Hormones วัยรุ่นวัยว้าวุ่น
Hormones วัยรุ่นวัยว้าวุ่น
ละครซีรีส์ขวัญใจวัยรุ่นอันดับ 1 ของไทย “ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น″ จะมีชื่อสาร?ฮอร์โมน แต่ละตัวประกอบเข้าไปด้วยเพื่อความเข้าใจได้ง่ายๆว่า ฮอร์โมนแต่ละตัวทำหน้าที่อะไรบ้าง? ที่ทุกคนต้องเคยรู้จักชื่อกันมาบ้างล่ะ วันนี้เรามาทำความรู้จัก Hormones ต่างๆ ที่ทำให้วัยรุ่นว้าวุ่นกัน
Hormones คืออะไร
Hormones (อังกฤษ: hormone มาจากภาษากรีกที่ว่าhormanแปลว่าเคลื่อนไหว ) คือสารเคมีประเภทหนึ่งที่ผลิตจากต่อมไร้ท่อ(คล้ายกับถุงเล็กๆในร่างกายซึ่งบรรจุสารเคมีที่เรียกว่าฮอร์โมนอยู่ภายใน) แล้วไหลเวียนไปตามกระแสเลือด เพื่อควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย อย่างเช่น ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโต ลักษณะ การแสดงออกทางเพศ และการทำงานของระบบต่างๆ นักวิทยาศาสตร์พบว่าทั้ง พืช สัตว์ และมนุษย์ ต่างก็ผลิตฮอร์โมนได้ในแบบที่แตกต่างกัน และฮอร์โมนที่ผลิตมานั้นต่างก็มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต นักวิทยาศาสตร์ได้จำแนก Hormones ที่มีผลต่อความรู้สึกในวัยรุ่น ซึ่งเป็นช่วงของวัยเจริญพันธุ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และความรู้สึกอย่างรวดเร็ว ไว้ดังนี้
ฮอร์โมนเพศ เป็นฮอร์โมนที่มีอิทธิพลต่อลักษณะทางเพศในแบบต่างๆ ฮอร์โมนเพศที่มีอิทธิพลต่อเรามากคือ เทศโทสเตอโรน (Testosterone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมการแสดงออกของเพศชาย และฮอร์โมน เอสโตรเจน (Estrogen) ซึ่งควบคุมการแสดงออกของเพศหญิง ตามธรรมชาติร่างกายของเราจะหลั่งฮอร์โมนเพศทั้ง 2 ชนิดนี้ในสัดส่วนที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล ในด้านอารมณ์ ในผู้ชายโฮโมนเพศทั้ง 2 นี้จะผลิตจากลูกอัญฑะ ส่วนในผู้หญิงจะมีการผลิตที่รังใข่ในสัดส่วนที่แตกต่างกันทั้งชายหญิง ฮอร์โมนเพศนี้ส่งผลให้เรามีความรู้สึกต้องการใครบางคน หรือรู้สึกเหงา ว้าเหว่ ได้อีกด้วย
เทสโทสเตอโรน หรือฮอร์โมนเพศชายนั้นนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาพบว่า ฮอร์โมนตัวนี้มักจะถูกผลิตขึ้นในตอนกลางคืนช่วงที่เราหลับสนิท หนุ่มๆมักมีฮอร์โมนเพศชายที่เด่น ซึ่งก็เป็นผลให้พวกเขาชอบความท้าท้าย ชอบแข่งขัน ชอบชัยชนะ ชอบเซ็กส์ รักสนุก
ส่วน เอสโตรเจน จะถูกผลิตในช่วงวัยเจริญพันธ์ ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้ผู้หญิงมีความรักแบบผูกพัน มั่นคง ซื่อสัตย์ ประเภทรักแล้วรักเลย เอสโตรเจนมีความสำคัญในการผลิตประจำเดือนของผู้หญิง และทำให้การทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกายเป็นปกติ
ฮอร์โมนโดปามีน (Dopamime) เป็นฮอร์โมนที่ส่งผลต่ออารมณ์ของบุคคล ทำให้มีความตื่นตัว รู้สึกกระฉับกระเฉง มีสมาธิ ไวต่อการกระตุ้นต่างๆ รอบตัว ทำให้มีความกระปรี้กระเปร่าและมีความสุข ถ้าร่างกายมีฮอร์โมนโดปามีนน้อยเกินไปอาจจะทำให้เกิดโรคพาร์กินสันได้
ฮอร์โมนเอ็นโดรฟิน (Endorphins) เป็นฮอร์โมนแห่งความสุข อารมณ์ดี ทำให้สมองเจริญเติบโตและเรียนรู้ได้ดี โดยจะหลั่งออกมาเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดและในผู้หญิงขณะคลอดร่างกายจะผลิตสารนี้ถึง 10 เท่า เพื่อทำให้รู้สึกเจ็บปวดน้อยลงนั่นเอง ฮอร์โมนเอ็นโดรฟินจะผลิตมาจากต่อมใต้สมอง ถ้าขาดฮอร์โมนนี้จะส่งผลให้ความสุขของเราลดน้อยลงแม้ว่าจะฟังเพลงที่เราเคยชอบก็อาจจะไม่รู้สึกมีความสุขเหมือนเคย
ฮอร์โมนเซโรโทนิน (serotonin) เป็นฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกสบาย ผ่อนคลาย ทำหน้าที่เกี่ยวกับการแสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึก ควบคุมการนอนหลับ รวมถึงการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย และความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ หากร่างกายผลิตฮอร์โมนเซโรโทนินน้อยเกินไปก็จะทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า แต่ในคนที่มีฮอร์โมนเซโรโทนินมากมักจะเป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์ รับรู้ได้เร็ว และยังส่งผลให้มีอารมณ์ที่มั่นคง ไม่แปรปรวนอีกด้วย
