การแยกชนิดเชื้อไวรัสหัวเหลืองในกุ้งด้วยเทคนิค RTPCR
การคัดแยกชนิดของเชื้อไวรัสหัวเหลืองในกุ้งกุลาดำ ( Yellow head virus : YHV ) ซึ่งมีสารพันธุกรรมเป็นสายอาร์เอ็นเอ เชื้อไวรัสนี้ทำความเสียหายต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งอย่างมาก และมีเชื้อไวรัสอีกสองตัวที่พบในประเทศออสเตรเลียอยู่ในกลุ่มใกล้เคียงกับ YHV คือ Lymphoid Organ Virus ( LOV ) และ Gill Associated Virus ( GAV ) ในจำนวนนี้มีทั้งเชื้อไวรัสที่ทำให้กุ้งตายภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว และพวกที่ไม่ทำให้กุ้งตายแต่พบในประชากรกุ้งทั่งไป อย่างไรก็ตามสำหรับกลุ่มเชื้อไวรัสหัวเหลืองที่กระจายตัวอยู่ในประเทศไทยนั้นยังมีการศึกษาในระดับโมเลกุลน้อยมาก ปัจจุบันเรายังไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดและมีการกำจัดเชื้อนี้ ดังนั้นการจำแนกชนิดของเชื้อไวรัสหัวเหลืองโดยใช้เทคนิคอาร์ทีซีอาร์ในการจำแนก จะทำเราได้ทราบความแตกต่างของเชื้อไวรัสกลุ่มนี้ และผลของเชื้อไวรัสหัวเหลือแต่ละชนิดกุ้งกุลาด เพื่อนำไปศึกษาหาวิธีป้องกันจำเพาะสำหรับแต่ละเชื้อต่อไป การทดลองเริ่มจากการเก็บตัวอย่างกุ้งในแต่ละพื้นที่แถวภาคตะวันออกของประเทศไทย หลังจากนั้นจึงนำกุ้งที่ได้มาสกัดสารพันธุกรรมรวมแล้วใช้เทคนิค อาร์พีซีอาร์ในการเพิ่มจำนวน โดยในช่วงแรกจะใช้เอนไซม์Reverse transcriptase มาสร้างสาย cDNA จากสายอาร์เอ็นเอที่สกัดได้ ในช่วงที่สองจะใช้เอ็นไซม์ Taq DNApolymerase มาสร้างสายใหม่ของสารใหม่ของสารพันธุกรรมแบบคู่สม (Complementary ) จำนวนมาก โดยการทำปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส ( PCR ) โครงงานนี้จึงได้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาเชื้อไวรัสหัวเหลือง และเชื้อไวรัสในกลุ่มใกล้เคียงกับเชื้อไวรัสหัวเหลืองที่กระจายตัวอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบัน จากนั้นจึงนำไปตรวจผลเพื่อดูความแตกต่างของขนาดชิ้นส่วนที่เพิ่มจำนวนขึ้น แล้วจัดกลุ่มเชื้อไวรัสหัวเหลืองในประเทศไทยด้วยข้อมูลของการเรียงตัวของลำดับเบสในช่วงที่เลือกศึกษา
-
4976 การแยกชนิดเชื้อไวรัสหัวเหลืองในกุ้งด้วยเทคนิค RTPCR /index.php/project-all/item/4976-rtpcrเพิ่มในรายการโปรด