สารอาหารก่อโรคนิ่ว ได้จริงหรือ?
โดย :
Administrator
เมื่อ :
วันจันทร์, 11 กุมภาพันธ์ 2556
Hits
25350
ในสมัยก่อนเวลาที่เรากลั้นปัสสาวะ ผู้ใหญ่ก็จะบอกว่าระวังจะเป็น โรคนิ่ว จนทำให้เด็กรุ่นใหม่ต่างคิดว่าโรคนี้เกิดขึ้นจากการกลั้นปัสสาวะเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง นิ่ว ไม่ได้เกิดขึ้นในกระเพาะปัสสาวะเท่านั้น แต่ยังอาจลุกลามไปที่อวัยวะอื่น เช่น นิ่วในไตและนิ่วในถุงน้ำดี ซึ่งโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งพันธุกรรมและสภาวะแวดล้อม
นิ่วในพันธุกรรมนั้นเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่หากเราดูแลร่างกายดี ๆ ปรึกษาแพทย์อย่างสม่ำเสมอ หรือได้รับการผ่าตัดโดยแพทย์ผู้เชียวชาญ โรคนี้ก็ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด..แต่ถึงอย่างไรก็ตามการไม่มีโรคก็ถือเป็นลาภอันประเสริฐยิ่งของมนุษย์เรา ซึ่งอาหารการกินก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้เราห่างไกลจากโรคต่าง ๆ ไม่เว้นแม้แต่โรคนิ่วที่เกิดจากสภาวะแวดล้อม
รู้หรือไม่ว่า..การดื่มกาแฟที่มีสารคาเฟอีนในปริมาณที่พอเหมาะ นอกจากจะทำให้ร่างกายสดชื่นและไม่มีอันตรายต่อสารกระตุ้นประสาทแล้ว ยังช่วยป้องกันการเกิดโรคนิ่วได้เป็นอย่างดี โดยจากการศึกษาของ ดร.มิคาเอล เอฟเล อิตช์มานน์ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด บอสตัน แมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา ได้กล่าวไว้ว่า การดื่มกาแฟที่มีสารคาเฟอีนในปริมาณที่พอเหมาะอย่างน้อยวันละ 4 แก้ว จะช่วยลดความจำเป็นในการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีได้ราว 25 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่ไม่ดื่ม นอกจากนี้ผลไม้ประเภทส้ม มะนาว ผักใบเขียวและอาหารทุกประเภทที่มีวิตามินซีสูงจะช่วยป้องกันการเป็นนิ่วได้อย่างดี
นิ่ว เกิดจากการที่เรารับประทานน้ำสะอาดในแต่ละวันไม่เพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ประกอบอาชีพที่ต้องเผชิญกับความร้อน เช่น พ่อครัว แม่ครัว หรือผู้ที่ต้องสูญเสียเหงื่อมาก คนกลุ่มนี้จะมีอาการขาดน้ำ ทำให้ปัสสาวะน้อยลง เป็นผลให้เกลือแร่ต่างๆ ในร่างกายตกตะกอนและก่อตัวกลายเป็นนิ่วในที่สุด หากก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่เกินไปก็จะไปอุดตันที่ไต ทำให้ปวดหลังส่วนล่างอย่างรุนแรง บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน นอกจากภาวะขาดน้ำแล้วยังมีปัจจัยเสริมอื่นๆ เช่น คนที่กินอาหารประเภทโปรตีน ไขมัน สัตว์ปีก และเครื่องในสัตว์เป็นประจำ ทั้งยังรวมถึงคนที่ไม่ค่อยออกกำลังเคลื่อนไหวร่างกาย ผู้ที่นั่งอยู่กับที่นาน ๆ และผู้ที่ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะอีกด้วย และจากการศึกษาอย่างต่อเนื่องกว่า 10 ปี ของคณะผู้วิจัยจากคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาขอนแก่น และโรงพยาบาลขอนแก่นพบว่า อาหารบางชนิดนอกจากจะช่วยป้องกันการเกิดนิ่วแล้ว อาหารบางประเภทก็ยังเป็นปัจจัยที่สำคัญในการเกิดโรคนิ่วในไตด้วยเช่นกัน เนื่องจากทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสารก่อนิ่ว สารยับยั้งนิ่ว และความเสื่อมของเซลล์เยื่อบุไต ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดนิ่วในปัสสาวะ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าให้เราระแวงระวังจนไม่ต้องเป็นอันรับประทานอาหารใด ๆ อาหารทุกประเภททุกชนิดหากรับประทานในปริมาณมากเกินไปจะเกิดโทษต่อร่างกายในบางคน แต่ถ้าทานอย่างไม่เพียงพอก็จะกลายเป็นว่าเราขาดสารอาหารไปโดยปริยายเช่นกัน ทางที่ดีควรรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ ทุกชนิดในประมาณที่พอเหมาะต่อร่างกายจะดีกว่า อย่าลืมว่าร่างกายแต่ละคนแตกต่างกัน และมีความต้องการสารอาหารในแต่ละประเภทแตกต่างกันด้วย
ทำอย่างไรให้ห่างไกลนิ่ว
1.) ดื่มน้ำสะอาดที่ต้มสุก หรือน้ำที่กรองจากเครื่องกรองน้ำที่ได้มาตรฐาน ไม่ตกตะกอน หรือมีเชื้อโรคเจือปนให้ได้อย่างน้อยวัน 8-10 แก้ว
2.) หลีกเลียงการรับประทานแคลเซียมที่มีความสามารถในการละลายน้ำต่ำ หากร่างกายต้องการแคลเซียมเสริมสร้างกระดูก ควรเลือกแคลเซียมที่มีประสิทธิภาพในการละลายน้ำสูง ที่ไม่หลงเหลือหินปูนให้ไปเกาะตามไตและส่วนต่างๆ ของร่างกาย
3.) พยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มจัด ซึ่งในแต่ละวันควรควบคุมการบริโภคเกลือให้ไม่เกิน 6 กรัม หรือโซเดียมไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัม
4.) รับประทานผักและผลไม้มากๆ โดยเฉพาะกล้วยหอม ส้ม และน้ำส้ม ซึ่งอุดมไปด้วยโพแทสเซียม เนื่องจากการกินผัก ผลไม้สดมากๆ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในไตลงครึ่งหนึ่ง
3.) พยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มจัด ซึ่งในแต่ละวันควรควบคุมการบริโภคเกลือให้ไม่เกิน 6 กรัม หรือโซเดียมไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัม
4.) รับประทานผักและผลไม้มากๆ โดยเฉพาะกล้วยหอม ส้ม และน้ำส้ม ซึ่งอุดมไปด้วยโพแทสเซียม เนื่องจากการกินผัก ผลไม้สดมากๆ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในไตลงครึ่งหนึ่ง
5.) ควรรับประทานผักสดมากกว่าผักต้ม เพราะการต้มผักจะทำให้โพแทสเซียมซึ่งเป็นสารอาหารที่สำคัญในการป้องกันการเกิดนิ่วสลายไปจนหมดสิ้น
6.) ควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในเลือดและโรคเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
7.) รับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด
8.) รับประทานอาหารที่อุดมด้วยคอลโรฟิลล์ วิตามินซี โพแทสเซียม และกรดประเภทซิเตรท มาเลท และทาร์เทต เพื่อช่วยยับยั้งการเกิดนิ่ว
ขอขอบคุณบทความจาก วิชาการ.คอม
7.) รับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด
8.) รับประทานอาหารที่อุดมด้วยคอลโรฟิลล์ วิตามินซี โพแทสเซียม และกรดประเภทซิเตรท มาเลท และทาร์เทต เพื่อช่วยยับยั้งการเกิดนิ่ว
ขอขอบคุณบทความจาก วิชาการ.คอม
คำสำคัญ
สาร,อาหาร,โรค,นิ่ว
ประเภท
Text
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
Administrator
วิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ป.4, ป.5, ป.6, ม.1, ม.2, ม.3, ม.4, ม.5, ม.6
กลุ่มเป้าหมาย
ครู, นักเรียน, บุคคลทั่วไป
-
3349 สารอาหารก่อโรคนิ่ว ได้จริงหรือ? /index.php/article-science/item/3349-2013-02-11-02-36-23เพิ่มในรายการโปรด