แนะวิธีง่ายๆ แก้ปัญหาน้ำประปาขุ่นเบื้องต้น
ณ เวลานี้ หลายพื้นที่ในจังหวัดน้ำท่วม ต้องประสบปัญหาน้ำประปามีสีเหลืองขุ่น มีตะกอน และกลิ่นที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม ส่งผลให้ผู้ใช้น้ำเดือดร้อนจำนวนมาก บางส่วนไม่มั่นใจกับมาตรฐานความสะอาดของน้ำดื่มน้ำใช้ และมีคนจำนวนไม่น้อยที่ใช้น้ำประปาเปลี่ยนสีแล้วรู้สึกว่า มีผื่นคันขึ้นตามตัว และมีสิวขึ้น ขณะที่บางคนมีอาการท้องร่วง ท้องเสีย โดยเชื่อว่าสาเหตุเกิดจากการรับประทานน้ำประปาที่ไม่สะอาดเข้าไป ทั้งนี้ สาเหตุที่น้ำประปาเปลี่ยนเป็นสีเหลืองนั้น อาจเกิดจากการที่การประปาฯ ต้องเร่งผลิตน้ำ เนื่องจากน้ำล้นเข้าคลองประปา ทำให้ระยะเวลาในการพักน้ำและตกตะกอนลดลง ส่วนกลิ่นที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากสภาพน้ำที่สกปรกขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้วน้ำประปาที่สะอาดตามองค์การอนามัยโลกจะต้องมีคลอรีนอยู่ที่ ประมาณ 2-5 ppm แต่น้ำประปาในช่วงนี้พบว่า มีคลอรีนหลงเหลืออยู่ในน้ำน้อยมาก หรือแทบไม่มีเลย
อย่างไรก็ตาม นายเจริญ ภัสระ ผู้ว่าการการประปานครหลวง (กปน.) ก็ได้ออกมายืนยันว่า น้ำประปานั้นยังอยู่ในระดับมาตรฐาน และมีความปลอดภัยเหมือนเดิม ซึ่งไม่เป็นอันตรายกับผู้บริโภคอย่างแน่นอน ทั้งนี้ อาจมีการเติมคลอรีนมากกว่าปกติเล็กน้อย ซึ่งหากใครยังไม่มั่นใจก็สามารถนำน้ำประปาไปเข้าเครื่องกรองน้ำ หรือน้ำไปต้มก่อนบริโภคก็ได้ ว่าแล้วเราลองมาเช็กคุณภาพของน้ำประปาในเขตแถวบ้านคุณกันดูเลย โดยเข้าไปที่เว็บไซต์ wqconline.mwa.co.th แล้วตรวจสอบดูว่า บ้านของคุณอยู่ละแวกไหน ได้รับน้ำประปาที่ส่งมาจากสถานีสูบน้ำแห่งใด และตรวจสอบตัวเลขที่ปรากฏตามภาพ โดยตัวเลขสีเขียว หมายถึง ปริมาณคลอรีนอิสระที่หลงเหลือ (โดยค่ามาตรฐานต้องอยู่ที่ประมาณ 0.2-0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร) ส่วนตัวเลขสีเหลือง หมายถึงความขุ่น ต้องมีค่ามาตรฐานไม่เกิน 5 NTU ทั้งนี้ สำหรับใครที่ตรวจสอบแล้ว น้ำประปายังมีคุณภาพดี แต่ยังคงกังวลใจเรื่องคุณภาพอยู่ล่ะก็ วันนี้เราได้รวบรวมวิธีแก้ปัญหาน้ำประปาเบื้องต้น มาฝากกันค่ะ
ใช้สารส้มแกว่ง ให้รองน้ำใส่ถังแล้วพักไว้ 30 นาที จากนั้นหยดสารฆ่าเชื้อคลอรีนชนิดน้ำ (หยดทิพย์) 2% แล้วใช้สารส้มแกว่ง รอสักพัก แล้วตักน้ำใสๆ ลงถังอีกใบหนึ่ง ...ทางที่ดีควรพักน้ำไว้อย่างน้อย 1 คืนก่อนนำไปใช้
ใช้ด่างทับทิมละลายในน้ำ เพื่อฆ่าเชื้อโรค แต่ด่างทับทิม ทำลายเชื้อโรคได้เพียงบางชนิด และต้องใช้เวลานานนับชั่วโมง นำน้ำที่ได้จากขั้นตอนข้างต้นไปต้มก่อนนำมาใช้ดื่ม หรือประกอบอาหาร
-
2492 แนะวิธีง่ายๆ แก้ปัญหาน้ำประปาขุ่นเบื้องต้น /index.php/article-science/item/2492-2011-11-19-17-33-08เพิ่มในรายการโปรด