ฤทธิ์การต้านปฏิกิริยาออกซิเดชันของสารสกัดจากใบกะเพรา
ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า การเกิดโรคร้ายโดยเฉพาะโรคเรื้อรังชนิดต่างๆ เช่น โรคหัวใจ มะเร็ง ตับวาย ไตวาย หรือโรคเกี่ยวกับสมอง จะมีปริมาณสารอนุมูลอิสระหรือเมตาบอไลท์ของสารอนุมูลอิสระในกระแสเลือดสูงกว่าปกติ สารอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นจะเข้าสู่ปฏิกิริยาออกซิเดชันในลักษณะที่เป็นลูกโซ่ คือ เกิดต่อไปได้เรื่อยๆจนกว่าจะยับยั้งด้วยสารต้านปฏิกิริยาออกซิเดชัน โครงงานนี้เป็นความพยายามค้นหาสารต้านปฏิกิริยาออกซิเดชันจากพืช โดนสันนิษฐานจากรายงานการวิจัยก่อนหน้านี้ที่สารสกัดจากกะเพราสามารถต้านการแตกหักของโครโมโซมได้โดยไม่ทราบกลไกที่แท่นอนสาเหตุหนึ่งของการแตกหักของโครโมโซมคือการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมันจนเกิดสารในกลุ่ม lipid peroxides จึงเกิดแนวความคิดที่ว่า สารสกัดจากใบกะเพรา และการทดสอบปฏิกิริยาต้านออกซิเดชัน การสกัดในกะเพราใส่สารละลาย (solvent) ที่มีขั้ว (polarity) ต่างๆกัน คือ hexane chloroform และ ethanol จะได้ hexane filtrate, chloroform filtrate และ ethanol filtrate ตามลำดับ ต่อจากนั้นเก็บ filtrate แต่ละชนิดไว้ครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งนำไปสกัดคลอโรฟิลล์ออกด้วยการนำไปผ่านถ่านก่อน ต่อจากนั้นนำ filtrate ทั้ง 6 ชนิดไประเหยแห้งเพื่อกำจัดตัวทำสารละลาย สำหรับ hexane filtrate ที่ผ่านถ่านหลังการระเหยแห้งจะไม่เหลืออะไรเลย ดังนั้นจึงมีสารสกัดที่จะนำมาทดสอบความสามารถในการต้านปฏิกิริยาออกซิเดชันเพียง 5 ชนิด ในการทดสอบนี้ได้ทดลองใช้สารต้านปฏิกิริยาออกซิเดชันชนิดหนึ่งคือ butylated hy-droxy toluene (BHT) ก็พบว่าสามารถยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระได้อย่างมีประสิทธิภาพที่กล่าวอ้างไว้จริง จึงเป็นการยืนยันได้ว่าวิธีนี้เป็นระเบียบวิธีที่เชื่อถือได้ สำหรับข้อมูลการวิจัยทั้งหมดอยู่ในระหว่างการวิเคราะห์และประมวลผล
-
4990 ฤทธิ์การต้านปฏิกิริยาออกซิเดชันของสารสกัดจากใบกะเพรา /index.php/project-all/item/4990-2016-09-09-03-25-21_4990เพิ่มในรายการโปรด