ไทม์แมชชีนของสมอง!!
โดย :
Administrator
เมื่อ :
วันศุกร์, 03 พฤษภาคม 2556
Hits
16139
การที่เราตอบว่า “ไม่มีอะไร” ในขณะที่เราดูเหมือน “กำลังทำบางสิ่งบางอย่างและเราก็ไม่สามารถทำอะไรได้เลยสักอย่าง” (ดังเช่นพฤติกรรมของคนที่กำลังทำท่าใจลอยทั้งหลาย) นั่นแปลว่าเราพึ่งสอบผ่านในวิชาตรรกะและเหตุผล แต่เราสอบตกในเรื่องวิทยาศาสตร์สมอง
วงจรมืด (dark network)
การทำหน้าที่ของจิตใจของผู้คนบางอย่าง เช่น การนับเลขในใจ การคาดการณ์รูปร่าง และแยกแยะใบหน้า เหล่านี้เป็นต้น มีผลทำให้แต่ละส่วนของเซลล์ในสมองมีการทำงานแตกต่างกันด้วย และเราสามารถมองเห็นการทำงานของสมองในขณะนั้นได้โดยทำการสแกนสมอง ภาพสแกนที่ปรากฏจะเห็นการทำงานของเซลล์สมองบริเวณเกรย์แมทเตอร์ (ซึ่งเป็นเซลล์สมองสีเทา มีงานวิจัย ยืนยันแล้วสมองส่วนนี้เกี่ยวข้องกับสติปัญญา โดยพบว่าบริเวณเซลล์สีเทาจะหนาขึ้นในระดับสติปัญญาที่สูงขึ้น) แสดงสีแยกให้เห็นเด่นชัดจากบริเวณอื่น บริเวณสมองส่วนแสดงสีสว่างในขณะที่บริเวณอื่นที่แสดงสีมืด โดยส่วนที่มีความมืดนี้เราเรียกว่า วงจรมืด (dark network ซึ่งประกอบไปด้วยบริเวณสมองส่วนฟรอนตอล พารีอ์ตอล และมีเดียลเทมโพรอล) แต่ก่อนเข้าใจว่าส่วนที่กล่าวมานี้ไม่ได้ทำงาน แต่เร็วๆนี้นักวิจัยสามารถยืนยันได้ว่าในขณะที่สมองส่วนอื่นๆทำงาน บริเวณวงจรมืด (ที่อาจจะเข้าใจว่าไม่ได้ทำงาน) ก็กำลังทำงานเช่นกัน ถ้าเราต้องการคำตอบที่ชัดเจนเพื่อดูการทำงาน ก็ต้องทำการแสกนสมองด้วยเอฟเอ็มอาร์ไอ จะสามารถมองเห็นการทำงานของสมองส่วนวงจรมืดเป็นเหมือนรังผึ้ง ดูเผินๆจะเหมือนผึ้งในรังถูกแช่แข็งไว้เครือข่ายต่างๆตกอยู่ในความเงียบ มีความเป็นไปได้ว่า เมื่อไรก็ตามที่ดูเหมือนว่าเราไม่ได้ทำอะไร แต่จริงๆแล้วอวัยวะบางส่วนกำลังทำบางสิ่งบางอย่างอย่างชัดเจน แล้วสิ่งนั้นคืออะไร
คำตอบคือ อาจเป็นไปได้ว่าไทม์แมชชีนของสมองกำลังทำงานหรือไม่ ?
โดยปกติแล้ว ในขณะที่คนเรามีความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบสิ่งใด ร่างกายของคนเราจะขยับเพื่อตอบสนองต่อสิ่งนั้นด้วยความเร็วในอัตราวินาทีต่อวินาที แต่จิตใจของคนเรานั้น สามารถเดินทางทะลุเวลาได้ในทุกช่องทางและทุกความเร็วของการสื่อสาร ความสามารถบางอย่างของคนเรานั้น ให้เราลองหลับตาและจินตนาการถึงความสนุกในการแข่งขันฟุตบอลนัดที่เราเป็นแฟนพันธ์แท้ ในวันหยุดสุดสัปดาห์ที่จะถึง หรือทบทวนความทรงจำอันลิงโลดที่เกิดขึ้นในคืนก่อนวันหยุดเทศกาลปีใหม่หรือวันหยุดเทศกาลอื่นใด คงพอจะต่อภาพจิ๊กซอออกถึงศักยภาพของการทำหน้าที่ของสมองมนุษย์ ซึ่งถือเป็นพรสวรรค์ที่ยอดยิ่งในกลุ่มอาณาจักรสัตว์ด้วยกัน
สมองของคนเรามีการทำงานเหมือนเครื่องไทม์แมชชีนที่มหัศจรรย์ มีความสามารถเดินทางไปในที่แห่งใดก็ได้ รวมถึงความเป็นอัจริยภาพในการจัดลำดับกาลเวลาที่จะเดินทางตามความต้องการที่จะไป ในทางตรงข้ามถ้าเครื่องไทม์แมชชีนเครื่องนี้ของเรามีปัญหาไม่ว่าจะเป็น จากความเจ็บป่วยด้วยโรคสมองเสื่อม อุบัติเหตุทางสมอง เราคงจะประสบปัญหาอย่างใหญ่หลวงในการจินตนาการภาพดังที่กล่าวมาได้ การอุดตันของเส้นใยประสาทที่เหมือนเน็ทเวิร์คขนาดใหญ่จะสร้างปัญหาให้กับความจำในวันวานและความนึกฝันในอนาคตอย่างมากมายมหาศาลทีเดียว
การเดินทางอย่างน่าอัศจรรย์ ไปอนาคต... กลับอดีต...ได้อย่างไร้ขีดจำกัด.....
