สัมภาษณ์หญิงไทยคนแรกที่ได้ไปอวกาศ
การเดินทางขึ้นสู่อวกาศนั้นเป็นสิ่งที่หลายๆ คนใฝ่ฝัน เช่นเดียวกันกับ "หญิงไทยคนแรกที่ได้ไปอวกาศ"
มิ้ง พิรดา เตชะวิจิตร์ วิศวกรดาวเทียมประจำสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA)
คุณมิ้งจบการศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งในขณะที่เรียนอยู่ชั้นปีที่ 3 นั้นได้รับทุนไปฝึกงานที่บริษัทอินเทล ประเทศอินเดีย เป็นเวลาหนึ่งปี ก่อนจะกลับมาเรียนจนจบ จากนั้นได้รับทุนการศึกษาภายใต้ THEOS Operation Training Program (TOTP) ของโครงการพัฒนาดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของไทย หรือดาวเทียมไทโชต ไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ด้านวิศวกรรมดาวเทียม ที่สถาบัน ISAE ประเทศฝรั่งเศส ปัจจุบันทำงานในตำแหน่ง นักพัฒนานวัตกรรม สำนักพัฒนาอุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA)
คุณมิ้งมีความสนใจทางด้านอวกาศและอยากเป็นนักบินอวกาศมาโดยตลอด รวมทั้งมีคนที่เป็นแรงบันดาลใจให้เดินตามความฝัน คือ นักบินอวกาศหญิงคนแรกของเกาหลีใต้ “คุณ ยี โซฮยอน” และสุดท้ายก็ได้ผ่านการคัดเลือกรอบสุดท้ายเป็น 1 ใน 23 คน ที่จะได้ร่วมเดินทางไปอวกาศในปี พ.ศ. 2558 ในโครงการ แอ็กซ์ อพอลโล สเปซ อคาเดมี (AXE Apollo Space Academy)
ซึ่งหลังจากได้รับรางวัลมาต้องฝึกภารกิจหลัก 3 ภารกิจ คือ
- Air combat หรือ ภารกิจ “G Centrifuge” เป็นการฝึกนั่งเครื่องบินในห้องนักบินในสภาวะการขับขี่ยานขึ้นสู่อวกาศจริงแบบซิมูเลเตอร์ เพื่อทดสอบสภาวะร่างกายและลองเปิดรับประสบการณ์จริงภายใต้แรงดันสูงสุดถึง 4.5 จี ทดสอบบินจริงบนเครื่องบินความเร็วมากกว่าความเร็วเสียง พร้อมกลับหัวกลางอากาศ ซึ่งระหว่างฝึกปฏิบัติภารกิจนี้ จะรู้สึกว่าเลือดมันไหลเวียนลงไปที่เท้า เหมือนโดนฉุดกระชากลงไป ซึ่งจะส่งผลให้หน้ามืด เพราะฉะนั้นผู้ฝึกต้องพยายามเกร็งไม่ให้เลือดลงไปเยอะ ต้องใช้พลังงานสูงและร่างกายต้องฟิตและแข็งแรงมากๆ
- ภารกิจสภาวะไร้น้ำหนัก หรือ Zero G Flight ไฟลต์บินเป็นโค้งพาราโบลา ซึ่งเป็นสภาวะที่ไม่สามารถทำได้บนพื้นโลกปกติ เป็นหนึ่งในบททดสอบของผู้ชนะการแข่งขัน EXE Apollo เพื่อฝึกซ้อมร่างกายและจิตใจให้พร้อมก่อนจะเดินทางไปสัมผัสสภาวะไร้น้ำหนักในห้วงอวกาศ โดยภารกิจนี้ถือเป็นภารกิจหนึ่งที่เข้มข้นและยากอีกทั้งเป็นประสบการณ์ที่หาบนโลกไม่ได้
- ภารกิจฝึกในเครื่อง G Force คือฝึกให้ลองอยู่ในเครื่องที่มีแรงเหวี่ยง นอกจากผ่านการฝึกภารกิจทั้ง 3 ภารกิจแล้ว อีกหัวใจหลักของการฝึกนี้ก็คือ การทำงานเป็นทีมเวิร์ก รวมถึงสภาวะการเป็นผู้นำที่ทุกคนต้องมี นอกจากนี้ยังต้องมีการฝึก Astronaut Assault Course คือการฝึกความแข็งแกร่งของร่างกาย ในเรื่องของความกล้าหาญ เสมือนการฝีกในค่ายทหาร เช่น ปีนผาจำลอง วิดพื้น 50 ครั้ง ซิตอัพ 50 ครั้ง กระโดดข้ามรั้ว กระโดเชือก ซึ่งเป็นภารกิจที่ถือว่าหนักมาก
ภายในเดือนธันวาคม 2558 นี้ ชื่อของ มิ้ง พิรดา เตชะวิจิตร์ จะถูกบันทึกเป็นหญิงไทยคนแรกที่ได้ไปอวกาศ ที่พร้อมทะยานขึ้นสู่ห้วงอวกาศด้วยความเร็ว 3,552 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งจะใช้เวลาแค่ 3 นาทีครึ่งเท่านั้น บนยาน LYNX MARK II (ลิงซ์ มาร์ค ทู) และยานก็จะมาอยู่ที่บริเวณระดับความสูงเหนือพื้นดิน 103 กิโลเมตร และเมื่อขึ้นไปแลวจะคางอยูบนอวกาศได้สัมผัสกับภาวะไร้แรงโน้มถ่วงนาน 6 นาที เธอจะสามารถมองเห็นโลกได้ทั้งใบโดยไร้แรงโน้มถ่วง และจดจำกับประสบการณ์อันล้ำค่านี้ ก่อนที่จะพากลับมายังพื้นโลก ซึ่งการเดินทางบนห้วงอวกาศนี้ใช้เวลารวม 60 นาที ซึ่งขณะนี้ไฟลตเดินทางกําลังอยูในชวงของการทดสอบ
และเมื่อถึงเวลานั้น....ชื่อของ “พิรดา เตชะวิจิตร” ก็จะถูกบันทึกไวในประวัติศาสตรวาเปนหญิงไทยคนแรกที่ได้ไปอวกาศ
อ้างอิงจาก
http://fieldtrip.ipst.ac.th/intro_sub_content.php?content_id=34&content_folder_id=423
http://women.mthai.com/amazing-women/162837.html
http://www.ap.mju.ac.th/data_silo/newsys/2014-03-04-10-25-04-002477ST6.pdf
http://www.thairath.co.th/content/412530
-
4418 สัมภาษณ์หญิงไทยคนแรกที่ได้ไปอวกาศ /index.php/article-earthscience/item/4418-2014-12-04-07-49-22เพิ่มในรายการโปรด