Red Cell Survival of Splenectomized Thalasemic Mice
ธาลัสซีเมียเป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมแบบยีนเดี่ยวที่พบบ่อยที่สุดในโลก โรคเบตาธาลัสซีเมีย เกิดจากความผิดปกติของยีนที่ทำให้การสร้างสายเบตาโกลบินน้อยกว่าปกติ หรือไม่มีการสร้างเลย ทำให้เกิดภาวะไม่สมดุลในการสร้างสายโกลบิน สายอัลฟาโกลบินที่สร้างตามปกติจะเหลือ จะตกตะกอนภายในเม็ดเลือดแดง ตะกอนที่เกิดขึ้นจะถูกย่อยสลายภายในเม็ดเลือดแดง และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ผนังของเม็ดเลือด เม็ดเลือดแดงไม่มีความยืดหยุ่นถูกกำจัดออกไปโดยระบบ reticuloendothelial ในม้าม เม็ดเลือดแดงจึงมีอายุสั้นกว่าปกติ ในการศึกษานี้ศึกษาผลของม้ามต่ออายุเซลล์เม็ดเลือดแดงในหนูธาลัสซีเมีย โดยใช้เทคนิคการติดฉลากเม็ดเลือดแดงด้วย biotin พบว่าค่าครึ่งชีวิตของเม็ดเลือดแดงหนูธาลัสซีเมียสั้นกว่าหนูปกติ และหนูที่มี genotype เดียวกัน หนูที่ตัดม้าม เม็ดเลือดแดงมีค่าครึ่งชีวิตมากกว่าหนูที่ไม่ได้ตัดม้าม
-
5138 Red Cell Survival of Splenectomized Thalasemic Mice /index.php/project-all/item/5138-red-cell-survival-of-splenectomized-thalasemic-miceเพิ่มในรายการโปรด