 ) , น้ำตาลทราย และน้ำ ปฏิกิริยาการเผาไหม้เชื้อเพลิง เป็นต้น

พลังงานกับการเกิดปฏิกิริยาพลังงานเคมี (Chemical energy)
          เป็นพลังงานศักย์ที่แฝงอยู่ในโครงสร้างของสาร เช่น อยู่ในรูปของน้ำมันเชื้อเพลิง ไขมันซึ่งเมื่อเกิดการเผาไหม้จะปล่อยพลังงานเคมีออกมาและนำมาใช้ประโยชน์ได้พลังงานเคมีเป็นพลังงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องและสำคัญกับสิ่งมีชีวิตมาก
 ในการเกิดปฏิกิริยาของสารแต่ละปฏิกิริยานั้น ต้องมีพลังงานเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี 2 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 เป็นขั้นที่ดูดพลังงานเข้าไปเพื่อสลายพันธะในสารตั้งต้น
ขั้นที่ 2 เป็นขั้นที่คายพลังงานออกมาเมื่อมีการสร้างพันธะในผลิตภัณฑ์

1.ปฏิกิริยาดูดความร้อน ( Endothermic reaction)

        เป็นปฏิกิริยาที่ดูดพลังงานเข้าไปสลายพันธะมากกว่าที่คายออกมา เพื่อสร้าง พันธะ โดยในปฏิกิริยาดูดความร้อนนี้สารตั้งต้นจะมีพลังงานต่ำกว่าผลิตภัณฑ์ จึงทำให้สิ่งแวดล้อมเย็นลง อุณหภูมิลดลง เมื่อเอามือสัมผัสภาชนะจะรู้สึกเย็น ดังภาพ

7872 11.

แผนภูมิพลังงานของปฏิกิริยาดูดความร้อน

ที่มา : http://www.atom.rmutphysics.com/charud/oldnews/231/ra_clip_image002_0000...

2.ปฏิกิริยาคายความร้อน ( Exothermic reaction)

เป็นปฏิกิริยาที่ดูดพลังงานเข้าไปสลายพันธะน้อยกว่าที่คายออกมาเพื่อสร้าง พันธะ โดยในปฏิกิริยาคายความร้อนนี้สารตั้งต้นจะมีพลังงานสูงกว่าผลิตภัณฑ์ จึงให้พลังงานความร้อนออกมาสู่สิ่งแวดล้อมทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นเมื่อเอามือสัมผัสภาชนะจะรู้สึกร้อน ดังภาพ

7871 12

แผนภูมิพลังงานของปฏิกิริยาคายความร้อน

ที่มา : http://www.atom.rmutphysics.com/charud/oldnews/231/ra_clip_image004_0000... 

 

แหล่งที่มา

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานและเพิ่มเติม เคมี เล่ม 3 .    กรุงเทพฯ : 
         โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว , 2545

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานและเพิ่มเติม  เคมี เล่ม 1 .    กรุงเทพฯ : 
         โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว , 2545

 

 


Return to contents
Previous Page 1 / 3 Next Page
หัวเรื่อง และคำสำคัญ
สารและการจำแนก
ประเภท
Text
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอังคาร, 20 มีนาคม 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของงาน
อนุสิษฐ์ เกื้อกูล
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เคมี
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • เพิ่มในรายการโปรด
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
คุณอาจจะสนใจ
Recently added
  • สะเต็มกับวิชาชีพครูตอนที่ 1...
  • กลุ่มของสารเคมีกำจัดแมลง...
  • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับลูกอม...
  • เรียนรู้จาก Chat Bot...
  • พืชก็เครียดเป็น...
อ่านต่อ..
คุณอาจจะสนใจ
115 ปี รังสีมหาประโยชน์
115 ปี รังสีมหาประโยชน์
Hits ฮิต (1907)
ให้คะแนน
เคยสงสัยกันมั้ยครับว่า ทำไมสมการคณิตศาสตร์เวลาเราหาค่าตัวแปรที่ไม่รู้ค่า เราจึงมักแทนค่ามันไว้ในตัว...
ภาวะมลพิษที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี
ภาวะมลพิษที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี
Hits ฮิต (5818)
ให้คะแนน
ความหมายและผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ความหมายของมลพิษ คําว่า “มลพิษ” เป็นศัพท์ที่ราชบัณฑิตยสถานบ...
การประยุกต์ใช้กฎของโอหม์ (Ohm’s Law)
การประยุกต์ใช้กฎของโอหม์ (Ohm’s Law)
Hits ฮิต (2810)
ให้คะแนน
กฎข้อแรก ๆ ที่นักฟิสิกส์อิเล็กโทรนิกส์ หรือผู้สนใจในด้านอิเล็กโทรนิกส์ จะต้องเข้าใจมันก็คือ กฎของโอ...

ค้นหาบทเรียน

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทเรียนทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Scimath คลังความรู้
Scimath คลังความรู้
เว็บไซต์คลังความรู้สู่ความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี จัดทำโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร จัดตั้งขึ้น เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ คลังความรู้สู่ความเป็นเลิศฯ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด Copyright © 2017 SCIMATH :: คลังความรู้สู่ความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี. All Rights Reserved.