ดูแลตัวเองอย่างไร...ห่างไกลไข้หวัด
โดย :
Administrator
เมื่อ :
วันศุกร์, 07 กันยายน 2555
Hits
17308
ดูแลตัวเองอย่างไร...ห่างไกลไข้หวัด
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือในฐานะองค์กรที่มีส่วนในการดูแลสุขภาพคนไทยมีคำแนะนำดีๆในการจะรับมือหรือ ป้องกันอย่างไรไม่ให้ไข้หวัดมาเยือนได้ง่ายๆโดยเฉพาะการเลือกใช้ยาซูโดอีเฟดรีนในการรักษาอาการไข้หวัด
ภก.วินิตอัศวกิจวิรี ผู้อำนวยการสำนักยาสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรืออย.อธิบายว่าหวัดหรือไข้หวัดมักเกิดจากเชื้อไวรัสเป็นส่วนใหญ่เชื้อเหล่านี้มีอยู่เป็นร้อยๆชนิดทั่วไปในสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ยิ่งวันไหนท้องฟ้ามืดครึ้มลมแรงก็จะยิ่งพัดไวรัสให้ฟุ้งกระจายโอกาสที่เราจะสัมผัสไวรัสก็มีมากขึ้นคนที่เป็นหวัดมักมีอาการเป็นไข้คัดจมูกน้ำมูกไหลยิ่งถ้ามีอาการเจ็บคอไอมักเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหากอาการไม่รุนแรงในเบื้องต้นไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะมารับประทานเองให้พักผ่อนให้มากทำร่างกายให้อบอุ่นส่วนใหญ่อาการก็จะทุเลาได้เอง
"แต่ถ้ามีอาการคัดจมูกน้ำมูกไหลมากๆจนกระทบต่อคุณภาพชีวิตหรือการงานก็อาจสามารถรับประทานยาแก้หวัดคัดจมูกโดยขอคำแนะนำจากเภสัชกรที่ร้านขายยาได้ตัวยาที่มีสรรพคุณในการบรรเทาอาการหวัดคัดจมูกน้ำมูกไหลมักเป็นยาสูตรที่มีตัวยาซูโดอีเฟดรีน (Pseudoephedrine) เป็นส่วนประกอบแต่หลายปีที่ผ่านมาสารซูโดอีเฟดรีนในยาบรรเทาหวัดคัดจมูกมีปัญหาการกว้านซื้อเพื่อนำไปแยกเป็นสารตั้งต้นผลิตสารเสพติด"
ผู้อำนวยการสำนักยากล่าวอีกว่าเพื่อป้องกันการนำสารดังกล่าวไปใช้ในทางที่ผิดกระทรวงสาธารณสุขจึงได้ออกประกาศเมื่อ 16 กันยายน 2554นี้ ให้ยาบรรเทาหวัดคัดจมูกที่มีซูโดอีเฟดรีนเป็นส่วนประกอบในรูปแบบยาเม็ดแคปซูลและน้ำยกเว้นตำรับยาผสมที่มีพาราเซตามอลเป็นส่วนประกอบเป็นยาควบคุมพิเศษที่ต้องให้แพทย์สั่งจ่ายและให้ใช้เฉพาะในโรงพยาบาลของรัฐหรือโรงพยาบาลเอกชนที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเท่านั้นดังนั้นสำหรับผู้ที่ต้องการใช้ยาสำหรับบรรเทาอาการหวัดทางอย. ได้แนะนำให้ใช้ยาตัวอื่นแทนเช่นยาผสมที่มีตัวยาเฟนิลเอริน (Phenylephrine) แทนซึ่งมีสรรพคุณที่ใช้แทนได้
"แต่สำหรับยาสูตรผสมที่มีซูโดอีเฟดรีนที่ยังสามารถหาซื้อได้จากร้านขายยาจะเป็นยาแก้ไข้หวัดสูตรที่มีสารประกอบ3ตัวในเม็ดเดียวเช่นซูโดอีเฟดรีนกับคลอเฟนิรามีนและพาราเซตามอลหรือที่คุ้นเคยในชื่อทางการค้าตัวอย่างไทลีนอลโคล, ดีคอลเจนพลัส, ทิฟฟี่ฟู, เป็นต้นยาเหล่านี้เท่านั้นที่ไม่ได้เข้าข่ายยาควบคุมพิเศษยาสูตรที่มีสารประกอบ3ตัวในเม็ดเดียวกันนี้มีส่วนผสมของยาลดไข้อยู่ด้วยจึงเหมาะกับคนที่มีไข้ร่วมกับอาการหวัดคัดจมูกแต่ถ้าไม่มีไข้ก็ไม่จำเป็นต้องรับประทานเพราะร่างกายจะได้รับยาลดไข้โดยไม่จำเป็น"
