ยืนยันตัวตน ของคนยุคดิจิทัล
เป็นที่จับตามาเป็นเวลาพักใหญ่เกี่ยวกับการให้บริการประชาชน สำหรับระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล หรือการยืนยันตัวตนในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งก็ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จะช่วยเป็นกลไกผลักดันการค้าและธุรกิจในยุคดิจิทัล ภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0
ภาพ Digital ID แบบสแกนลายนิ้วมือ
ที่มา https://pixabay.com/th , PublicDomainPictures
อย่างที่ทราบดีว่ายุคดิจิทัลถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี แต่จะเห็นได้ว่าก่อนหน้านี้ปัญหาที่ทราบกันดีเกี่ยวกับการสูญเสียเวลาและทรัพยากรในการดำเนินงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการของรัฐแก่ประชาชนและภาคธุรกิจหรือการให้บริการของภาคธุรกิจแก่ประชาชน ซึ่งจะต้องผ่านขั้นตอนการการพิสูจน์และยืนยันตัวตนที่มีความซ้ำซ้อนของเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของแนวทางการพัฒนาการให้บริการที่มีความรวดเร็ว มั่นคง และปลอดภัยมากขึ้นด้วยระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล Digital ID (Digital Identity) หรือระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ ในกรอบการทำงานของประเทศที่มีชื่อว่า National Digital ID Infrastructure หรือ National Digital ID Platform
Digital ID โครงสร้างพื้นฐานสำคัญของแนวทางการพัฒนานี้ ที่จะเป็นตัวกลางการเชื่อมต่อทั้งหมด โดยลักษณะของ Digital ID พื้นฐานที่ทุกคนรู้จักกันดีก็คือ หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลักนั่นเอง แต่ก็มีแนวโน้มที่เป็นไปได้มากกว่านั้นคือการใช้ลายนิ้วมือ สแกนม่านตา สแกนใบหน้า การล็อกอินผ่านอินเทอร์เน็ต ด้วยเฟซบุ๊ก หรือโมบายแบงก์กิ้ง เข้ามาใช้ประกอบด้วย
ซึ่งหลักการใช้ Digital ID ดังกล่าวเป็นการนำเอาอัตลักษณ์บุคคลเพื่อนำมาพิสูจน์และยืนยันตัวตนในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเข้าถึงการบริการกรือการทำธุรกรรมออนไลน์ต่าง ๆ ในโลกความเป็นจริงกับ Digital ID ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การพิสูจน์ตัวตน (identity proofing) ซึ่งจะต้องมีการลงทะเบียนกับหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบระบบนี้ ทั้งนี้มีข้อมูลกล่าวว่าเป็นกรมการปกครอง ซึ่งข้อมูลที่ลงทะเบียนจะเป็นข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ หน่วยงานต่าง ๆ ที่ต้องการใช้งานข้อมูลหรือให้บริการก็จะต้องพัฒนาระบบของตนเองและนำมาเชื่อมโยงกับฐานข้อมูล ทั้งนี้ต้องได้รับความยินยอมจากบุคคลที่ลงทะเบียนไว้ก่อน จึงจะสามารถนำข้อมูลไปใช้ได้ ซึ่งในการนำข้อมูลไปใช้หรือการการเข้าถึงข้อมูลก็จะต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบสิทธิ์ผู้เข้าใช้บริการซึ่งเรียกว่า Authentication โดยกระบวนการ Identity Proofing และ Authentication ต้องผ่านระดับความน่าเชื่อถือที่แบ่งเป็นระดับต่าง ๆ โดยแต่ละระดับกำหนดความต้องการ ในด้านการตรวจสอบตัวตนและด้านการพิสูจน์ตัวตน
การแบ่งระดับความน่าเชื่อถือเป็น 2 ด้าน ได้แก่
- ระดับความน่าเชื่อถือของอัตลักษณ์ (Identity Assurance Level : IAL) คือ ระดับความเข้มงวดในกระบวนการพิสูจน์ตัวตนของผู้สมัครใช้บริการ แบ่งอีกเป็น 3 ระดับ คือ IAL 1 , IAL 2, IAL 3
- ระดับความน่าเชื่อถือของสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน (Authenticator Assurance Levels : AAL) คือ ระดับความเข้มงวดในกระบวนการยืนยันตัวตนของผู้ใช้บริการ แบ่งอีกเป็น 3 ระดับ คือ AAL 1 , AAL 2, AAL 3
One stop service ประโยคการให้บริการคุ้นหูของหน่วยที่ตอบสนองความต้องการพื้นฐานในการให้การบริการแก่ผู้รับบริการ ซึ่งการมี National Digital ID เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้อย่างแน่นอน
แต่ทั้งนี้ต้องแจ้งให้ทราบก่อนว่าข้อมูลที่นำเสนอไปทั้งหมดนี้ เป็นเพียงร่างข้อเสนอแนะมาตรฐานเกี่ยวกับแนวทางการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับประเทศไทย (Digital Identity Guideline for Thailand) เพียงเท่านั้น ซึ่งก็ต้องรอฉบับสมบูรณ์ซึ่งจะประกาศโดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
แหล่งที่มา
Narudom Roongsiriwong . (2561, 1 กุมภาพันธ์). Identity Proofing vs Authentication . สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2561, จาก
https://narudomr.blogspot.com/2018/02/identity-proofing-authentication.html
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับ กระทรวงการคลัง ร่วมดันใช้ DIGITAL ID ยืนยันตัวตน สร้างความมั่นใจผู้ใช้ ประหยัดเวลารับบริการภาครัฐและธุรกรรมการเงิน. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2561, จาก
http://www.digitalid.or.th/?page_id=7638
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. ข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ว่าด้วยแนวทางการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับประเทศไทย - ภาพรวม และอภิธานศัพท์. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2561, จาก
https://standard.etda.or.th/wp-content/uploads/2018/03/20171204-PRD-DigitalID-Overview-V01-09.pdf
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. ข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ว่าด้วยแนวทางการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับประเทศไทย การยืนยันตัวตน. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2561, จาก
https://standard.etda.or.th/wp-content/uploads/2018/03/20171204-PRD-DigitalID-Authentication-V01-05.pdf
ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์. (2560, 9 พฤษภาคม). ถึงเวลาแล้วที่เราจะมี Digital ID สำหรับประชาชนซะที . สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2561, จาก
https://narudomr.blogspot.com/2018/02/identity-proofing-authentication.html
-
7930 ยืนยันตัวตน ของคนยุคดิจิทัล /index.php/article-technology/item/7930-national-digital-idเพิ่มในรายการโปรด