อันตรายจากไฟดูด
ในช่วงฤดูฝนเช่นนี้ นอกจากการดูแลสุขภาพร่างกายให้ปลอดภัยจากโรคภัยต่าง ๆ แล้ว ยังอาจมีปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยฉุกเฉิน หรืออันตรายถึงชีิวิต กล่าวคืออันตรายจากไฟฟ้าช็อต และไฟฟ้าดูด เนื่องจากละอองฝนอาจกระเด็นไปโดนปลั๊กไฟหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าจนอาจส่งผลให้เกิดไฟฟ้าช็อตหรือไฟฟ้าลัดวงจรได้
ภาพที่1 : ป่านเตือนอันตรายจากไฟฟ้าช๊อต
ที่มา : https://pixabay.com
ผลของไฟฟ้าดูดต่อร่างกายมนุษย์
อันตรายจากไฟฟ้าดูด มีผลต่อมนุษย์แตกต่างกันไปตามขนาดกระแสไฟฟ้าและสุขภาพร่างกายของบุคคล ตามที่ได้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลของกระแสไฟฟ้าที่มีต่อร่างกายมนุษย์โดยใช้ค่า เฉลี่ยค่าที่ได้แตกต่างกันออกไปตามมาตรฐาน
ร่างกายที่เปียกชื้นจะมีความต้านทานต่ำ ทำให้กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านร่างกายได้สูง ดังนั้นขณะที่ร่างกายเปียกชื้น จึงไม่ควรสัมผัสกับตัวอุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นการดีที่สุด
ปัจจัยความรุนแรงของไฟฟ้าดูด
เมื่อบุคคลถูกไฟฟ้าดูด กระไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกายเป็นปัจจัยหนึ่งของอันตรายเท่านั้น ความจริงแล้วตัวแปรที่สำคัญที่มีผลต่อความรุนแรง มี 3 อย่าง คือ
- ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่าน ไฟฟ้าแรงสูง จะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายมีปริมาณสูงด้วยและจะมี อันตรายมากกว่าแรงดันต่ำ
- ระยะเวลาที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย
- เส้นทางที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย ไฟฟ้าดูดป้องกันได้ หลักพื้นฐานของการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูด คือการไม่ไปสัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้า สำหรับผู้ที่มีความรู้ทางไฟฟ้า ก็จะมีต้องมีวิธีการ และใช้อุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม ในการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า การป้องกันที่ดี คือ การมีระบบสายดิน หรือเรียกว่าการต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าลงดิน แต่ที่สำคัญคือการต่อลงดินต้องทำอย่างถูกต้อง โดยผู้ที่มีความรู้จริงเท่านั้นจึงจะได้ผล เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการต่อลงดินไว้แล้ว เมื่อเกิดไฟฟ้ารั่ว เครื่องป้องกันกระแสเกิน (ฟิวส์หรือเซอร์กิตเบรกเกอร์) จะทำงานตัดเครื่องใช้ไฟฟ้าออกจากวงจร ที่โครงโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้าก็จะไม่มีไฟฟ้า
วิธีป้องกันไฟฟ้าดูดง่าย ๆ ที่คุณควรรู้
โดยทำการเลือกพิจารณาเลือกซื้อปลั๊กไฟและสายพ่วงอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับความต้องการของพื้นที่และการใช้งานเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการถูกไฟฟ้าดูดให้น้อยลงหรือไม่เกิดขึ้นเลย
- เลือกซื้อปลั๊กไฟและสายพ่วงอย่างระมัดระวัง เน้นวัสดุที่มีคุณภาพพ
- ติดตั้งสายไฟให้พ้นหรือห่างไกลจากทางเดิน
- ไม่วางสิ่งของทับหรือนำสายไฟพาดผ่านอุปกรณ์หรือสิ่งใด ๆ ที่มีความเสี่ยงจากไฟฟ้าช๊อต
- ดูแลการเสื่อมสภาพของอุปกรณ์ต่อพ่วงและสายไฟอย่างสม่ำเสมอ
- ควรรีบทำการซ่อมแซมอุปกรณ์หรือสายไฟที่มีการชำรุด หรือควรซื้อใหม่เพื่อป้องกันอันตราย
- ไม่ซ่อมแซมเครื่องใช้และอุปกรณ์ไฟฟ้าด้วยตนเองเป็นอันขาด หากไม่มีความรู้ทางไฟฟ้า
- ไม่ควรใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าจำนวนมากกับปลั๊กไฟในจุดเดียวจนมากเกินไป
- อย่าแตะต้องอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ขณะตัวเปียกน้ำ
- ควรทำการต่อสายดินกับเครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อเป็นการนำไฟฟ้าลงสู่ดิน
- ติดตั้งอุปกรณ์สำหรับป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรภายในอาคารบ้านเรือน
วิธีช่วยเหลือคนที่กำลังถูกไฟฟ้าดูด
1.ห้ามเข้าไปช่วยผู้ถูกไฟฟ้าช๊อต จนกว่าจะแน่ใจได้ว่าผู้บาดเจ็บมิได้สัมผัสกับสายไฟฟ้าหรือตัวนำไฟฟ้าใด ๆ จากนั้นจึงตัดวงจรไฟฟ้าที่ลัดวงจรก่อนเข้าไปช่วยเหลือ
2.ห้ามเข้าไปช่วยผู้ถูกไฟฟ้าช๊อต ถ้าผิวหนังผู้ที่จะช่วยนั้นเปียกชื้น เพราะอาจเป็นตัวนำกระแสไฟฟ้าและถูกไฟฟ้าดูดได้
ถ้าไม่แน่ใจว่าจะปลอดภัยหรือไม่ในการเข้าไปช่วยเหลือเนื่องจากไม่มีความรู้ในการตัดกระแสวงจรไฟฟ้าหรือวิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้อง ให้รีบตามคนมาช่วย อันตรายจากไฟฟ้า เราสามารถป้องกันได้ และเมื่อเกิดเหตุร้ายจากไฟฟ้ากับคุณ หรือคนใกล้เคียง ควรพยายามตั้งสติ และปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้น อย่าลืมว่า “อันตรายจากไฟฟ้า ป้องกันได้ถ้าไม่ประมาท”
แหล่งที่มา
เอกสารประกอบการเรียนรายวิชา ช่างไฟฟ้า. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2560, จาก
http://www.tatc.ac.th/files/09010714141801_11052813132825.pdf
FandP . (2551,12 ตุลาคม). อันตรายจากไฟฟ้า และการป้องกัน. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2560, จาก
http://oknation.nationtv.tv/blog/ene0710/2008/10/12/entry-1
Tartoh . (2560,9 กันยายน). 10วิธีป้องกันไฟฟ้าดูดง่ายๆที่คุณควรรู้. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2560, จาก
http://www.tartoh.com/topic/9773/10วิธีป้องกันไฟฟ้าดูดง่ายๆที่คุณควรรู้
รศ.นพ.พรพรหม เมืองแมน . (2560,7 กรกฏาคม). อันตรายจากไฟฟ้าหน้าฝน! ป้องกันได้. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2560, จาก
http://www.sanook.com/health/7665/
-
7471 อันตรายจากไฟดูด /index.php/article-science/item/7471-2017-09-08-03-29-35เพิ่มในรายการโปรด