ว่าด้วยเรื่อง "ไม้ขีดไฟ"
โดย :
Administrator
เมื่อ :
วันศุกร์, 01 มีนาคม 2556
Hits
30103
ไม้ขีดไฟ ที่เราใช้อย่ในปัจจุบันนี้ ซึ่งมีการพัฒนามาจากไม้ขีดไฟที่ผลิตโดยเภสัชกร ชาวอังกฤษ ที่มีชื่อว่า จอห์น วอลเคอร์ เมื่อปีค.ศ. 1827
แต่ตอนนั้น เป็นไม้ขีดไฟ เราสามารถนำไปขีดกับอะไรก็ได้ จึงไม่มีความที่แน่นอน ว่าจะติดไฟหรือไม่กันแน่ และต่อมาอีก 3 ปี ได้มีชาวฝรั่งเศส ที่มีชิ่ว่า ชาร์ลส์ ซุริอา ที่ใช้ ฟอสฟอรัสขาว นำมาผสมในหัวไม้ขีดไฟ เพื่อที่จะเป็นตัวช่วยให้ไม้ขีดไฟนั้น สามารถติดไฟง่าย จึงได้เรียกไม้ขีดชนิดนี้ว่า ลูซิเฟอร์ นั้นเอง
แม้ว่าไม้ขีดไฟลูซิเฟอร์ จะสามารถใช้งานได้ดีมาก แต่มันก็มีข้อเสียอยู่ เพราะฟอสฟอรัสขาว ซึ่งเมื่อติดไฟแล้ว จะปล่อยควันพิษออกมาปริมาณที่มาก จึงส่งผลเสีย ให้กับผู้ที่สูดควันนั้นเข้าไป และอาจมีอาการกระดูกขากรรไกรกร่อน และอาจถึงขั้นพิการได้อีกด้วย
เพราะฉะนั้นจึงมีผู้พยายามคิดค้น ไม้ขีดไฟ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายเรา และผู้ทำสำเร็จคือ นายจอห์น ลันสตรอม ชาวสวีดิช ที่อยู่ในช่วงกลางศตวรรษ 1850 เขาได้เปลี่ยนการใส่ฟอสฟอรัสขาว เป็น ฟอสฟอรัสแดง แทน ซึ่งไม่มีพิษลงไปแทนตัวนั้น รวมทั้งใส่ส่วนผสมอื่นๆ เข้าไว้ที่หัวไม้ขีดไป เพื่อช่วยในการติดไฟ ที่ดีขึ้นกว่าเดิมด้วย
และในปัจจุบันนี้ ไม้ขีดไฟ ที่มีหัวไม้ขีด ที่จะผสมสารกำมะถันเข้าไปด้วย เพื่อช่วยให้เกิดเปลวไฟ ในขณะที่สารโพแทสเซียมคลอเรต และสารแอนตี้โมนีซัลไฟด์ ที่จะเป็นตัว ที่ให้ออกซิเจนแก่เปลวไฟ ไฟที่ติด ก็จะได้ไม่ดับวูบ ลงไปในเวลาอันรวดเร็วอีกด้วย
ส่วนสีแดงที่ได้นำมาเคลือบเอาไว้อยู่ที่หัวไม้ขีดไฟนี้ จะเป็นสารฟอสฟอรัสแดงซึ่งจะช่วยป้องกันการขูดขีด ที่ไม้ขีดไฟ ติดไฟได้นั้น เพราะที่ข้างกล่องไม้ขีดไฟ มีฟอสฟอรัสแดง ในการขีด ก็คือ การทำให้ฟอสฟอรัสแดงระเหิดออกมา แล้วมารวมกับออกซิเจน ที่จะเกิดจากหัวไม้ขีดไฟ ที่จะทำให้หัวไม้ขีดติดไฟ และสามารถลุกไหม้ก้านไม้ขีด ได้อย่างที่เราใช้กันอยู่จนถึงทุกวันนี้เอง
ที่มา : totojakey.com
คำสำคัญ
ไม้,ขีด,ไฟ
ประเภท
Text
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
Administrator
วิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ป.4, ป.5, ป.6, ม.1, ม.2, ม.3, ม.4, ม.5, ม.6
กลุ่มเป้าหมาย
ครู, นักเรียน, บุคคลทั่วไป
-
3389 ว่าด้วยเรื่อง "ไม้ขีดไฟ" /index.php/article-science/item/3389-qq823เพิ่มในรายการโปรด