วิทยาศาสตร์พิสูจน์ การเลิกกินของที่ทำให้อ้วนนั้นยาก
การรับประทานอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูงนั้นทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมองที่ทำให้รู้สึกเหมือนเสพย์ติดได้ การรับประทานอาหารจำพวกไขมันสูงเป็นเวลาหกสัปดาห์ก่อนจะกลับไปรับประทานอาหารอย่างเป็นเหตุเป็นผลนั้นเพียงพอแล้วที่จะทำให้เกิดความเครียด ความโหยอย่างรุนแรงและอาการคล้ายการลงแดงในหนู
หนูเหล่านี้ยังเกิดความเปลี่ยนแปลงทางเคมีในสมองที่ชี้ให้เห็นถึงความเหมือนกันระหว่างวิธีที่พวกมันตอบสนองต่ออาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูงกับวิธีตอบสนองกับยาเสพย์ติดที่รุนแรงกว่าอย่างโคเคน
เมื่อทั้งสองอย่างรวมกัน การค้นพบครั้งใหม่นี้จะช่วยเพิ่มข้อมูลให้กับการวิจัยในด้านฤทธิ์เสพย์ติดของอาหารขยะ
“ความหมายของเรื่องนี้ก็คือ การเตรียมตัวเองให้พร้อมสำหรับอาการที่อาจจะรู้สึกได้จากการเปลี่ยนแปลงอาหารที่รับประทานและลดปริมาณอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูงออกไปนั้นเป็นสิ่งสำคัญ” กล่าวโดย Stephanie Fulton นักประสาทวิทยาจาก University of Montreal “เราสามารถวางแผนรับมือกับความรู้สึกโหยและแทนที่อาหารด้วยอะไรก็ได้ที่ทำให้เรารู้สึกดีขึ้น”
Nicole Avena ผู้ซึ่งเป็นนักประสาทวิทยาจาก University of Florida บอกว่า ในช่วงทศวรรษที่แล้ว การเพิ่มขึ้นของจำนวนงานวิจัยได้เริ่มชี้ว่าอาหารบางชนิดนั้นสามารถเสพย์ติดได้จริงๆ ซึ่งหนูที่ขาดน้ำตาลหรือไขมันอย่างต่อเนื่องแล้วในภายหลังได้รับการยินยอมให้รับประทานอาหารหวานหรือมีไขมันเยอะได้อย่างไม่จำกัดแล้วล่ะก็ มันจะกินอาหารพวกนั้นเมื่อไหร่ก็ตามที่มี และพวกมันก็แสดงให้เห็นถึงสัญญาณความโหยอย่างรุนแรง ซึ่งเมื่อไหร่ที่พวกมันติดอาหารพวกนี้แล้ว พวกมันก็กินแม้กระทั้งอาหารอย่างโอริโอ หรือแม้กระทั้งข้ามตะแกรงที่ช๊อตพวกมันด้วยกระแสไฟฟ้าเวลาที่พวกมันข้ามอีกด้วย
งานวิจัยชิ้นแรกๆแสดงให้เห็นแค่เพียงว่าเวลาที่น้ำตาลนั้นถูกแย่งไปจากหนูนั้น พวกมันจะแสดงอาการลงแดงให้เห็น ซึ่งรวมทั้งอาการกังวล ความเครียด และตัวสั่น งานวิจัยที่ทำในเวลาต่อมาพบว่าอาการเหล่านั้นจะมาพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงในระบบของ dopamine และ opioid ซึ่งทั้งคู่เป็นตัวส่งสัญญาประสาทสองชนิดที่มีความเกี่ยวข้องกับความหิวและอาการลงแดง
สำหรับงานวิจัยชิ้นใหม่นี้ Fulton และเพื่อนร่วมงานของเขาต้องการที่รู้ว่าจะเกิดอะไรกับหนูที่กินอาหารที่อร่อยแต่ไม่มีคุณค่าต่อสุขภาพเท่าใดนักในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งหลังจากหกอาทิตย์ที่มันกินอาหารที่เต็มไปด้วยไขมันอิ่มตัวนั้น หนูในงานวิจัยของเธอมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมาเพียง 11% ซึ่งยังห่างไกลจากโรคอ้วนนัก แต่เมื่อครึ่งหนึ่งของหนูในงานวิจัยถูกทำให้กลับไปกินอาหารไขมันต่ำเหมือนเดิม นักวิจัยกลับรายงานถึงการแสดงออกถึงความเครียดที่เพิ่มขึ้น ซึึ่งในการทดสอบเขาวงกด พวกมันเลือกที่จะใช้เวลามากขึ้นในการนั่งเฉยๆในความมืดมากกว่าที่จะไปสำรวจพื้นที่อื่นๆที่ถูกเปิดไว้
หลังจากหย่าจากอาหารที่มีไขมันสูงแล้ว หนูยังแสดงให้เห็นถึงสัญญาณของความโหยที่เพิ่มขึ้น และแรงกระตุ้นที่จะหาอาหารที่มีน้ำตาลสูงเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ในขณะเดียวกัน นักวิจัยได้วัดความเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง ซึ่งรวมถึง dopamine และโมเลกุลชนิดหนึ่งที่เรียกว่า CREB ซึ่งเคยถูกเชื่อมโยงกับความอยากอาหารและอาการเสพย์ติดในงานวิจัยก่อนๆมาแล้ว
“ถึงแม้ช่วงเวลาที่กินอาหารไขมันสูงนั้นจะไม่ทำให้เป็นโรคอ้วนก็ตาม แต่มันก็สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีและพฤติกรรมหลายๆอย่างที่ยากที่จะเลิกได้” Fulton กล่าว ซึ่งงานวิจัยชิ้นใหม่นี้เป็นหนึ่งในหลายๆชิ้นงานที่แสดงให้เห็นว่าอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูงนั้นไม่ได้เพียงส่งผลกระทบกับรอบเอวเพียงอย่างเดียว แต่ส่งผลกับสมองด้วยเช่นกัน
“การที่เรารู้ว่ามีงานวิจัยดังกล่าวเกิดขึ้นและการค้นพบที่เกิดขึ้นนั้นค่อนข้างที่จะสอดคล้องกันนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่อาจทำให้คนลังเลในเรื่องประเภทของอาหารที่พวกเขารับประทานและทำไมพวกเขาถึงทานมัน รวมถึงคำนึงว่าอาหารบางจำพวกนั้นอาจมีแรงผลักดันคล้ายอาการเสพย์ติดที่ทำให้เราอยากทานอยู่ด้วยหรือไม่”
“มันเป็นมุมใหม่ที่เราสามารถคิดกับอาหารได้" Fulton กล่าว “มันเป็นเรื่องการกินด้วยความจำเป็น ไม่ใช่การกินด้วยความอยาก”
ที่มา : http://news.discovery.com/human/high-fat-habits-hard-to-break-121227.html
เรียบเรียงข้อมูลโดย faceoffact จากวิชาการดอทคอม
-
3261 วิทยาศาสตร์พิสูจน์ การเลิกกินของที่ทำให้อ้วนนั้นยาก /index.php/article-science/item/3261-2013-01-02-07-00-35เพิ่มในรายการโปรด