มีอะไรอยู่ใน….น้ำดื่มบรรจุขวด!
ผลการวิเคราะห์ปรากฏว่า ปริมาณสารทั้งหมดที่พบในน้ำดื่มบรรจุขวดทั้ง 5 ยี่ห้อ มีปริมาณไม่มาก และยังอยู่ในเกณฑ์ตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขไทย ที่กำหนดให้มีปริมาณสารทั้งหมดในน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ได้ไม่เกิน 500 มิลลิกรัม ต่อน้ำบริโภค 1 ลิตร วันนี้ น้ำดื่มบรรจุขวดของไทยจึงยังปลอดภัยอยู่
วันนี้สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างน้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติกขาวขุ่น จำนวน 5 ตัวอย่าง จากย่านการค้า 5 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานครเพื่อนำมาวิเคราะห์ปริมาณสารทั้งหมด (Total Solid) ที่จะเป็นตัวบ่งบอกปริมาณสารต่างๆ โดยรวมที่มีอยู่ในน้ำ ทำให้ทราบว่าน้ำนั้นบริสุทธิ์ หรือมีสารต่างๆ ปนเปื้อนมากน้อยเพียงใด
การดื่มน้ำที่ไม่ได้คุณภาพ อาจทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย หากเราดื่มน้ำที่มีความกระด้างถาวรมากๆ จะส่งผลให้เกิดโรคนิ่ว หรือหากดื่มน้ำที่มีฟลูออไรด์มากเกินไปจะส่งผลให้เกิดโรคฟันเปราะหรือหักง่าย คุณภาพน้ำด้านเคมี ได้แก่ ปริมาณสารทั้งหมด ทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า, ความกระด้าง, ปริมาณแร่ธาตุ, ปริมาณโลหะหนัก เป็นต้น ส่วนคุณภาพน้ำด้านชีวภาพ จะพิจารณาที่การปนเปื้อนของจุลินทรีย์ก่อโรค โคลิฟอร์ม และ อี.โคไล
ทว่าในน้ำดื่มที่เราเห็นใสๆ นั้นอาจมีความบริสุทธิ์และคุณภาพแตกต่างกัน ซึ่งคุณภาพน้ำดื่มสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ คุณภาพน้ำด้านกายภาพ ได้แก่ ความขุ่น สี รส กลิ่น และค่าความเป็นกรดหรือด่าง ซึ่งหากมีความผิดปกติก็ไม่ควรดื่ม วันนี้ผู้ผลิตน้ำดื่มต่างระดมเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดเพื่อดึงดูดความสนใจจากกลุ่มลูกค้าที่รักษาสุขภาพ จึงไม่น่าแปลกใจที่น้ำดื่มในบ้านเรามีหลายเกรด หลายราคา ถ้าเป็นน้ำดื่มพรีเมียมจะมีบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม บนฉลากจะบรรยายถึงแหล่งที่มาของน้ำ และคุณประโยชน์ของน้ำอย่างละเอียด ส่วนน้ำดื่มคุณภาพรองๆ ลงมาจะมีการระบุสถานที่ผลิต และระบบคุณภาพต่างๆ ที่ใช้ในกระบวนการผลิต
น้ำ สิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีพของมนุษย์ เราต้องบริโภคน้ำสะอาดเพื่อสุขภาพที่ดีของเรา แต่ต้องไม่ลืมว่าน้ำสะอาดเท่านั้นที่จะทำให้ร่างกายแข็งแรงและปราศจากโรค การดื่มน้ำที่ไม่ได้คุณภาพ อาจทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย หากเราดื่มน้ำที่มีความกระด้างถาวรมากๆ จะส่งผลให้เกิดโรคนิ่ว หรือหากดื่มน้ำที่มีฟลูออไรด์มากเกินไปจะส่งผลให้เกิดโรคฟันเปราะหรือหักง่าย
ขอขอบคุณบทความจาก วิชาการ.คอม
-
3342 มีอะไรอยู่ใน….น้ำดื่มบรรจุขวด! /index.php/article-science/item/3342-2013-02-06-07-58-51เพิ่มในรายการโปรด