ความเข้าใจดิจิทัลกับผู้สูงอายุ
เชื่อหรือไม่ว่าประเทศไทยกำลังจะสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยอ้างอิงข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขพบว่า ผู้สูงอายุชาวไทย และคาดว่าในปี 2568 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็น “สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์” ซึ่งจะมีผู้สูงอายุ 1 คนต่อประชากรทุก ๆ 5 คน หรือประมาณกว่า 14 ล้านคน และภายในปี 2583 จะเพิ่มจำนวนขึ้นเป็น 17 ล้านคน มากกว่า 1 ใน 4 ของประชากรทั้งประเทศ
ภาพ ผู้สูงอายุกับการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีดิจิทัล
ที่มา https://unsplash.com , Tiago Muraro
คุณภาพชีวิต
สิ่งที่ควรให้ความสำคัญที่สุดคือ คุณภาพชีวิต ปฏิเสธไม่ได้ว่าตามความเป็นจริงของสังคมมองกลุ่มผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ไม่มีรายได้ ต้องพึ่งพา เป็นภาระทั้งต่อตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ ทั้งด้านสุขภาพ การเงิน ความเสื่อมจากเซลล์สมอง การขาดแคลนคนดูแล คนเข้าใจ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นภาพลบที่บ่งบอกได้เลยว่าเป็นช่วงวัยที่มีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดีเอาเสียเลย
พลิกวิกฤตของสังคมสูงวัยด้วยดิจิทัล
คงเป็นเรื่องที่ดีไม่น้อยหากเราจะก้าวข้ามผลกระทบของสังคมผู้สูงอายุในช่วงพอที่จะเริ่มต้นนี้ได้ก็คงเป็นเรื่องที่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง ในเมื่อทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวของเรากำลังขับเคลื่อนด้วยยุคที่เรียกว่า ดิจิทัล ผ่านนโยบายไทยแลนด์ 4.0
การผลักดันกลุ่มผู้สูงอายุให้เป็นผู้ประกอบการรายใหม่ เป็นแนวทางหนึ่งของยุคการสร้างนวัตกรรม เพื่อพลิกจากวิกฤตของสังคมสูงวัยให้เป็นโอกาส หากมองความเป็นไปได้ของแนวทางนี้ก็นับว่าเป็นแนวคิดที่เป็นไปได้ค่อนข้างมากเลยทีเดียว เพราะกลุ่มผู้สูงอายุในบางกลุ่มอาจเป็นกลุ่มที่มีเงินทุนอยู่บ้าง มีเครือข่ายมีความรู้รวมไปถึงมีประสบการณ์ ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบมากกว่าเสียเปรียบ หากแต่มองดังที่กล่าวมาคือข้อดีที่อาจทำให้เป็นไปได้ แต่สิ่งหนึ่งที่กลุ่มผู้สูงอายุยังขาดอยู่คือ เรื่องของความรู้ความเข้าใจและการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลเท่านั้นเอง
ทั้งนี้ การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล จึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอีกเช่นเดียวกัน ซึ่งจะช่วยให้ผู้สูงอายุใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้อย่างสร้างสรรค์ และเกิดประโยชน์ต่อการใช้งานสำหรับการเป็นผู้ประกอบการ อีกทั้งยังมีความรู้เท่าทันโลก สามารถหาข้อมูลที่ถูกต้องได้ด้วยตนเอง และไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ
นอกจากนี้ในด้านของสุขภาพจิต การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลก็ยังมีส่วนสร้างเสริมกิจกรรมต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี เช่นการพักผ่อนและคลายความเครียดจากภาวะการไม่ได้ทำงาน อีกทั้งยังช่วยสร้างความสัมพันธ์กันในครอบครัวอีกด้วยตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายายจนถึงลูกถึงหลาน โดยจะเห็นได้จากการติดต่อสื่อสารกันในครอบครัวผ่านช่องทางออนไลน์
ซึ่งแน่นอนว่าแนวทางที่ให้ความสำคัญกับการให้การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเรื่องที่น่ายินดีเป็นอย่างมาก สังคมโลกในอนาคตก็จะมีแต่พลเมืองที่ถึงแม้ว่าจะเป็นผู้สูงอายุแต่ก็จะเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพอย่างแน่นอน สามารถมีความสุขและพึ่งพาตนเองจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้
แหล่งที่มา
กระทรวงดิจิทัลฯ จับมือพันธมิตรภาคเอกชน จัดนิทรรศการ “วัยเก๋ายังแฮปปี้ 4.0” ชวนกลุ่มคนสูงวัยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2561, จาก
http://www.mdes.go.th/view/1/ข่าวกระทรวงฯ/2689/
วิถีใหม่ “ผู้สูงอายุ” ยุค Thainand 4.0. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2561, จาก
http://www.ryt9.com/s/prg/2687819
สังคมสูงวัยกับยุค Thailand 4.0. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2561, จาก
http://www.bangkokbiznews.com/pr/detail/25761
-
7943 ความเข้าใจดิจิทัลกับผู้สูงอายุ /index.php/article-technology/item/7943-2018-03-20-04-39-55เพิ่มในรายการโปรด