Ad hoc Network (Part I) : Ad hoc Network Technology
โครงข่ายเฉพาะกิจ (Ad hoc Network) เป็นโครงข่ายไร้สายที่ถูกสร้างขึ้นชั่วขณะในกรณีที่ไม่มีการอำนวยการส่วนกลาง อันประกอบด้วยโนด(Node) ที่สามารถเคลื่อนที่ได้และมีการประสานกันแบบไร้สาย เพื่อส่งข้อมูลในรูปของแพ็คเกตข้อมูลระหว่างโนด โดยโนดที่อยู่ในโครงข่ายเฉพาะกิจสามารถทำหน้าที่เป็นได้ทั้ง แม่ข่าย (Host)และ อุปกรณ์จัดเส้นทาง(Router)
โครงข่ายเฉพาะกิจ ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในระบบกู้ภัยต่างๆ ในบริเวณที่ไม่มีโครงสร้างพื้นฐานของโครงข่ายสัญญาณ หรือในบริเวณที่ตัวจ่ายสัญญาณในพื้นที่อันเกิดภัยพิบัติ ได้รับความเสียหายจนกระทั่งไม่สามารถจ่ายสัญญาณไปยังอุปกรณ์อื่นๆได้ในขณะนั้น ด้วยเพราะโครงข่ายเฉพาะกิจมีความยืดหยุ่นในการทำงาน ทำให้สามารถช่วยในการสื่อสารที่หลากหลาย ในกรณีที่เกิดภัยพิบัติแบบวงกว้าง และทำให้การปฏิบัติการกู้ภัยเป็นไปโดยสะดวกและทันท่วงทียิ่งขึ้น
ซึ่งในประเทศไทยได้มีการทำวิจัยเกี่ยวกับ การเชื่อมโยงระหว่างโครงข่ายสื่อสารไร้สายเคลื่อนที่เฉพาะกิจและเครือข่ายภาคพื้นดิน เพื่อการสื่อสารแบบหลากสื่อในกรณีภัยพิบัติวงกว้าง ซึงผู้วิจัยเอง ก็ได้เห็นปัญหาจริงที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์สึนามิในปี 2547 ที่ว่าประเทศไทยยังขาดโครงสร้างการสื่อสารในกรณีฉุกเฉินอย่างกรณีที่เกิดภัยพิบัติ ที่โครงข่ายหลักถูกทำลายจนอยู่ในสภาพที่ใช้การไม่ได้
นอกจากนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่าชีวิตประจำวันของเรานั้นต้องอาศัยการเดินทาง และรถยนต์ถือได้ว่าเป็นปัจจัยหลัก ซึ่งปัจจุบันมนุษย์มีการใช้รถยนต์เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ความสำคัญของการบริหารจัดการระบบจราจรให้มีประสิทธิภาพเพื่อลดปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นเช่น การเกิดอุบัติเหตุ ปัญหาจราจรติดขัด จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก และสาเหตุหลักๆคือการขาดการติดต่อสื่อสารระหว่างรถยนต์เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลสภาพจราจรแบบเวลาจริง (Real times traffic information) ด้วยสาเหตุนี้ ระบบ Ad hoc Network จึงได้เข้ามามีบทบาทในการสื่อสารกันระหว่างรถยนต์ที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง รวมถึงการสื่อสารระหว่างรถยนต์กับสถานีรับส่งสัญญาณข้างทาง (Road Side Units หรือ RSU) และถูกเรียกเทคโนโลยีนี้ว่า VANET หรือ Vehicular Ad hoc Network ข้อมูลที่ได้จากเครือข่าย VANET สามารถช่วยในการเผ้าระวัง หรือใช้ตอบสนองในการตัดสินใจที่เร็วขึ้นเพื่อลดอุบัติเหตุ เช่น ถ้าหากรถคันหน้าหยุดกะทันหันเนื่องจากอุบัติเหตุ ก็สามารถที่จะแจ้งเตือนรถคันหลังให้หยุดชะลอความเร็ว และยังสามารถนำมาวิเคราะห์ปัญหาการจราจรได้อีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น บริษัท BMW Group ซึ่งพัฒนา รถยนต์อัจฉริยะซึ่งสามารถควบคุมตนเองได้และมีระบบจัดการการสื่อสารด้วยตนเอง โดยจะมีการเชื่อมโยงเครือข่ายของรถยนต์แต่ละคันไว้ด้วยกัน และสามารถสื่อสารกันได้ถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่ง สัญญาณเตือนเหตุการณ์อันตรายจะถูกส่งโดยการสื่อสารจากรถยนต์สู่รถยนต์โดยตรง ซึ่งระบบเครือข่ายสำหรับการสื่อสารนี้ไม่จำเป็นต้องใช้โครงสร้างพื้นฐานใดๆ
สรุปก็คือ ประโยชน์ของ ad hoc network นั้นคือการที่มันสามารถสร้างขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ,สามารถสร้างขึ้นได้ทันที โดยไม่ต้องมีโครงสร้างของสถานีฐานและ ไม่ต้องมีผู้ดูแลระบบโครงข่าย ทำให้มันช่วยประหยัดงบประมาณลงไปได้พอสมควรทีเดียว
ในการสื่อสารระหว่างโนดนั้น ในพื้นที่หนึ่งๆเมื่อมีโนดหลายๆโนด การจะส่งข้อมูลจากโนดต้นทางไปยังโนดปลายทาง หรือจากอุปกรณ์ส่งข้อมูล ไปยังอุปกรณ์รับข้อมูลจำเป็นจะต้องมีวิธีการค้นหาเส้นทาง เพื่อช่วยให้สามารถส่งข้อมูลเหล่านั้นได้ประสบความสำเร็จ วิธีการดำเนินการในการจัดหาเส้นทาง เราเรียกอีกอย่างว่า โพรโทคอลค้นหาเส้นทาง (Routing Protocol) ซึ่งจะไปอธิบายการทำงานในส่วนของบทความ “Ad hoc Network (Part II) : Proactive Routing Protocol concept” และ“Ad hoc Network (Part III) : Reactive Routing Protocol concept”
เนื้อหาจาก
-http://service.nectec.or.th/project0/pgShowPrj.php?chrFlg01=1&chvCodPrj=II5103&color=brown
-http://portal.acm.org/citation.cfm?id=1503380&dl=GUIDE&coll=GUIDE&CFID=69997501&CFTOKEN=40327762
-http://w3.antd.nist.gov/wctg/manet/adhoclinks.html
-https://sites.google.com/site/tecnovanet/
ภาพจาก
-http://ntrg.cs.tcd.ie/undergrad/4ba2.05/group11/index.html
-https://sites.google.com/site/tecnovanet/
-
4830 Ad hoc Network (Part I) : Ad hoc Network Technology /index.php/article-technology/item/4830-ad-hoc-network-part-i-ad-hoc-network-technologyเพิ่มในรายการโปรด