Effects of glycerol physical property and biodegradable of chitosan film
ปัจจุบันผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์ ประเภทพลาสติกได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวัน แต่ก็ก่อให้เกิดปัญหามลภาวะกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากพลาสติดสังเคราะห์ย่อยสลายยาก ในธรรมชาติเองก็มีสารอินทรีย์พวกพอลิเมอร์อยู่มากมาย หนึ่งในนั้นก็คือ ไคตินและไคโตซาน ไคตินและไคโตซานเป็นสารพวกคาร์โบไฮร์เดรตผสมซึ่งมีปริมาณมากเป็นอันดับที่ สองรองจากเซลลูโลส สารไคตินและไคโตซานพบมากในโครงสร้างทึ่ให้ความแข็งแรงแก่สิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะเปลือกกุ้ง กระดองปูและแกนหมึก สารไคตินและไคโตซานนั้นมีประโยชน์มากมาย ทั้งในด้านเภสัชกรรม การแพทย์ อุตสาหกรรมสิ่งทอ การผลิตเครื่องสำอาง ด้านการ เกษตร ผลิตภัณฑ์ด้านอาหารเสริมและควบคุมน้ำหนัก ฯลฯ เป็นต้น ในการศึกษาค้นคว้าในโครงงานเรื่องนี้ ได้ดำเนินการศึกษาขั้นตอนการทำแผ่นฟิล์มบางจากสารไคโตซานจากเปลือกกุ้ง จากนั้นจึงนำแผ่นฟิล์มที่ได้มาเติมสารกลีเซอรอลเพื่อทดสอบความทนต่อแรงดึง โดยใช้การทดสอบ Tensile เพื่อศึกษาผลของกลีเซอรอลที่มีต่อสมบัติทางกายภาพ ซึ่งก็คือความยืดหยุ่นของแผ่นฟิล์มจากไคโตซาน ซึ่งฟิล์มที่เติมกลีเซอรอลก็จะมีความยืดหยุ่นสูงกว่าฟิล์มที่ไม่ได้เติมและทำให้ได้กราฟที่ได้จากการทดสอบ Tensile แตกต่างกันออกไป นอกจากนี้ยังศึกษาการทดสอบการย่อยสลายทางชีวภาพโดยจุลินทรีย์แบบไม่ใช้ออกซิเจน ของแผ่นฟิล์มซึ่งมี positive control (เซลลูโลส) และ negative control (Polyethylene) สำหรับผลการทดลองนั้นยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ
-
4998 Effects of glycerol physical property and biodegradable of chitosan film /index.php/project-all/item/4998-effects-of-glycerol-physical-property-and-biodegradable-of-chitosan-filmเพิ่มในรายการโปรด