Table of Contents Table of Contents
Previous Page  11 / 283 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 11 / 283 Next Page
Page Background

เป้าหมายของการจัดทำ�คู่มือการใช้หลักสูตร

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ระดับประถมศึกษา

1

กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตาม

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และให้สถานศึกษานำ�ไป

ใช้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียน ในการนี้สถาบันส่งเสริมการ

สอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จึงได้พัฒนาคู่มือการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระ

การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้หลักสูตร อาทิ บุคลากรทางการศึกษา

ผู้ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ทุกระดับของประเทศ ผู้เขียนตำ�ราและสื่อ

การเรียนรู้ประกอบหลักสูตร และสำ�นักพิมพ์ต่าง ๆ ได้ใช้ประโยชน์ในการจัดทำ�หรือ

จัดหาตำ�ราเรียน สื่อการเรียนรู้ประกอบหลักสูตร การจัดทำ�แบบทดสอบและข้อสอบ

การประเมินคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูและสถานศึกษา และอื่นๆ ให้สอดคล้อง

กับเจตนารมณ์ของหลักสูตร หลีกเลี่ยงการเกิดความสับสนหรือความเข้าใจ

คลาดเคลื่อนในการวิเคราะห์ตัวชี้วัดต่าง ๆ ที่ระบุไว้ในหลักสูตรเช่นที่ผ่านมา

คู่มือการใช้หลักสูตรฯ ฉบับนี้จำ�แนกเนื้อหาออกเป็น ๒ ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ ๑ ความรู้และแนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตร

ประกอบด้วย ที่มาของการปรับหลักสูตร เป้าหมายของหลักสูตร เป้าหมาย

ของการเรียนวิทยาศาสตร์และคุณภาพของผู้เรียน แนวการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ทั้งด้านวิทยาศาสตร์และทักษะกระบวนการต่าง ๆ ได้แก่ ทักษะกระบวนการทาง

วิทยาศาสตร์ ทักษะการคิดระดับสูง ทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ทักษะกระบวนการ

สำ�หรับการออกแบบและเทคโนโลยี ทักษะการเรียนรู้ร่วมกันและการทำ�งานเป็น

ทีม และอื่นๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำ�คัญที่พลเมืองแห่งศตวรรษที่ ๒๑ จำ�เป็นต้องเรียนรู้

และฝึกฝน ตลอดจนความรู้ด้านการประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน เป้าหมายของ

การจัดทำ�ส่วนนี้ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำ�หรับบุคลากรทางการศึกษา และผู้ใช้

หลักสูตรในการทำ�ความเข้าใจเกี่ยวกับความจำ�เป็นของการปรับหลักสูตร ตลอด

จนสามารถจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตรและทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ให้

ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข ผ่านการลงมือปฏิบัติ สืบเสาะหาความรู้เพื่อทำ�

ความเข้าใจแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ ฝึกฝนทักษะกระบวนการต่าง ๆ และสามารถ

เชื่อมโยงและนำ�มาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำ�วันและอาชีพได้

ส่วนที่ ๒ การวิเคราะห์ตัวชี้วัดตามมาตรฐานการเรียนรู้

เป็นการวิเคราะห์ตัวชี้วัดทั้ง ๔ สาระของกลุ่มการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับ

ปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช

๒๕๕๑ ระดับประถมศึกษา - ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีการนำ�เสนอผล

การวิเคราะห์ในรูปแบบของตาราง ประกอบด้วย

- การวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)

ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) และด้านเจตคติ (Affective

Domain) ซึ่งเป็นเป้าหมายปลายทางของตัวชี้วัดที่คาดหวังให้ผู้เรียน

ได้แสดงออกมาหลังจากเรียนรู้ตามตัวชี้วัดเหล่านั้น

- แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่นำ�ไปสู่การเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลง

พฤติกรรมการเรียนรู้ทั้งสามด้านของผู้เรียน เปิดกว้างให้ผู้สอน

และผู้ใช้หลักสูตรสามารถออกแบบและสร้างสรรค์แผนการจัดการ

เรียนรู้และกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับบริบทของตนเอง แต่ยัง

คงเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ตามธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ผ่าน

กระบวนการสืบเสาะหาความรู้