ฮอร์โมนอะดรีนารีน (Adrenaline) หรือเอพิเนฟรีน ( epinepinephirne) เป็นฮอร์โมนที่สร้างขึ้นจากต่อมหมวกไต ซึ่งจะหลั่งออกมาขณะที่มีความรู้สึกโกรธ ตกใจ หรือตื่นเต้นอย่างรุนแรง ทำให้ความดันเลือดสูงสามารถส่งไปเลี้ยงกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างรวดเร็ว หลอดลมขยายขึ้นส่งผลให้ออกซิเจนเข้าสู่ปอดได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน ซึ่งเป็นกลไกของร่างกายเพื่อรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพทั้งร่างกายได้ในเวลาอันสั้นเรามักพบเห็นผลการทำงานของฮอร์โมนตัวนี้เวลาเกิดเหตุฉุกเฉิน อย่างเช่น เมื่อเกิดไฟใฟม้ บางคนสามารถยกของที่หนักกว่าที่เคยยกยามปกติได้อย่างสบาย
ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ( Progesterone) เป็นฮอร์โมนที่หลั่งจากรังไข่ ที่ใช้ในการควบคุมประจำเดือนจะทำงานร่วมกับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ฮอร์โมนนี้มีความสำคัญสำหรับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์เพราะมีหน้าที่ช่วยกระตุ้นให้ผนังมดลูกหนาตัวขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมการฝังตัวของทารกในครรภ์นั่นเอง
ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Crotisol) ฮอร์โมนนี้จะตรงข้ามกับฮอร์โมน เอ็นโดฟิน(Endorphins) เพราะเป็นฮอร์โมนแห่งความเครียด จะหลั่งออกมาเมื่อเราเกิดความเครียด โดยผลิตจากต่อมหมวกไต ถูกสร้างขึ้นมากในตอนเช้าเพื่อให้ร่างกายตื่นตัว สำหรับคนที่มีความเครียดมากๆ ฮอร์โมนนี้จะหลั่งออกมามากทำให้เกิดอาการหิวโหย ต้องกินบ่อยๆ และเป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคอ้วนอีกด้ว
วัยรุ่นจะหยุดการ เจริญเติบโตเมื่อไร
ก็ประมาณอายุ 20-21 ปี เราถือการหยุดการเจริญเติบโตทางด้านส่วนสูง เด็ก จะเจริญเติบโตทางร่างกายอย่างรวดเร็วอยู่ 1 ปีถึง 1 ปีครึ่ง หลังจากนั้นจะโตต่อไปอย่างช้าๆ เด็กหญิงมักหยุดโตเมื่ออายุ 15-16 ปี ส่วนเด็กชายอาจสูงขึ้นได้อีกจนอายุ 20 ปี
ส่วนสูงนั้น มันขึ้นกับกระดูกยาว ซึ่งส่วนหัวท้ายของกระดูกเป็นตำแหน่งให้กระดูกเจริญเติบโตงอกยาวขึ้นได้ เรื่อยๆ พอถึงช่วงหนึ่ง บริเวณนี้มันจะหยุด เหมือนกับว่ามันปิดหัวปิดท้าย พอมันปิดหัวปิดท้ายเมื่อไร กระดูกมันจะไม่งอกออกในด้านส่วนยาวแล้ว มันจะเติบโตก็ด้านส่วนกว้าง เพราะฉะนั้นที่หัวท้ายของกระดูกยาว เช่น กระดูกท่อนแขน ท่อนขา มันปิด ก็หยุดโตและตัวที่ทำให้หัวท้ายปิดก็คือ ฮอร์โมนเพศชายและเพศหญิงนี่แหละ
ถ้าเผื่อเด็กอายุสัก 15 ปี แล้วยังไม่โตสักที ลักษณะทางเพศ ก็ยังไม่มีสักที พ่อแม่เด็กบางคนกังวล ตัวเด็กบางคนก็กังวล เกิดไปซื้อยามากินเพราะอยากโต หรือวัยรุ่นอยากมีหนวดมีเครา อยากเป็นผู้ใหญ่ ก็ไปซื้อฮอร์โมนจาร้านขายยามากิน นี่ก็เป็นอันตรายเหมือนกัน เพราะ จริงอยู่ เมื่อกินเข้าไปแล้ว เรื่องการเจริญเติบโตทางเพศก็เกิดขึ้น มีหนวดมีเคราขึ้น แต่ฮอร์โมนเพศมันมีข้อเสียอันหนึ่งคือ มันไปปิดหัวท้ายกระดูก พอปิดปั๊บ มันก็ไม่โต เด็กก็ไม่สูงขึ้น ทำให้กลายเป็นตัวเตี้ยไป แทนที่จะได้สูงกว่านี้ เพราะฉะนั้นการให้ ฮอร์โมนเพศในวัยรุ่น สำคัญมาก ควรระวัง
แหล่งที่มา : http://www.ppat.or.th/th/article/teenage_hormone
http://www.nsm.or.th/index.php?option=com_k2&view=item&id=666:hormones-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A-%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%A7%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99&Itemid=723
http://tinyzone.tv/HealthDetail.aspx?ctpostid=2486
http://hpe4.anamai.moph.go.th/hpe/data/teenage/menstrualRegulation.pdf
http://www.vachiraphuket.go.th
http://th.wikipedia.org
http://www.oknation.net
-
4397 Hormones วัยรุ่นวัยว้าวุ่น /index.php/article-science/item/4397-2-10-14เพิ่มในรายการโปรด