ทำไมวิวัฒนาการการสร้างสมองของคนเราจึงมีการเดินทางอย่างน่าอัศจรรย์ คำตอบอาจจะเป็นเพราะประสบการณ์เลวร้ายบางอย่างที่สูญเสียไป การเผชิญโลกภายนอกที่เต็มไปด้วยอันตราย ซึ่งบางครั้งประสบการณ์เล็กๆน้อยในอดีตบางอย่างก็เป็นการเรียนรู้ที่สำคัญ ยกตัวอย่างเช่น ในวัยเด็กที่เราถูกห้ามว่า “อย่าจับเตาร้อน” หรือเรื่องอะไรเล็กๆน้อยๆที่พ่อแม่ห้ามโดยที่ไม่ทราบเหตุผลนั้น เมื่อกาลเวลาผ่านไปเราก็สามารถเรียนรู้ว่าความร้อนของหม้อนั้นมันทำอันตรายให้กับเรา เราจะหาวิธีป้องกัน เป็นต้น การเรียนรู้ใหม่ของคนเราอาจจะถูกจ่ายไปสำหรับประสบการณ์ครั้งเดียวหรือหลายๆครั้งก็ได้ การเดินทางไปมาระหว่างอดีตกับปัจจุบันของสมองทำให้คนเราสามารถทบทวนเรื่องราวต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์การเรียนรู้ใหม่ทีหลังได้ เหมือนซื้อตั๋วเครื่องเดียวดูหนังได้หลายรอบนั่นเอง
การเดินทางอย่างน่าอัศจรรย์ ไปอนาคต... กลับอดีต...ได้อย่างไร้ขีดจำกัด.....
ทำไมวิวัฒนาการการสร้างสมองของคนเราจึงมีการเดินทางอย่างน่าอัศจรรย์ คำตอบอาจจะเป็นเพราะประสบการณ์เลวร้ายบางอย่างที่สูญเสียไป การเผชิญโลกภายนอกที่เต็มไปด้วยอันตราย ซึ่งบางครั้งประสบการณ์เล็กๆน้อยในอดีตบางอย่างก็เป็นการเรียนรู้ที่สำคัญ ยกตัวอย่างเช่น ในวัยเด็กที่เราถูกห้ามว่า “อย่าจับเตาร้อน” หรือเรื่องอะไรเล็กๆน้อยๆที่พ่อแม่ห้ามโดยที่ไม่ทราบเหตุผลนั้น เมื่อกาลเวลาผ่านไปเราก็สามารถเรียนรู้ว่าความร้อนของหม้อนั้นมันทำอันตรายให้กับเรา เราจะหาวิธีป้องกัน เป็นต้น การเรียนรู้ใหม่ของคนเราอาจจะถูกจ่ายไปสำหรับประสบการณ์ครั้งเดียวหรือหลายๆครั้งก็ได้ การเดินทางไปมาระหว่างอดีตกับปัจจุบันของสมองทำให้คนเราสามารถทบทวนเรื่องราวต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์การเรียนรู้ใหม่ทีหลังได้ เหมือนซื้อตั๋วเครื่องเดียวดูหนังได้หลายรอบนั่นเอง
เมื่อไรก็ตามที่เราอยู่ในเหตุการณ์วุ่นวายบางอย่าง เช่น การอยู่ท่ามกลางกลุ่มเด็กๆ หรือจราจรที่ติดขัดสับสนวุ่นวาย วงจรมืดในสมองของเราก็จะตกอยู่ในความเงียบ แต่ในทันทีที่เราต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ยุ่งเหยิงเหล่านั้น วงจรมืดในสมองก็จะตื่นตัวและทำงานทันที ขณะเดียวกันก็เริ่มเดินทางไปในอดีตและปัจจุบัน เส้นใยประสาทที่เหมือนเน็ทเวิร์คขนาดใหญ่ในสมองจะมีการเชื่อมต่อกัน เกิดเป็นโครงสร้างการประสานงานขนานใหญ่ เพื่อหาทางออกว่าเราจะทำอะไรได้บ้างในการปลดปล่อยตัวเราให้เป็นอิสระจากความวุ่นวายรอบตัวนั้น
