มาใส่ใจ "สมอง" ด้วยอาหารกันเถอะ
เรื่องการฝึกหายใจจึงเริ่มมีคนให้ความสนใจมากขึ้น ทุกเช้าหลังตื่นนอนให้ฝึกหายใจลึกๆ 5-10 ครั้ง ก็นับเป็นการเริ่มต้นวันที่ดี อ้อ! การนั่งสมาธิก็เป็นการฝึกหายใจได้ดีอีกวิธีหนึ่งนะคะ ไม่ว่าใครก็อยากมีสมองที่ดี ทำงานให้กับเราอย่างซื่อสัตย์ ยืนยาวกันทั้งนั้น มาเริ่มเอาใจใส่ ‘สมอง’ ของตัวเองและคนรอบข้างเสียแต่วันนี้เถอะค่ะ
ขอเสริมอีกนิดอย่างที่ได้กล่าวกันไปแล้วว่า ออกซิเจนนั้นเป็นหนึ่งในอาหารสมองที่สำคัญ แต่หลายๆ คนมักหายใจอย่างไม่มีประสิทธิภาพ บางท่านอาจจะงงว่าเราก็หายใจกันอยู่ทุกวินาที ไฉนจึงบอกว่าไม่มีประสิทธิภาพ แต่อย่าลืมว่าเราเพียงหายใจตามความเคยชินของตัวเองเท่านั้น ยกตัวอย่างสาวบางคนติดจะแขม่วหน้าท้องไว้เสมอ ก็จะทำให้หายใจไม่ลึก แถมมนุษย์ยุคใหม่ยังมีแนวโน้มจะหายใจถี่ สั้น ตามการดำรงชีวิตที่เร่งรีบ ทำให้ร่างกายไม่ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
โคเอนไซม์ คิว10 ช่วยรักษาสมดุลในการทำงานของสมอง สำหรับอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินที่เป็นประโยชน์ต่อสมองเหล่านี้ ได้แก่ เห็ด ถั่ว ข้าวซ้อมมือ ผัก และผลไม้ ส่วนจังค์ฟู้ด หรืออาหารขยะที่ชาวอเมริกันนิยมกันนั้นอาจทำให้สมองของคุณด้อยประสิทธิภาพลงเร็วกว่าที่ควร
วิตามินที่ช่วยบำรุงสมองนั้นได้แก่ วิตามิน B1 B6 และ B12 ช่วยดูแลการทำงานของสมอง นอกจากนี้ B12 ยังช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ วิตามิน A เป็นอาหารสมอง ส่วนวิตามินC และ E ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน สำหรับอาหารที่รับประทานนั้นก็ควรงให้ครบห้าหมู่ มีทั้งเนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้ โดยเฉพาะท่านที่ย่างเข้าสู่วัยกลางคนก็ควรเลือกรับประทานเนื้อสัตว์จำพวกปลามากกว่าเนื้อหมูหรือวัวที่ย่อยยาก มิฉะนั้นจะทำให้ง่วงในช่วงบ่าย เพราะร่างกายต้องทุ่มเทพลังงานให้กับการย่อยมากเกินไป
นักวิชาการด้านอาหารของญี่ปุ่นแนะนำว่า ในหนึ่งวันควรแบ่งมื้ออาหารออกเป็น 3 ครั้ง เช้า กลางวัน เย็น และรักษาความสมดุลในแต่ละมื้อให้ดี เพราะด้วยความเร่งรีบในชีวิตประจำวันของคนสมัยใหม่ทำให้หลายๆ คนงดมื้อเช้า หรือบางคนห่วงสวย ต้องการลดอาหารก็จะงดมื้อเย็นเสีย ทำให้สมองไม่ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ
การรับประทานอาหารนั้นแน่นอนว่าย่อมสัมพันธ์กับการทำงานของสมอง อันที่จริงแล้วมีคนถึงกับกล่าวว่า สมองเป็นอวัยวะที่ตะกละตะกลามที่สุดในร่างกายของเราเลยทีเดียว สิ่งที่เรากินจึงส่งผลกระทบไปยังความคิด และพฤติกรรมของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ขอขอบคุณบทความจาก วิชาการ.คอม
-
3348 มาใส่ใจ "สมอง" ด้วยอาหารกันเถอะ /index.php/article-science/item/3348-qq-816เพิ่มในรายการโปรด