การติดตามการเคลื่อนที่และการทับถมของทรายในบริเวณท่าเรือน้ำลึกจังหวัดสงขลา โดยการใช้เทคนิคติดตามรอยรังสี
โครงงานนี้เป็นการศึกษาทิศทางการเคลื่อนที่ และการทับถมของทราย โดยได้จากเทคนิคการติดตามรอยรังสี (Radioactivity Tracer Technique) ในบริเวณท่าเรือน้ำลึกจังหวัดสงขลาโดยการใช้ตัวแกะรอยรังสี (lr - 192) และนำผลที่ได้ไปเปรียบเทียบกับผลที่ได้จากการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ สำหรับตำแหน่งที่ทำการทิ้งตัวแกะรอย มี 2 บริเวณคือ บริเวณที่ 1 ใกล้กับเขื่อน (พิกัด เส้นรุ้ง 7 13’ 53.683’’ , เส้นแวง 100 35’ 3.112’’ ) และบริเวณที่ 2 ตรงปากทางเข้าท่าเรือ (พิกัด เส้นรุ้ง 7 13’ 53.432’’ , เส้นแวง100 34’ 43.658’’) โดยได้ตำแหน่งนี้จากแบบจำลองการไหลของน้ำ (Hydrodynamic Modelling) และทำการวัดการกระจายของรังสีจากตัวแกะรอยโดยการใช้เรือลากหัววัดไปตามพื้นน้ำประมาณทุกๆ 1 เดือนจากวันที่ 25 พ.ย.2542-13มี.ค.2543 ในการเคลื่อนที่ของตะกอนจากบริเวณที่ 1 และบริเวณที่2 จะพบว่าดินตะกอนของแต่ละบริเวณมีทิศทางการเคลื่อนที่ไปในทิศทาง 333 ระยะทาง 76 เมตรและ 162 ระยะทาง 5 เมตร จากจุดที่ทิ้งตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบกับแบบจำลองจะมีทิศทางไปในทิศ 321 และ 68 ตามลำดับ สำหรับตัวอย่างดินตะกอนที่เก็บมาจากบริเวณที่ 1 (วันที่ 28 พ.ค. 2543) มี 3 ตัวอย่าง (ที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลจริง)คือ หลอดที่ 1, 2 และ 3 เมื่อนำตัวอย่างตะกอนมาวัดปริมาณรังสีจาก lr-192 ที่ความลึกต่างๆจะพบว่า สำหรับบริเวณที่ 1 จะมีการกระจายตัวของตัวแกะรอยตลอดเนื้อตะกอนทั้ง 3 จุด จะมีความลึกสูงสุดที่จะพบตัวแกะรอยจากหลอดที่ 1 และหลอดที่ 2 คือ 17 ซม. และ 16 ซม. ตามลำดับ สำหรับหลอดที่ 3 ไม่สามรถหาได้เนื่องจากตัวอย่างตะกอนมีความลึกไม่เพียงพอ และเมื่อทำการเปรียบเทียบกับค่าที่ได้จากแบบจำลองการเคลื่อนที่ของทรายจะได้ความลึกของตะกอนคือ 15 ซม. ซึ่งพบว่ามีความผิดพลาดไป 13.33% และจะได้อัตราการทับถมตะกอนสำหรับบริเวณที่ 1 เฉลี่ย 32.75 ซม. ต่อปี หลังจากวัดตัวอย่างตะกอนของบริเวณที่ 1 แล้วเครื่องวัดรังสีแกมมาที่ใช้ในการตรวจวัดชำรุด ทำให้ไม่สามารถทำการวัดและวิเคราะห์ต่อไปได้
-
5150 การติดตามการเคลื่อนที่และการทับถมของทรายในบริเวณท่าเรือน้ำลึกจังหวัดสงขลา โดยการใช้เทคนิคติดตามรอยรังสี /index.php/project-all/item/5150-2016-09-09-03-28-44_5150เพิ่มในรายการโปรด