สืบจากการ์ตูนโคนัน และซีรีย์ CSI (ตอนที่1) การตรวจรอยเลือดจากการเรืองแสงของลูมินอล
มาลองสืบจากรอยเลือดกันเถอะ !!
คิดว่าหลายๆคนคงเป็นแฟนพันธ์แท้ของการ์ตูนแนวสืบสวนอย่าง “โคนัน เจ้าหนูยอดนักสืบ” หรือ ซีรีย์แนวสอบสวนอย่าง “CSI: Crime Scene Investigation” ถ้าใครเคยดูบ่อยคงเคยได้ยินคำว่า “ปฏิกิริยาลูมินอล” กันแน่ๆ แล้วปฏิกิริยาลูมินอลนี้คืออะไร และสามารถใช้ตรวจสอบอะไรได้บ้าง ?
ลูมินอล (Luminol: C8H7N3O2) เป็นสารเคมีที่สามารถตรวจพบร่องรอยของเลือดได้ ซึ่งหน่วยงาน Crime Scene Investigation หรือ CSI จะใช้บ่อยเพื่อหาร่องรอยของเลือดถึงแม้ว่าจะใช้ไม้ถูพื้นทำความสะอาดลบรอยเลือดแล้วก็ตาม แต่ถ้าไม่ใช้สารเคมีช่วยล้าง รอยเลือดนั้นจะติดอยู่นานเป็นปีโดยที่คนเราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยในการสืบสวนสอบสวนคดีฆาตกรรม จะใช้สารเคมีนี้ พ่นเป็นฝอยบนพื้นที่ที่สงสัยว่าจะมีคราบเลือด จากนั้นจะใช้ไฟฉายแสงยูวีส่อง ก็จะเห็นคราบเลือดเรืองแสงสีน้ำเงินอมเขียว
Luminol: C8H7N3O2
สารลูมินอลจะทำปฏิกิริยากับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ เป็นกระบวนการที่พลังงานของสารเริ่มต้นมากกว่าสารผลิตภัณฑ์ ทำให้โมเลกุลคายพลังงานที่เหลือออกมาในรูปแบบของโฟตอนแสง โดยเหล็กที่อยู่ในฮีโมโกลบินในเลือดจะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้การเรืองแสงเด่นชัดขึ้น เรียกกระบวนการนี้ว่า “Chemiluminescence”
วิธีเตรียมสารของ CSI
ลูมินอลที่เป็นสารชนิดผงนำมาผสมกับของเหลวที่มีส่วนประสมของ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ไฮดรอกไซด์ และอื่นๆ ซึ่ง ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ และ ลูมินอล เป็นส่วนผสมหลัก ผสมเสร็จก็นำมาใส่ขวดสเปรย์ไว้ก็พร้อมใช้งานแต่ถ้าแค่นั้น ปฏิกิริยาจะเกิดช้าจึงต้องการตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อเห็นแสงที่เปล่งออกมาได้ไวขึ้น ซึ่งในกรณีเลือด เหล็กที่อยู่ในฮีโมโกบิลเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
การตรวจร่องรอยเลือดจากการเรืองแสงของลูมินอล
ลูมินอลเป็นสารชนิดผงที่มีคุณสมบัติเรืองแสง (Chemiluminescence) ได้เมื่อผสมกับตัวออกซิไดซ์ที่เหมาะสม ในทางนิติวิทยาศาสตร์ได้มีการใช้ลูมินอลเพื่อหาร่องรอยเลือดในสถานที่เกิดเหตุ โดยสารละลายลูมินอลจะทำปฏิกิริยากับเลือดทำให้เกิดการเรืองแสงขึ้น สารละลายลูมินอลเตรียมจากการละลายผงลูมินอลกับสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ทำให้ได้ลูมินอลในรูปไดแอนไออน (dianion) ซึ่งมีความเสถียรสูง
จากนั้นจึงเติมสารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ทำให้ได้ก๊าซออกซิเจน ซึ่งจะทำปฏิกิริยาอย่างรวดเร็วกับลูมินอลในรูปไดแอนไอออน เกิดเป็นลูมินอลที่มีโครงสร้างไม่เสถียร (intermediate luminal) และมีพลังงานสูง ทำให้ต้องมีการปล่อยพลังงานออกมาในรูปแสงสีฟ้าเพื่อทำให้เกิดโครงสร้างลูมินอลที่มีความเสถียรที่สุด
Chemiluminescence
สารเคมีที่ใช้
- ลูมินอล Luminol
- 10% โซเดียมไฮดรอกไซด์ NaOH
- 3% สารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ในน้ำกลั่น H2O2
- 10% สารละลายเลือดในน้ำกลั่น (Blood)
- เอธานอล (Ethanol)
- 10% โซเดียมไฮดรอกไซด์ : โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนตอิ่มตัว
เครดิตเรื่อง
http://mysteryforu.com/luminol/
http://nstda.or.th/sciencecamp/th/file/4432738T9UBODRSK5.pdf
เครดิตภาพ
http://www.stemclubs.net/
http://images.gizmag.com/hero/luminol.jpg
-
4419 สืบจากการ์ตูนโคนัน และซีรีย์ CSI (ตอนที่1) การตรวจรอยเลือดจากการเรืองแสงของลูมินอล /index.php/article-chemistry/item/4419-csiเพิ่มในรายการโปรด