ภาษาสากลของโลกในอนาคต
เชื่อว่าทุกคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าปัจจุบัน ภาษาสากลของโลกคือ ภาษาอังกฤษ หรือ ไม่นานผ่านมานี้ เคยมีคนให้ความคิดเห็นว่า ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ คือภาษาของโลกในอนาคต เคยสงสัยกันบ้างไหมว่า นอกจากภาษาอังกฤษ และภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ยังมีภาษาอะไรที่จะเป็นภาษาสากลของโลกได้อีกบ้าง?
ภาพที่ 1 การสื่อสาร
https://pixabay.com
ช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา เราคงเคยได้ยินคำว่า โค้ดดิ้ง (Coding) กันอยู่บ่อย ๆ ในที่นี้หลาย ๆ คนอาจเคยอ่านบทความที่เกี่ยวกับข้องกับชื่อบทความนี้มาแล้ว เช่น “ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะเป็นภาษาสากลในอนาคต” ซึ่งก็เป็นเรื่องราวการนำเสนอให้เห็นถึงความสำคัญที่ว่า “แนวโน้มของการขับเคลื่อนนวัตกรรมของโลกนั้น สายงานที่เปรียบเสมือนฟันเฟืองของเศรษฐกิจในยุคนี้ที่ขาดไม่ได้เลยคือนักพัฒนาโปรแกรม” นั่นหมายถึงให้คนโดยทั่วไปตระหนักและให้ความสำคัญในการเริ่มต้นเรียนรู้และศึกษาการทำงานของภาษาโปรแกรม ซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานที่เทียบเท่ากับภาษาอังกฤษ อย่างน้อยก็อยู่ในระดับที่ควรจะรู้ไว้ ในอนาคตอันใกล้ เพราะก็มีแนวโน้มอันใกล้ที่ประเทศไทยของเรา อาจมีการบรรจุเรื่อง “การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์” เข้าเป็นหลักสูตรการศึกษาพื้นฐานที่เด็กทุกคนต้องได้เรียนกัน ซึ่งบทความนี้มีความเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง
สำหรับบทความนี้ อยากเขียนให้อ่านกันในมุมมองอีกมุมหนึ่ง โดยให้ความคิดเห็นตามสถานการณ์ปัจจุบันหรือยุคของโลกทางการสื่อสารที่เปลี่ยนแปลงไป แล้วคิดว่าภาษาอะไรจะเป็นภาษาสากลของโลกได้อีก ที่จริงแล้วยังไม่มีเคยมีใครบัญญัติความหมายของคำว่า ภาษาษากลเลยด้วยซ้ำ หากเรามองในด้านการสื่อสารทั่วไปจริง ๆ เราลองมาพิจารณาค้นหาภาษาสากลอีกมุมหนึ่ง จากคำถาม 2 คำถามนี้ ชวนให้คิดกันดีกว่า
คำถามแรก ภาษาคืออะไร
เรามีคำตอบให้ ภาษาคือ “การสื่อสารจำเป็นต้องอาศัยสัญลักษณ์หรือภาษาเพื่อสื่อความคิด ความเข้าใจ ความรู้สึกซึ่งกันและกัน การสื่อสารจำเป็นต้องอาศัยทั้งสัญลักษณ์และภาษาเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ตรงกัน”
คำถามที่สอง ทำไมปัจจุบัน ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากล
อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ก็เพราะมันเป็นภาษาที่คนส่วนใหญ่ใช้สื่อสารกัน เข้าใจกันทั่วโลก
จากคำตอบทั้งสองคำถาม อาจกล่าวได้ว่า ภาษาสากลก็คือ การสื่อสารที่อาศัยสัญลักษณ์เพื่อสื่อความคิด ความรู้สึก และความเข้าใจทั่วโลก ภาษาอะไรที่เข้าข่ายความหมายนี้ได้บ้าง
ภาพที่ 2 Emoticon
ที่มา https://pixabay.com
มีใครนึกถึง สติกเกอร์ (Stickers) หรือ อีโมติคอน (Emoticon) บ้างไหม ขอใช้ชื่อเรียกรวม ๆ ให้มันว่า เป็นภาษาสัญลักษณ์ ก็แล้วกัน เชื่อว่าตั้งแต่ที่เราได้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ก็คงคุ้นเคยกับการแชท หรือพูดคุยผ่านโปรแกรมหรือแอพลิเคชั่นการสื่อสารทางคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนทั่วไป
จริง ๆ แล้วสิ่งเรานี้เราใช้งานมันบ่อยมาก ๆ มานานแล้ว ลองคิดดูง่าย ๆ กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงว่า ทุกวันนี้เราติดต่อสื่อสารหรือแชทพูดคุยกันทางแอพพลิเคชั่น โดยลดการคุยทางโทรศัพท์ ให้ลึกไปกว่านั้น สังเกตดี ๆ ว่า เราใช้สัญลักษณ์เพื่อพูดคุยแทนการพิมพ์เป็นข้อความซะส่วนใหญ่ เช่น ใช้สติกเกอร์ และ อีโมติคอน มาถึงตอนนี้ สัญลักษ์เหล่านี้เอง ก็พัฒนาไปไกลถึงขั้นมีเสียงประกอบแล้วด้วย
แล้วมันสากลอย่างไร
สติกเกอร์ (Stickers) หรือ อีโมติคอน (Emoticon) เหล่านี้ชุดของสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่มีจุดประสงค์เพื่อแสดงสีหน้าและอารมณ์ของมนุษย์ เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นใคร ชาติไหน ก็สามารถสื่อสารพูดคุยกันได้ แต่ก็น่าคิดต่อไปอีก สัญลักษณ์เหล่านี้จะมีความซ้ำซ้อนในการสื่อสารได้ในระดับไหนกันเชียว เพราะบางอย่างมันก็ไม่ได้สามารถสื่อสารให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ผ่านสัญลักษณ์เพียงตัวเดียวใช่ไหม
แน่นอนว่า นี่เป็นเพียงมุมมองหนึ่ง ซึ่งคิดว่า ภาษาสัญลักษ์ อย่างสติกเกอร์ (Stickers) หรือ อีโมติคอน (Emoticon) อาจจะสามารถเป็นภาษาสากลได้ในอนาคต
แหล่งที่มา
บัญญพนต์ พูนสวัสดิ์. ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะเป็นภาษาสากลในอนาคต. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2560, จาก
https://www.digitalagemag.com/ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะเป็นภาษาสากลในอนาคต
พิมล มองจันทร์. ภาษาคืออะไร. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2560, จาก
https://www.gotoknow.org/posts/322514
สัญรูปอารมณ์. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2560, จาก
https://th.wikipedia.org/wiki/สัญรูปอารมณ์
-
7457 ภาษาสากลของโลกในอนาคต /index.php/article-technology/item/7457-2017-09-07-08-51-03เพิ่มในรายการโปรด