การศึกษาการผลิตเอนไซม์เซลลูเลสและสมบัติโดยใช้วิธีอิเล็กโตรโฟริซิส
เซลลูโลส (cellulose) เป็นสารชีวโมเลกุล จำพวกคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ โดยมีมวลโมเลกุลอยู่ระหว่าง 10,000-100,000 ดอลตัน รวมทั้งมีรูปร่างการจัดเรียงตัวระหว่างโมเลกุลที่ต่อกันออกไปหลายแบบแล้วแต่การเชื่อมต่อกัน (linkage) ของโมโนเมอร์ (monomer) ซึ่งก็คือ ดี-กลูโคส (D-glucose) โดยการเชื่อมกันส่วนใหญ่จะมีคุณสมบัติทำให้รูปร่างของโมเลกุลเป็นเส้นตรง จึงมีความแข็งแรงเนื่องจากมีแรงยึดเหนี่ยวสูง ในทางอุตสาหกรรมที่ต้องการความเหนี่ยว ทนทาน จึงนำเซลลูโลสมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผิต เช่น กระดาษ เสื้อผ้า กระเบื้อง เป็นต้น แต่ในการผลิตบางครั้งจะใช้เอ็นไซม์เข้ามาช่วยย่อย ซึ่งก็คือเอ็นไซม์เซลลูเลส (cellulose) โดยจะมาย่อยจนกลายเป็นกลูโคสนั่นเอง และราสามารถพบเอ็นไซม์ชนิดนี้ในจุลินทรีย์หลายชนิด เช่น การสังเกตเห็นเชื้อราที่ขึ้นบนเปลือกไม้ จึงมีความคิดที่จะนำเอ็นไซม์ที่ได้มาเปรียบเทียบและศึกษา โดยผู้ทำโครงงานนี้มีความสนใจในเรื่องอิเล็กโตรโฟริซิส (electrophoresis) เนื่องจากเคยได้ยินได้ฟังจากรุ่นพี่ โครงงานนี้จึงทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเปรียบเทียบปริมาณและคุณสมบัติต่าง ๆ ของเอ็นไซม์จาก 5 สายพันธุ์จากเชื้อราจำพวก Xylariaceae ที่ทำการศึกษาคือ Xylaria sp.830 (X830) , Xylaria 10A sp.864 (X864) , Hypoxylon sp.B 328(H328) , Xylariacubensis 130.1(X130.1) และ Daldinia eschscholzii 871(D871) โดยเริ่มขั้นตอนจากการเพาะเลี้ยงเชื้อในอาหารวุ้นบนจานเพาะเชื้อเพื่อต้องการเชื้อที่เจริญแล้วเจาะลงไปเลี้ยงในอาหารเหลว นำตัวอย่างที่เก็บได้ไปหาปริมาณโปรตีนและคำนวณหาความเข้มข้น แต่พบว่าปัญหาความเข้มข้นมีน้อยมากไม่สามารถตรวจสอบ (detect) ได้จึงต้องนำไปเพิ่มความเข้มข้น เช่น freeze drying เป็นต้น สามารถเพิ่มความเข้มข้นได้ประมาณ 10-20 เท่า แล้วจึงนำตัวอย่างที่ได้มาทดสอบประสิทธิภาพ (activity) บน CMC plate (carboxy methyl cellulose) และผ่านการย้อมสี (develop color) โดยวัดเส้นผ่านศูนย์กลางของวงใส (clear zone) โดยพบว่า เชื้อราทุกชนิดให้เอ็นไซม์เซลลูโลสตามสมมติฐาน โดยเฉลี่ยแล้วเชื้อรา X130.1 และ X830 จะมีประสิทธิภาพสูงสุดโดยมีช่วงเวลาเลี้ยงที่เหมาะสมที่สั้นที่สุดแต่ระยะเวลาสั้นที่สุดคือ 14 วัน และ 10 วัน ตามลำดับ ส่วน D871 , X804 และ H328 คือ 18 วัน , 14 วัน และ 21 วัน ตามลำดับ และนำตัวอย่างที่ 21 วัน ไปทำการทดสอบด้วยวิธี อิเล็กโตรโฟริซิสแบบ Non-denaturing โดยพบแล้วนำแผ่นเจล (PAGE) ที่ได้มาประกบกัน CMC PAGE ที่เตรียมไว้แล้วนำ PAGE ทั้งสองไปย้อมจะนำมาเปรียบเทียบแถบโปรตีนและแถบเอ็นไซม์ได้ ซึ่งเป็นการทำเบื้องต้น จากการเตรียมแผนงานเป็นการทดลองที่จะนำไปหาน้ำหนักโมเลกุล (molecular weight) และค่าไอโซโทนิค (Pl:isoelectric point)
-
4905 การศึกษาการผลิตเอนไซม์เซลลูเลสและสมบัติโดยใช้วิธีอิเล็กโตรโฟริซิส /index.php/project-all/item/4905-2016-09-09-03-24-56_4905เพิ่มในรายการโปรด