การใช้พืชที่มีสาร Carotenoids ส่งผลในการเร่งสีของปลาหางนกยูง (Poecilia raticulate Peters 1859)
เนื่องจากปลาหางนกยูงพันธุ์พื้นเมืองเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย มีความทนทาน แต่ไม่เป็นที่นิยมเลี้ยงเนื่องจากมีสีสันไม่สวยงาม จากการศึกษาพบว่าลักษณะสีของตัวปลาเกิดจากการสะสมของ Carotenoids Pigment ที่บริเวณผิวหนัง Carotenoids เป็นสารที่ปลาต้องได้รับจากสารอาหารเท่านั้น อนึ่ง Carotenoids เป็นสารที่มีปริมาณสูงในดอกดาวเรือง มะเขือเทศ มะละกอและพริก ดังนั้นโครงงานนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาการใช้พืชที่มีสาร Carotenoids เร่งสีของปลาหางนกยูง โดยทดลองเลี้ยงปลาหางนกยูง ด้วยอาหาร 7 สูตร ได้แก่ อาหารสูตรพื้นฐาน อาหารสูตรพื้นฐานเสริม ดอกดาวเรืองแห้งที่อัตราส่วน 10:1, 10:2, 10:3 โดยมวล และอาหารสูตรพื้นฐานเสริมมะเขือแห้งที่อัตราส่วน 10:1, 10:2, 10:3 โดยมวล ในการเตรียมอาหารนำดอกดาวเรืองและมะเขือเทศมาอบแล้วบด ผสมกับอาหารพื้นฐาน สังเกตความเข้มของสีของปลาด้วยแถบสี บันทึกความเข้มสีก่อนทดลอง และทุกๆ 10วันหลังจากให้อาหารในสูตรต่างๆ เป็นเวลา 60 วัน จากการทดลองพบว่า การเสริมดอกดาวเรืองและมะเขือเทศในอาหารพื้นฐานมีผลให้สีเหลือง ส้มและแดงเพิ่มขึ้นตามอัตราส่วนของดอกดาวเรืองและมะเขือเทศที่นำมาผสม ดอกดาวเรืองทำให้ความเข้มข้นของสีเหลืองสูงกว่ามะเขือเทศที่อัตราส่วน 10:1 แต่ที่อัตราส่วน 10:2 และ 10:3 ดอกดาวเรืองและมะเขือเทศที่อัตราส่วนเท่ากันเพิ่มความเข้มของสีเหลืองได้เท่ากัน ปลาตัวผู้จะตอบสนองต่อการเพิ่มความเข้มสีทั้งสีเหลือง สีส้มและสีแดงได้ดีกว่าตัวเมีย นอกจากนั้นยังพบว่าปลาทั้งสองเพศจะตอบสนองต่อการเพิ่มความเข้มของสีเหลืองได้สูงกว่าสีส้มและสีแดงตามลำดับ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าพืชที่มีสาร Carotenoids ได้แก่ดอกดาวเรืองและมะเขือเทศซึ่งเป็นพืชในท้องถิ่นที่หาง่ายและราคาถูก นำมาผสมในอาหารปลาช่วยเพิ่มความเข้มสีของปลาหางนกยูงได้ทั้งสีเหลือง สีส้มและสีแดง สามารถทำให้ปลาหางนกยูงพันธุ์พื้นเมืองมีสีสันสวยงาม ขายได้ราคาสูงมากขึ้น และเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการนำสารสีมาใช้ในวงกว้างขึ้น เช่นผสมในอาหารปลาสวยงามชนิดอื่นหรือไก่ไข่ได้ต่อไป
-
5089 การใช้พืชที่มีสาร Carotenoids ส่งผลในการเร่งสีของปลาหางนกยูง (Poecilia raticulate Peters 1859) /index.php/project-all/item/5089-carotenoids-poecilia-raticulate-peters-1859เพิ่มในรายการโปรด