การเรียนรู้ของสัตว์โดยทั่วไปได้จากการประสบการณ์ซ้ำๆและความผิดพลาด แต่ในสัตว์ที่ฉลาดกว่าจะเรียนรู้จากความผิดพลาดน้อยครั้งกว่าสัตว์ทั่วไป การเดินทางผ่านเวลาของสมองของคนเราเปรียบเสมือนกับเครื่องไทม์แมชชีน ที่พาเราไปไปในอดีตและอนาคตได้อย่างไม่มีขีดจำกัด ซึ่งการเดินทางไปในอดีตจะต้องใช้ประสบการณ์เพียงครั้งเดียวก็เกิดการเรียนรู้ได้ แต่การเดินทางไปในอนาคตของคนเราอาจจะต้องใช้ประสบการณ์ที่มีอยู่ทั้งหมด ความสามารถและทักษะบางอย่างของเรา สามารถเรียนรู้ได้โดยที่เราอาจจะไม่ได้ลงมือปฏิบัติ เช่น การฝันและจินตนาการว่าเราไปด่าเจ้านายและเราถูกทำโทษ นั่นก็ทำให้เราได้เรียนรู้อะไรบางอย่างโดยที่เราไม่ต้องทำจริง เป็นเพียงความฝันก็สร้างให้เกิดการเรียนรู้เป็นประสบการณ์ได้ วงจรมืดในสมองจะไม่นำพาเราเดินทางไปอนาคตถ้าเรื่องดังกล่าวนั้นไม่ได้มีเราเกี่ยวข้องอยู่ เช่น หุ้นจะขึ้นลงอย่างไร หรือ ฮิลลารี คลินตัน จะชนะเลือกตั้งหรือไม่ วงจรมืดจะตกอยู่ในความเงียบ ยกเว้นว่าเรื่องที่กล่าวมาทั้งสองเรื่องเกี่ยวข้องกับเราเท่านั้น
คำถามที่ว่า วงจรมืดในสมองนี้ทำงานบ่อยเท่าไร ?
คำตอบนี้นักวิทยาศาสตร์สมองแนะนำว่า ก็ต้องดูว่าเราใช้เวลาจากความปัจจุบันไปมากน้อยเท่าไร (สั้นๆก็คือเราใช้เวลาไปกับการใจลอยนั้นเท่าไรในแต่ละเหตุการณ์) คนเราโดยทั่วไปมักไม่ได้จดจำว่าเราใช้เวลาใจลอยกี่ครั้งในแต่ละวันและแต่ละครั้งกี่นาที สิ่งแวดล้อมบางอย่างเช่น เสียงเด็กร้อง เสียงสุนัขเห่า หรือเสียงโทรศัพท์ เหล่านี้จะเป็นตัวดึงเครื่องไทม์แมชชีนให้กลับมาเป็นตัวของตัวเองในแต่ละครั้ง
กล่าวโดยสรุป
วงจรมืดเป็นเหมืนกับเครื่องไทม์แมชชีนของสมอง ที่จะนำพาเราให้สามารถเดินผ่านกาลเวลาไปในอดีตและปัจจุบันได้ เป็นความสามารถของคนเราที่มองเห็นได้จากการสามารถคิดทบทวนเรื่องเราต่างๆ ที่เรามีประสบการณ์และเกี่ยวข้องด้วย (ความทรงจำของเราในอดีต) เป็นเหมือนกับการกระตุ้นให้กับวงจรมืดในสมองทำงาน สิ่งที่สังเกตเห็นได้จากภายนอกก็คือ การที่คนเราทำใจลอยๆเหมือนไม่ได้คิดอะไรนั่นแหละ สมองของเขาเหล่านั้นโดยเฉพาะวงจรมืดกำลังทำงานอย่างเต็มที่นั่นเอง
ที่มา : กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
คำสำคัญ
ไทม์แมชชีน,สมอง
ประเภท
Text
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
Administrator
วิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ม.1, ม.2, ม.3, ม.4, ม.5, ม.6
กลุ่มเป้าหมาย
ครู, นักเรียน, บุคคลทั่วไป
-
3519 ไทม์แมชชีนของสมอง!! /index.php/article-science/item/3519-2013-05-03-03-31-13เพิ่มในรายการโปรด