ทั้งนี้ใครที่มีอาการไอร่วมด้วยผู้อำนวยการสำนักยาแนะนำว่าก็อาจรับประทานยาบรรเทาอาการไอหรือยาขับเสมหะช่วยด้วย ยาในกลุ่มนี้ผู้บริโภคก็ควรขอคำแนะนำจากเภสัชกรอีกครั้ง
"ที่สำคัญคือต้องคอยสังเกตอาการถ้าไข้สูงไข้ไม่ลดไอนานติดต่อกันหลายวันเสมหะข้นมีสีเขียวแสดงว่าอาจมีสาเหตุอื่นหรือมีการติดเชื้อแบคทีเรียถ้ามีอาการอย่างนี้ไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะมารับประทานเองควรรีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องเพราะถ้ารักษาไม่ถูกต้องอาการจะยิ่งหนักมากขึ้นหรือบางคนอาจแพ้ยาบางชนิดเช่นอะม็อกซีซิลินหรือแอมพลิซิลินได้"
สำหรับวิธีป้องกันไม่ให้เราเป็นหวัดในหน้าฝน
ภก.วินิตแนะว่า หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องโดนฝนวิธีป้องกันตัวเองเบื้องต้นให้ใช้ผ้าปิดปากและจมูกกันไว้เมื่อกลับมาบ้านแล้วควรรีบเช็ดผมให้แห้งถ้าสระผมได้ยิ่งดีจากนั้นรีบเช็ดและเป่าให้แห้งโดยเร็วเพื่อทำให้อุณหภูมิเปลี่ยนและเชื้อไวรัสจะแบ่งตัวได้ลำบากรีบทำให้ร่างกายอบอุ่นรับประทานผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงๆเช่นฝรั่งส้มแอปเปิ้ลหรือรับประทานวิตามินซีเม็ดเพื่อช่วยเสริมสร้างเซลล์และเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายไปและต้องไม่ลืมออกกำลังกายนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
การป้องกันย่อมดีกว่าแก้วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันหวัดก็คือพักผ่อนให้เพียงพอทำร่างกายให้อบอุ่นรับประทานอาหารที่สมดุลและออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงสามารถต้านทานเชื้อหวัดได้พยายามเลี่ยงอย่าให้เปียกฝนหรือตัวชื้นอยู่นานๆอย่าให้ร่างกายกระทบร้อนกระทบเย็นบ่อยๆหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แออัดมีอากาศถ่ายเทไม่สะดวกและเมื่อป่วยก็ควรหยุดงานหยุดเรียนพักผ่อนให้หายปิดปากปิดจมูกเวลาต้องอยู่ใกล้ผู้อื่นและล้างมือบ่อยๆอย่าให้ตนเองกลายเป็นพาหะนำโรคไปแพร่ให้คนอื่นเราก็จะหยุดวงจรหวัดระบาดได้ในที่สุด
ท้ายที่สุดแม้ดูแลตัวเองอย่างดีแล้วแต่ก็ยังเป็นหวัดควรปรึกษาเภสัชกรในการเลือกซื้อและใช้ยาให้เหมาะกับอาการตามความจำเป็นจะดีที่สุด
ที่มา : 108 health
คำสำคัญ
ดูแล,ไข้หวัด
ประเภท
Text
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
Administrator
วิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ป.1, ป.2, ป.3, ป.4, ป.5, ป.6, ม.1, ม.2, ม.3, ม.4, ม.5, ม.6
กลุ่มเป้าหมาย
ครู, นักเรียน, บุคคลทั่วไป
-
3007 ดูแลตัวเองอย่างไร...ห่างไกลไข้หวัด /index.php/article-science/item/3007-2012-09-07-06-47-59เพิ่มในรายการโปรด